สำหรับใครที่ตามสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 คงจะคุ้นชินกับคำว่า social distancing หรือเรียกง่ายๆ ว่า การเว้นระยะห่างจากสังคม มาบ้างแล้ว เพราะหลายๆ ประเทศเริ่มใช้มาตรการนี้เพื่อป้องกันไม่ให้คนติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มมากขึ้น มันคืออะไร? ต้องทำอย่างไรบ้าง? ทำเช่นนั้นได้ผลจริงหรือ?
โรคระบาด “ไข้หวัดใหญ่สเปน” (1918 Spanish flu) ทำให้เห็นว่าการเว้นระยะห่างจากสังคม มันเวิร์ก!
ไข้หวัดสเปนนี้ มีคนติดเชื้อทั่วโลกและเสียชีวิตมากราว 50 ล้านราย หลายแห่งระบุว่าคนเสียชีวิตนับ 100 ล้านรายทั่วโลก ในอดีตสมัยปี 1347-1351 โรคระบาดที่เรียกว่า Black Death หรือกาฬโรคที่มีสัตว์พาหะคือสัตว์ฟันแทะ เคยทำให้คนเสียชีวิตมากถึง 200 ล้านรายด้วยซ้ำ
เรื่องไข้หวัดใหญ่สเปนที่ผู้คนติดเชื้อมากมายมหาศาล มันเริ่มมาจากในปี 1918 ที่ฟิลาเดเฟีย ผู้คนออกมาเดินขบวนเพื่อสนับสนุนให้มีสงครามโลกครั้งที่ 1 มีคนที่ออกมาคราคร่ำเต็มท้องถนนราว 200,000 ราย จากนั้น 3 วันให้หลัง ทุกเตียงในโรงพยาบาลฟิลาเดเฟีย 31 แห่ง เต็มไปด้วยคนป่วยและอยู่ในภาวะใกล้ตายเพราะติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สเปน (Spain flu)
1 สัปดาห์หลังจากนั้น ผู้คนเสียชีวิตราว 4,500 รายเพราะโรคระบาด กว่านักการเมืองในฟิลาเดเฟียจะสั่งปิดเมือง ก็สายไปหมดทุกอย่าง
เมื่อเทียบกับเมืองเซนต์หลุยส์ที่อยู่ห่างออกไปราว 1,448 กิโลเมตร หลังตรวจพบว่ามีคนติดเชื้อเพียง 2 วัน จึงประกาศปิดเมืองทันที ตามด้วยการปิดโรงเรียน ปิดสนามเด็กเล่น ปิดห้องสมุด ปิดห้องพิจารณาคดี รวมทั้งโบสถ์ด้วย การเดินทางถูกจำกัดทันที การรวมตัวกันมากกว่า 20 รายขึ้นไปถูกสั่งห้าม
มาตรการเข้มข้นเช่นนี้ รู้จักกันดีในนามว่า social distancing หรือเรียกว่าเป็น การเว้นระยะห่างจากสังคม มาตรการนี้ทำเพื่อลดการแพร่ระบาดของไวรัส
คลิปวิดีโอจาก Vox บอกให้เราเรียนรู้การเว้นระยะห่างจากสังคม ไม่อยู่รวมกันหนาแน่น เก็บตัวอยู่บ้านให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ องค์กรควรผลักดันนโยบายให้คนทำงาน Work from home เพื่อลดการติดเชื้อหรือลดการแพร่ระบาดของโควิด-19
ลดการพบปะสังสรรค์กับเพื่อนฝูง เดินทางออกจากบ้านเท่าที่จำเป็น จาม-ไอให้ใช้ทิชชูหรือผ้าเช็ดหน้าหรือยกข้อศอกด้านในขึ้นมาปกป้องขณะมีอาการ เพื่อไม่ให้สารคัดหลั่งของตนเองแพร่กระจาย สถานที่สาธารณะควรงดให้บริการชั่วระยะหนึ่งจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย
ความน่ากังวลของโควิด-19 คือ ผู้ที่ป่วยหรือติดเชื้อในช่วงแรกมักไม่ค่อยแสดงอาการป่วยให้เห็นชัดเจน หลายคนยังมีสุขภาพดีอยู่ ทำให้ใช้ชีวิตปกติ พบเจอคนหมู่มากแบบไม่ทันระวังตัว กว่าจะรู้ตัวก็แพร่เชื้อได้ทั่วทุกสถานที่ที่ไป การเว้นระยะห่างจากสังคมจึงจำเป็น
เส้นกราฟที่เป็น exponential curve คือเส้นที่ชี้ให้เห็นว่ามีอัตราการเติบโตของผู้ติดเชื้อและผู้แพร่เชื้อแบบก้าวกระโดด เป็นภาพจำลองที่ผู้เชี่ยวชาญต่างเป็นกังวล เพราะยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็น 2 เท่าในทุกๆ 3 วัน
ขณะที่แนวคิดแบบ flattening the curve คือเส้นกราฟที่บอกให้เราได้รู้ว่า เมื่อเราสามารถควบคุมไวรัสระบาดได้ชั่วระยะหนึ่ง จนทำให้อัตราการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสเริ่มระบาดช้าลง น้อยลง คนติดเชื้อไม่ค่อยเพิ่มจำนวนขึ้น เหล่านี้ การเว้นระยะห่างจากสังคม ทำให้ช่วยลดการแพร่เชื้อได้
ตัวอย่างคลิปจาก WHO องค์การอนามัยโลกบอกให้เราได้เรียนรู้ว่า การอยู่ห่างกันเสียบ้างของมนุษย์ มันสำคัญและจำเป็น เพราะการที่คนอยู่ใกล้กัน ก็ง่ายต่อการแพร่เชื้อจากสารคัดหลั่งของแต่ละคนได้ง่ายดาย รวมถึงการสัมผัสพื้นผิววัสดุต่างๆ โดยไม่ล้างมือก่อนนำมาสัมผัสใบหน้า ตา จมูก ปาก เหล่านี้ล้วนทำให้ร่างกายรับเชื้อโรคเข้าไปได้อย่างง่ายดาย
ตัวอย่างการ Work from home คือการการเว้นระยะเพื่อให้ห่างจากสังคม
The New York Times
เราเริ่มจาก บันทึกข้อความที่สำนักข่าว The New York Times (NYT) โดย CEO Mark Thomson และ AG Sulzberger ประธาน NYT เขียนถึงพนักงานก่อน ใจความสำคัญของบันทึกคือ หลังจาก WHO ประกาศให้ COVID-19 เป็นโรคระบาด (ก่อนหน้านี้ WHO ไม่เคยประกาศว่า COVID-19 เป็นโรคระบาด เพราะเป็นคำอ่อนไหวที่ทำให้คนตระหนก)
The New York Times has now asked employees (who have roles that allow for it) to work remotely starting on Friday.
— Oliver Darcy (@oliverdarcy) March 11, 2020
NYT ระบุว่า สถานการณ์เปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก มันกระทบพวกเราโดยตรง เรารับปากว่าเราจะคอยแจ้งข่าวต่อเนื่องเพื่อให้พนักงานทุกคนปลอดภัย จากนั้น NYT ก็ผลักดันนโยบาย work from home คือให้ทุกคนทำงานจากที่บ้านได้ เริ่มเมื่อวันที่ 13 มีนาคมที่ผ่านมา พร้อมกันนี้ก็ได้ขอให้พนักงานขององค์กรที่ประจำอยู่ทั่วโลกเริ่มทำงานแบบ work from home ได้แล้ว
ขณะเดียวกัน ก็บอกว่าผู้จัดการต้องรับผิดชอบพนักงานที่ยังมีความจำเป็นต้องทำงานในสำนักงานใหญ่ต่อไปด้วย ขณะนี้หลายๆ คนได้ทำงานจากที่บ้านบ้างแล้ว สาเหตุที่ NYT ตัดสินใจเช่นนี้ ก็เพราะเห็นสุขภาพและความปลอดภัยของเพื่อนร่วมงานเป็นสิ่งสำคัญ
ถ้าองค์กรสามารถจำกัดการเดินทางเพื่อไปทำงานที่ออฟฟิศได้ ก็จะลดจำนวนการติดต่อของผู้คนลงได้ ซึ่งแผนการนี้จะมีผลถึงวันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคมนี้ แต่ทางทีมลีดเดอร์ก็จะพิจารณาต่อว่าสถานการณ์จะเป็นอย่างไร ควรจะขยายช่วงเวลาในการทำงานจากบ้านเพิ่มขึ้นหรือไม่ ทั้งนี้ ทางองค์กรก็จะขยายนโยบายด้านสาธารณสุขเพิ่มด้วย
อย่างไรก็ตาม NYT เป็นสำนักข่าว จำเป็นต้องส่งคนข่าวลงพื้นที่เพื่อรายงานข่าว ซึ่งหลายครั้งเป็นพื้นที่เสี่ยงถึงเสี่ยงมาก แต่ทาง NYT ได้เตรียมการป้องกันไว้แล้ว เรื่องไวรัสระบาดนี้ ถือเป็นวิกฤตแห่งยุค
ถึงจะให้ทำงานจากบ้าน ก็ไม่ได้ให้ทำงานที่บ้านเฉยๆ แต่ให้ลงไปรายงานต่อเนื่องในพื้นที่บ้านของตัวเองด้วย ซึ่ง NYT มีความแข็งแกร่ง มีประสบการณ์รายงานเชิงลึกมาแล้ว ตั้งแต่สมัยสงครามโลก วิกฤตการเงิน หรือแม้แต่เหตุวินาศกรรม 9/11
As the coronavirus continues to spread throughout the U.S., people with jobs that put them in physical contact with many others are at the greatest risk of becoming sick. https://t.co/uzclXCSAa2 pic.twitter.com/9SpL4rOSIr
— The New York Times (@nytimes) March 15, 2020
จากนั้น NYT ก็สรุปปิดท้ายว่า เราไม่รู้ว่า สถานการณ์เช่นนี้จะยาวนานไปถึงเมื่อไร หรือเราจะทำงานจากที่บ้านหรือ work from home ได้ยาวนานแค่ไหน แต่เราจะยังติดต่อสื่อสารกันตลอด นี่เป็นช่วงเวลาแห่งความไม่แน่นอน ถ้ามีข้อสงสัยข้องใจเรื่องใดไม่ว่าจะการปกป้องตัวเองจากโควิด-19 หรือการรายงานข่าวในพื้นที่ควรทำเช่นใดบ้าง ถามผู้จัดการได้ และขอให้ทำงานการข่าวที่ยิ่งใหญ่ของคุณต่อไป
Dear readers, we need your help. The coronavirus crisis in Seattle is a major threat to The Stranger's ability to keep the city informed. We pride ourselves on having navigated many storms in the world of independent local media, but this time is different…
— The Stranger ? (@TheStranger) March 11, 2020
The Stranger
The Stranger หนังสือพิมพ์สำหรับคนซีแอทเทิล ระบุว่า เราต้องการความช่วยเหลือจากคุณ “นักอ่าน” วิกฤตโคโรนาไวรัสในซีแอทเทิลกำลังคุกคามการบอกข่าวสารของเราให้ชาวเมืองรู้ เราภูมิใจที่ได้สำรวจพายุในโลกหลายลูกให้คุณได้รับรู้ แต่สำหรับเวลานี้มันแตกต่างไปจากเดิมนัก
90% ของรายได้ The Stranger มาจากโฆษณา ค่าธรรมเนียมตั๋ว และอีเวนท์ต่างๆ ที่ทำให้คนมารวมตัวกัน แต่โคโรนาไวรัสกำลังกำจัดรายได้ของเราแทบทั้งหมดในคราเดียว จากนั้นก็ขอให้นักอ่านช่วยกันบริจาค
เราจะปกป้องตัวเองจากผู้อื่นอย่างไร? ล้างมือให้มากที่สุดเพื่อรักษาสุขอนามัยของตัวเอง จะไอหรือจามให้ใช้ทิชชูหรือใช้ข้อศอกด้านในปิดปากขณะจาม กรณีหาทิชชูหรือผ้าเช็ดหน้าไม่ทัน เรียนรู้ที่จะอยู่ให้ห่างจากสังคมเพื่อลดภาระทางการแพทย์และป้องกันไม่ให้ไวรัสแพร่กระจาย
สถานการณ์ล่าสุด คนติดเชื้อรวม 197,139 ราย เสียชีวิต 7,916 ราย รักษาหาย 81,783 ราย ในไทยติดเชื้ออยู่ที่ 177 ราย รักษาหาย 41 ราย รักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล 135 ราย เสียชีวิต 1 ราย
อ่านเพิ่ม
ที่มา – Nieman Lab, Quartz, WHO, Washington Post, Visual Capitalist
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา