เซ็นทรัลพัฒนาทำ New High ปี 66 รายได้เพิ่มขึ้น 26%: เตรียมเปิดเซ็นทรัลที่นครปฐมและกระบี่

กรุงเทพฯ ยังมีพื้นที่เหลือให้พัฒนาได้อีกเยอะ..

เราเชื่อว่า กรุงเทพฯ ยังมีโอกาสขยายการค้าและธุรกิจได้อีกหลายมุมเมือง พื้นที่รวม 2.2 ล้านตารางเมตร แต่ละโครงการจะเป็น Flagship ที่ตอบโจทย์” ชนวัฒน์ เอื้อวัฒนสกุล Chief Development and Commercial Officer บมจ. เซ็นทรัลพัฒนา กล่าว

Central Pattana
วุฒิเกียรติ เตชะมงคลาภิวัฒน์, ดร.ณัฐกิตติ์ ตั้งพูลสินธนา, วัลยา จิราธิวัฒน์, ชนวัฒน์ เ

วัลยา จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. เซ็นทรัลพัฒนา ระบุว่าปี 2566 ที่ผ่านมา บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) สร้างปรากฏการณ์ ทำ New High รายได้เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 26% อยู่ที่ 46,790 ล้านบาท ครั้งนี้เซ็นทรัลพัฒนาสามารถมอบเงินปันผลสูงที่สุดนับตั้งแต่ก่อตั้งมา

ประเด็นที่เซ็นทรัลพัฒนาให้ความสำคัญคือเสริมศักยภาพให้ Ecosystem for all ก้าวสู่ความเป็นเลิศด้าน ESG และบรรลุเป้าหมาย Net Zero

แผน 5 ปี (ปี 2567-2571) งบลงทุน 121,000 ล้านบาท

เตรียมเปิดให้บริการใหม่ 13 โครงการ คือ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล นครสวรรค์ และเซ็นทรัล นครปฐม, โครงการที่อยู่อาศัย 10 โครงการ และโรงแรมเชนระดับโลกที่ระยอง สรุปรวม ปี 2567 จะมีโครงการศูนย์การค้า 42 โครงการ มีคอมมูนิตี้ มอลล์ 17 โครงการ มีที่อยู่อาศัย 43 โครงการ มีโรงแรม 10 โครงการ และออฟฟิศ 10 โครงการ

ปี 2568
จะเปิดเซ็นทรัลที่จังหวัดกระบี่ และจะมีโครงการมิกซ์ยูสเป็น 25 โครงการ เซ็นทรัลพัฒนาจะสร้าง Ecosystem for All มี Retail เป็นศูนย์กลางให้ธุรกิจเชื่อมโยงทั้งหมดเข้าด้วยกันทุกธุรกิจ ทั้งศูนย์การค้า โรงแรม ที่อยู่อาศัย ออฟฟิศ และอื่นๆ โดยการพัฒนาของ CPN จะสอดคล้องกับนโยบายของเมือง เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว และกระจายรายได้ และมีส่วนสำคัญในการเพิ่ม GDP ด้วย

ลยา-จิราธิวัฒน์-กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร-บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา
ลยา-จิราธิวัฒน์-กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร-บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา

สำหรับ Ecosystem จะเชื่อมโยงชุมชน สังคม สิ่งแวดล้อมแบบองค์รวม จากข้อมูล พบว่า มีคนมาใช้ชีวิตบนพื้นที่ของเซ็นทรัลพัฒนา มากกว่าปีละ 500 ล้านครั้ง มีพาร์ทเนอร์รวมทั้งธุรกิจ SMEs กว่า 15,000 ราย สามารถสร้างงานได้มากถึง 120,000 ตำแหน่ง กระจายรายได้ให้เกษตรกร ชุมชนกว่า 700 ล้านบาท ทั้งโครงการหลวงและตลาดจริงใจของเซ็นทรัลกรุป และยังแบ่งพื้นที่เพื่อสนับสนุนกิจกรรมของภาครัฐ เช่น การสร้างสำนักงานหนังสือเดินทางและศูนย์บริจาคโลหิตด้วย

นอกจากนี้ เซ็นทรัลพัฒนายังเป็นเบอร์ 1 ของภาคอสังหาริมทรัพย์ไทยประจำปี 2023 ที่ได้รับการจัดอันดับโดย  DJSI หรือ Dow Jones Sustainability Indices เป็นเบอร์ 1 ด้านองค์กรยั่งยืนระดับโลกด้วย

ด้านชนวัฒน์ เอื้อวัฒนะสกุล Chief Development and Commercial Officer บมจ. เซ็นทรัลพัฒนากล่าวว่า ในฐานะ Place Making จะพยายามสร้างสรรค์เพื่อนำเสนอสิ่งใหม่ๆ ให้ตอบโจทย์ลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูงขึ้น โดยพัฒนา New Landmark ผลักดันศักยภาพเมืองหลัก เมืองรอง พัฒนาโครงการมิกซ์ยูส และสร้าง New Landscape

ตลอด 40 ปีที่ผ่านมาเซ็นทรัลพัฒนาเป็นผู้ริเริ่ม New Landmarks มาโดยตลอด
กำลังเปิดโครงการมิกซ์ยูสขนาดใหญ่ 2 แห่ง เมื่อต้นปีที่ผ่านมา เปิดที่นครสวรรค์แล้ว ถือว่าช่วงแรกมีคนรับบริการเกินกว่า 80,000 คน ในเดือนมีนาคมนี้จะเปิดที่จังหวัดนครปฐม เพื่อเชื่อมกับกรุงเทพฯ กับภาคตะวันตก ซึ่งมีอัตลักษณ์ความเป็นเมือง มีพระปฐมเจดีย์ ปีหน้าจะเปิดที่จังหวัดกระบี่ จะเติมเต็ม Retail Lifestyle ให้มากขึ้น หวังว่าจะเพิ่มคุณภาพชีวิต กระจายรายได้มากขึ้น

การพัฒนาโครงการใหม่ๆ นี้ยังทำให้เห็นการเติบโตความเปลี่ยนแปลงของไลฟ์สไตล์ผู้คน และจะนำเสนอสิ่งใหม่ให้ลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูงขึ้น โดยเซ็นทรัลพัฒนาวางงบ Asset Enhancement ไว้ที่ 2.3 หมื่นล้านบาท และจะปรับศูนย์การค้าใหม่ ทั้งเซ็นทรัล ปิ่นเกล้า, เซ็นทรัล บางนา, เซ็นทรัล แจ้งวัฒนะ, เซ็นทรัล รัตนาธิเบศร์, เซ็นทรัล พัทยา และเซ็นทรัล มารีน่า

เราเชื่อว่า กรุงเทพฯ ยังมีโอกาสขยายการค้าและธุรกิจได้อีกหลายมุมเมือง รวม 2.2 ล้านตารางเมตร แต่ละโครงการจะเป็น Flagship ที่ตอบโจทย์

ขณะที่ ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค จะตอบโจทย์การใช้ชีวิตในเมือง เป็นโครงการมิกซ์ยูสระดับโลก ส่วนเดือนกันยายน จะพบกับโรงแรมดุสิตธานีโฉมใหม่ และยังมีอีก 4 โครงการ ที่จะเปิดเผยข้อมูลในช่วงครึ่งหลังของปี

ดร. ณัฐกิตติ์ ตั้งพูลสินธนา Chief Marketing Officer เล่าว่า เคล็ดลับความสำเร็จของเซ็นทรัลพัฒนานั้น วันนี้เป็นวันแถลงข่าวประจำปี ถ้าพูดถึง DNA ของเซ็นทรัลพัฒนาคือ Dynamism และการพัฒนา หรือ Development ไม่ใช่แค่ CBD (Central Business District: หรือย่านศูนย์กลางธุรกิจของกรุงเทพฯ) เป็นการพัฒนาศูนย์การค้าที่พยายามกระจายความเจริญของกรุงเทพมหานคร ไม่ใช่มีแค่ CBD สุขุมวิท สาทร เซ็นทรัลพัฒนาเป็นผู้ประกอบการรายแรกๆ ที่สร้างศูนย์การค้าในโรงแรมเกือบเกือบห้าดาาวที่พัทยา มีการสร้างสิ่งใหม่ตลอดเวลาให้เกิดขึ้น และทำให้พันธมิตรเติบโตไปด้วยกัน

ประเด็นเรื่อง Evolving Centre of Life นั้น เราเอาลูกค้าเป็นศูนย์กลาง มีการเปลี่ยนแปลงทุกปี เรามีฐานลูกค้า จาก The 1 อยู่ เรามี Ecosystem ที่เป็นข้อมูลค้าปลีก โรงแรม ทำให้เข้าใจความต้องการของลูกค้าแต่ละเมืองลึกซึ้ง นครสวรรค์ ทุกวันนี้มีคนชอปปิงวันละ 20,000 กว่าคน ตอนนี้เราก็มั่นใจในศักยภาพนครปฐมและกำลังจะเปิดในเดือนมีนาคมนี้

เราเอาข้อมูลมาใช้และวางแผน จึงเปิดที่กระบี่ด้วย เพราะเป็นสถานที่อันดับต้นๆ ที่คนยุโรปเข้ามาพัก เราสร้างทั้งโรงแรมและศูนย์การค้า เราไปสร้าง Ecosystem ให้เมืองเจริญ ให้มีเซอร์วิส มี Residential เราไม่ได้มองกรุงเทพฯ ที่เดียว เรามองทั่วประเทศ

เราเป็นองค์ประกอบแรกที่เอา Flagship มาเป็น First store มากกว่า 76 แบรนด์ และมี Flagship store 44 แบรนด์ อย่าง lululemon ก็มาเปิดกับเราที่แรก อย่าง Pop Mart ก็มาเปิดสาขาเซ็นทรัลเวิล์ด สร้างยอดขายอันดับ 1 จาก 400 แห่งทั่วโลก กล่องสุ่มดังมากยุคนี้ จึงไปเปิดที่ลาดพร้าว ก็ยังสร้างยอดขายได้ดี Uniqlo ก็เปิดกับเราที่แรก Muji ก็เช่นกัน Gentlewoman ก็ด้วย

Central Pattana

กลุ่ม Tourist

เซ็นทรัลพัฒนาเป็นบริษัทที่มี Tourist mall ครอบคลุมทั้งประเทศ สามารถนำข้อมูลมาคาดการณ์ได้แม่นยำ เราสร้าง Shopping Mall ริมหาดที่พัทยา และสร้าง Luxury Mall ที่ภูเก็ต เช่น Dior ไปเปิดที่นี่ ยอดขายสูงสุด เรามี Tourist Mall กว่า 10 สาขา เปิดในจังหวัดต่างๆ ทำให้ Ecosystem ครอบคลุมมากขึ้น

เรายังจับมือกับแพลตฟอร์มด้วย และยังมี E-Wallet เชื่อมจีน เช่น Alipay ของจีน และจะมี Alipay+ ที่จะเชื่อมกับจีน มาเลเซียเพิ่ม ซึ่งก็เป็นสาเหตุที่เราดึง Tourist mall จากเมืองหลักไปยังเมืองรองด้วย เป็นการเพิ่ม GDP ในส่วนของ Tourist และยังเป็นตัวยืนหลักในการพัฒนาพื้นที่เพื่อสร้างความเจริญให้พื้นที่หลายแห่งเพื่อพัฒนาให้เจริญ และเอา Ecosystem ในฐานะของ Place Maker

เซ็นทรัลนครปฐม

DNA เซ็นทรัลพัฒนา สร้างสรรค์สิ่งใหม่ตลอดเวลา

ด้าน วุฒิเกียรติ เตชชะมงคลาภิวัฒน์ Head of Property Management เผยว่า การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ตลอดเวลาคือ DNA ของเซ็นทรัลพัฒนา นครสวรรค์ที่เพิ่งเปิดไป เมืองนี้มีบุคลิก มีสองแม่น้ำมาบรรจบกัน แม่น้ำปิงสีเขียว แม่น้ำน่านสีแดง เราเอาเข้ามา Integrate กับการออกแบบ ชูอัตลักษณ์ของเมือง ดึง Local essence ขึ้นมาอยู่ในดีไซน์ของเรา สาขานี้มีห้าง Central Department Store ในภาคกลางตอนบนที่ใหญ่ที่สุด อนาคตอันสั้นจะมีโรงพยาบาลและโรงแรมเติมเต็มมิกซ์ยูสที่นครสวรรค์ด้วย

30 มีนาคมนี้ จะมีเซ็นทรัล นครปฐม เราพยายามทำคล้ายๆ กัน ทั้งออกแบบสถาปัตยกรรม ใช้กระเบื้องชนิดเดียวกับองค์พระปฐมเจดีย์ พยายามเป็นส่วนหนึ่งของเมือง พยายามให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการออกแบบ เราก็เป็นส่วนหนึ่งของชุมชน และดึงร้านอาหารอร่อยเข้ามาในศูนย์ ดึงศักยภาพของเมืองทั้งศิลปะ วัฒนธรรม มีพื้นที่ให้นักศึกษาและชุมชนใช้ประโยชน์ได้ มี Running Track สามารถวิ่งรอบศูนย์ได้ และยังยกระดับประสบการณ์ลูกค้าดีขึ้น ด้วยการเริ่มทำ Digitalize Service คือการทำแอปพลิเคชันให้บริการสะดวกมากขึ้น

เรามองทั้งลูกค้า B2B2C Solution อนาคตแอปฯ จะเชื่อมโยง ไม่ว่าจะเป็นลูกค้า คู่ค้า ยูสต่างๆ ทั้งคอนโด ผู้อยู่อาศัย เชื่อมโยงกันได้ แพลตฟอร์มจะส่งเสริมลูกค้า เช่น มี Deal พิเศษ of the day, ช่วยจองร้านอาหาร เราสร้างธุรกิจในระดับไมโคร แมคโคร ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนที่เราเข้าไปอยู่

เซ็นทรัลกระบี่

คู่ค้าที่ดีกว่า 15,000 ราย ส่งเสริมให้ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม

อิศเรศ จิราธิวัฒน์ Head of Fashion and Luxury Partner Management ระบุว่าเราคงไม่ประสบความสำเร็จถ้าไม่มีคู่ค้าที่ดีกว่า 15,000 ราย เราพยายามสร้าง Ecosystem ที่ตอบโจทย์คู่ค้า ลูกค้าทั้งหมด เราไม่ได้ทำ Solution ที่ละอย่าง เราเรียกว่า Holistic partnership

การที่เราพัฒนาศูนย์การค้า มีคู่ค้าใหม่ๆ เข้ามาและหน้าเดิมที่พัฒนาไปด้วยกัน เรามีทีมที่ให้ความรู้คู่ค้าว่าการไปที่ใหม่ เหมาะสมขนาดไหน ไปด้วยกันได้หรือไม่ ก่อนเปิดร้านค้า เราก็ให้โซลูชันว่าควรออกแบบร้านยังไงให้เข้ากับธีม เพื่อเข้าไปในทิศทางเดียวกัน ทีมการตลาดก็ประกบต่อว่าทำยังไงให้ขายดี และเรายังเข้าใจตลาดทั่วประเทศ เราพัฒนาโครงการด้วยกลยุทธ์ที่แม่นยำที่สุดแล้ว ศึกษาจากลูกค้า The 1 ที่เป็น Database ที่เราสะสมกันมานานก่อนจะเลือกที่ใหม่ เช่น นครปฐม

ศูนย์การค้าไม่ได้ทำง่ายขนาดนั้น กว่า 40 ปีที่ผ่านมา เราจะแนะนำว่าร้านค้าประเภทนี้จะอยู่ตรงไหนเพื่อให้เหมาะสมที่สุด โดย flow ที่สุด โดย Solution 1 BIZ จะเชื่อมโยงอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นคู่ค้าไซส์ไหน จะได้ประโยชน์เรื่องต้นทุนในการทำ CRM กับลูกค้า สร้าง CRM Solution ที่ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลา

Holistic partnership สำคัญจริงๆ เพราะช่วยทำให้ขายดีขึ้น ขยายดีขึ้น การมีพาร์ทเนอร์ที่ดี ช่วยพัฒนาไปได้เรื่อยๆ เรานำคู่ค้าไปขยายที่ศูนย์การค้าอื่นๆ ของเรา เรามีข้อมูลในมือว่าลูกค้าแต่ละจังหวัดเป็นอย่างไร ไม่ต้องเริ่มจากศูนย์ ตอนนี้ Ecosystem แข็งแกร่งขึ้นทุกวัน เริ่มจาก Shopper อนาคตจะขยายวงมากขึ้น ขยายไปยังลูกค้าจาก Residential, ออฟฟิศ, โรงแรม ข้อมูลเหล่านี้จะทำให้พาร์ทเนอร์แข็งแกร่งมากขึ้น

ปีนี้จะมี 1 ศูนย์การค้าแน่นอน ต่อไปจะมีกระบี่ ต่อไปก็มีดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค เป็น Flagship ของเรา อีก 4 โครงการเดี๋ยวรอครึ่งหลังของปีนี้

Central Pattana

ดร. ณัฐกิตติ์ ตั้งพูลสินธนา Chief Marketing Officer สรุปว่า เซ็นทรัลพัฒนามีสามแกนสำคัญ ดังนี้

1) Dynamism & Place maker เราพัฒนาเมือง นครสวรรค์ จะเอาโรงพยาบาลเข้าไปปลั๊กอินด้วย ส่วนที่สำคัญคือการไปเมืองท่องเที่ยวต่างๆ เราดูแล้วจะต้องพัฒนาศูนย์ให้อัพเดตขึ้น

2) พัฒนาแอปฯ การสร้างยอดขายให้คู่ค้า พัฒนาเพื่อลูกค้าและเชื่อมโยงข้อมูลทั้งหมดเข้าด้วยกัน เราบุกเบิกเพื่อสร้างความเจริญให้เมืองต่างๆ กรุงเทพฯ เราก็สร้าง Magnitude กับหลายพื้นที่ให้กรุงเทพฯ เรามี CBD หลายด้าน ตอนนี้มีอันใหม่คือพระรามเก้า

3) เราพยายามให้คู่ค้ามีส่วนขยายการเติบโตของธุรกิจ SMEs เป็นรากฐานของ GDP ของทุกประเทศ ไทยยังมีไม่ถึง 40% เราพยายามกระจายรายได้ พยายามทำให้ประเทศไทยด้วย ไม่ใช่ทำเพื่อตัวเองเพียงลำพัง ทุกคนจะ Win-Win ได้ประโยชน์กันถ้วนหน้า

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา