เปิดตัวดัชนีชี้วัดคุณธรรมครั้งแรกในไทย: วัยทำงานน่าห่วง วัยเด็กมีทุนชีวิตอ่อนแอ

ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) เปิดตัวดัชนีชี้วัดสถานการณ์คุณธรรมครั้งแรกในไทย พบว่า คุณธรรมด้านมีวินัยรับผิดชอบ สุจริตในวัยทำงานมีประเด็นน่าห่วงใย ขณะที่ทุนชีวิตสะท้อนพลังบวกของเด็กและเยาวชนอ่อนแอลงทุกปี โดยเฉพาะพลังชุมชน หรือจิตสำนึกสาธารณะอ่อนแอมากถึงขั้นไม่ผ่านเกณฑ์

moral

วานนี้ ศูนย์คุณธรรมได้พัฒนาเครื่องมือและสำรวจสถานการณ์คุณธรรมโดยแบ่งเป็นสองเรื่องคือ มีการวัดตัวชี้วัดคุณธรมของคนไทยวัยทำงาน ช่วงอายุ 25-40 ปี และมีการวัดต้นทุนชีวิตของเด็กและเยาวชนไทยอายุ 12-18 ปี .

ดัชนีชี้วัด คุณธรรมสำหรับกลุ่มวัยทำงาน อายุ 25-40 ปี
โดยแบ่งออกเป็น 5 ด้าน คือด้านพอพียง วินัย สุจริต จิตอาสา และกตัญญู กับกลุ่มเป้าหมาย 6 สาขา คือเกษตร รับราชการ/พนักงานราชการ เอกชน รัฐวิสาหกิจ รับจ้างทั่วไป และธุรกิจส่วนตัวอิสระ
สำรวจจากกลุ่มตัวอย่างราว 8,000 คน 6 ภูมิภาค 6 สาขาอาชีพ ผลสำรวจใช้ได้ อยู่ในระดับที่ดี ค่าเฉลี่ยคุณธรรมจากกลุ่มตัวอย่าง (ค่าเฉลี่ยเต็ม 6.00) พบว่า ด้านความมีวินัยรับผิดชอบ เป็นค่าเฉลี่ยที่ต่ำที่สุดคือ 4.18 ด้านสุจริต ค่าเฉลี่ย 4.49 ด้านความพอเพียง ค่าเฉลี่ย 4.61 ด้านจิตสาธารณะ ค่าเฉลี่ย 4.77 ตามลำดับ
ค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดของคุณธรรมแต่ละด้าน พบว่า ความกตัญญู เรื่องการเคารพความดี ค่าเฉลี่ยที่ 4.94 ด้านจิตสาธารณะ เรื่องมีจิตอาสา ค่าเฉลี่ยที่ 4.44 ด้านความพอเพียง เรื่องความมีเหตุผล ค่าเฉลี่ยที่ 4.54 ด้านสุจคริต เรื่องการยืนหยัดในความถูกต้อง ค่าเฉลี่ยที่ 4.19 ส่วนด้านมีวินัยรับผิดชอบเรื่อง การควบคุมตนเอง ค่าเฉลี่ยที่ 4.00

คุณธรรม

ผลสำรวจ ต้นทุนชีวิตของเด็กและเยาวชนไทยอายุ 12-18 ปี
แบบสำรวจต้นทุนชีวิตประกอบด้วย 5 พลัง คือพลังตัวตน พลังครอบครัว พลังสร้างปัญญา พลังเพื่อนและกิจกรรม และพลังชุมชน กลุ่มเป้าหมายจากทั้งหมด 6 ภูมิภาค ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตก ภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคใต้
 
รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม ระบุว่า เรื่องของทุนชีวิตเป็นการวัดระบบนิเวศน์ของพลังบวก หมายถึง ระบบนิเวศน์หรือสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เด็กมีพลังบวกที่ทำให้เป็นคนเก่งและแกร่ง รวมทั้งเป็นการฟังเสียงสะท้อนของเด็กและเยาวชนกับสภาวะแวดล้อมที่เอื้อให้เด็กเกิดพลังบวก

moral index

moral index

ผลการสำรวจต้นทุนชีวิต/ทุนชีวิตของเด็กและเยาวชนไทยช่วงอายุ 12-18 ปี จากกลุ่มตัวอย่างกว่า 10,000 คนพบว่า “พลังชุมชน” หรือเรื่องของจิตสำนึกสาธารณะ เป็นอีกด้านของไทยที่น่าห่วงมาก ปี 2552 อยู่ที่ 64.04% ปี 2562 อยู่ที่ 53.84% และปี 2564 อยู่ที่ 47.76% อ่อนแอถึงขั้นไม่ผ่านเกณฑ์
ด้านพลังครอบครัว ก็น่าห่วงใย เนื่องจากมีคะแนนแนวโน้มลดลงทุกปี จากเดิม 10 ปีที่แล้วอยู่ในระดับดี ปี 2552 อยู่ที่ 76.50% ปี 2562 อยู่ที่ 73.64% แต่ปี 2564 อยู่ที่ 68.91% คือระดับพอใช้
จากผลสำรวจพลังด้านอื่นๆ โดยภาพรวมก็มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง สะท้อนให้เห็นว่าสภาพแวดล้อมและเสียงสะท้อนของเด็กและเยาวชนบนสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดพลังบวกกำลังเป็นประเด็นที่จะต้องได้รับการมุ่งเน้น พัฒนาอย่างจริงจัง

moral index

รศ.นพ. สุริยเดว ระบุว่า ทั้งต้นทุนชวิตและดัชนีชี้วัดคุณธรมนสถานการณ์คุณธรรมที่ปรากฏอยู่ สะท้อนให้เห็นเรื่องกระบวนการพัฒนาวิถีชีวิตแห่งคุณธรรม โดยไม่อยากให้ใช้คำว่าปลูกฝังคุณธรรมเพราะเป็นการเน้นเฉพาะตัวเด็ก
ขณะที่เสียงของเด็กสะท้อนให้เห็นชัดว่าระบบนิเวศน์นั้นเอง ก็มีปัญหาหนัก ไม่สามารถเป็นต้นแบบที่ดีได้ ศูนย์คุณธรรมให้ใช้คำว่า วิถีชีวิตแห่งคุณธรรม แทน ปลูกฝังคุณธรรม ความหมายคือระบบนิเวศน์จะต้องทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่ไปกับเรื่องของการพัฒนาคุณธรรม ทั้งในผู้ใหญ่และเด็กควบคู่กันไป

ที่มา – ศูนย์คุณธรรม

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา