หลายชาติในยุโรปหาทางปกป้องคนทำงานไม่ให้ตกงานจากสถานการณ์โควิด-19 โดยโครงการจ้างงานระยะสั้น Kurzarbeit (ค๊วดช อา ไบท์) ที่มีเยอรมนีเป็นต้นแบบและใช้มาเป็น 100 ปีแล้วและได้รับการยอมรับทั้งจากบริษัทและคนทำงานและตอนนี้หลายประเทศในยุโรปก็นำโครงการ Kurzarbeit ไปปรับใช้ภายในประเทศด้วย
Kurzarbeit การจ้างงานระยะสั้นในเยอรมันและยุโรป ช่วยให้ประชาชนไม่ตกงานในช่วงวิกฤต
ประเทศที่มีการนำ Kurzarbeit หรือการจ้างงานระยะสั้นมาใช้ (จะใช้ตัวย่อ STW แทนคำว่า Short-time work) *หลายแห่งระบุเวลาว่าใช้ระยะเวลายาวนานเท่าไร บางแห่งไม่ระบุ ดังนี้
- ออสเตรเลีย (โครงการ Corona Kurzarbeit: STW) ระยะเวลา 6 เดือน
- เบลเยียม (STW) ขยายเวลาจากโครงการเดิม
- สาธารณรัฐเชก (โครงการ Czech “Antivirus” Kurzarbeit: STW)
- เดนมาร์ก (โครงการ Danish Model: STW) 3 เดือน
- เอสโตเนีย (สนับสนุนค่าแรง ค่าจ้าง เป็นระยะเวลา 3 เดือน)
- ฟินลนด์ (STW)
- ฝรั่งเศส (โครงการ Chômage partiel: STW) ขยายเวลาจากโครงการเดิม
- เยอรมนี (โครงการ Kurzarbeit: STW) ขยายเวลาจากโครงการเดิม
- กรีซ (STW)
- ฮังการี (STW) 3 เดือน
- ไอซ์แลนด์ (STW) 2.5 เดือน
- ไอร์แลนด์ (โครงการ COVID-19 Wage Subsidy: STW)
- อิตาลี (โครงการ Cassa Integrazione Guadagni: STW) ขยายเวลาจากโครงการเดิม
- ลัตเวีย (โครงการ Idleness allowance: สนับสนุนค่าแรง ค่าจ้าง)
- ลิทัวเนีย (สนับสนุนค่าแรง ค่าจ้าง ช่วงที่รัฐบาลประกาศภาวะฉุกเฉินและช่วงที่ต้องกักบริเวณตัวเอง)
- ลักแซมเบิร์ก (โครงการ Chômage partiel: STW)
- เนเธอร์แลนด์ (โครงการ NOW) อย่างน้อย 3 เดือนขยายจากโครงการ STW เดิม
- นอร์เวย์ (สนับสนุนค่าแรง ค่าจ้าง)
- โปแลนด์ (STW)
- โปรตุเกส (โครงการ Temporary lay-off scheme) 6 เดือน
- สโลวาเกีย (สนับสนุนค่าแรง ค่าจ้าง)
- สโลวาเนีย (สนับสนุนค่าแรง ค่าจ้าง)
- สเปน (โครงการ Expedientes de Regulación Temporal de Empleo: STW) ขยายเวลาจากโครงการเดิม
- สวีเดน (สนับสนุนค่าแรง ค่าจ้าง: SWT) ตลอดปี 2020
- อังกฤษ (โครงการ Coronavirus Job Retention Scheme: STW) 3 เดือน
ประชาชนไม่ตกงาน ธุรกิจขนาดเล็กไม่ล่มจม ธุรกิจรายใหญ่อยู่รอด
นอกจากจะเป็นการสนับสนุนให้คนทำงานยังทำงานได้ต่อไปโดยไม่ต้องตกงานแล้ว ยังช่วยรักษาธุรกิจขนาดเล็กให้อยู่รอดต่อไปได้อีกด้วย เนื่องจากบริษัทที่มีขนาดเล็กหรือขนาดกลางอาจมีเงินสดน้อยเมื่อถูกดิสรัป หลายแห่งเข้าถึงแหล่งเงินทุนยาก เมื่อประสบปัญหาจะรอดได้ก็ต่อเมื่อมีเงินทุนฉุกเฉินสำรองไว้ใช้ หรืออาจจะหยิบยืมจากครอบครัวญาติมิตร บริษัทเหล่านี้ จำเป็นต้องมีเงินสดเพื่อทำให้เงินทุนไหลเวียนเลี้ยงบริษัทต่อไปได้
ประเด็นที่จะรักษาธุรกิจขนาดเล็กต่อไปได้อีกก็มีตัวแบบที่น่าสนใจจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ที่เรียกกันว่า Swiss model โดยสวิสฯ จะเป็นตัวเชื่อมทั้งสองฝั่งระหว่างธนาคารกับผู้ประกอบการเรียกว่า “bridge credits” โดยผู้ที่ประสบปัญหาจากการดำเนินธุรกิจสามารถกรอกใบสมัคร กรอกรายละเอียดตามแบบฟอร์มที่กำหนดให้ จากนั้นก็นำไปสู่กระบวนการอนุมัติกู้ยืม ซึ่งเป็นโครงการที่ประสบความสำเร็จเพราะรัฐบาลประกันเงินกู้ยืมก้อนนั้นให้ 100% ซึ่งรัฐบาลอังกฤษก็ประกันเงินกู้ให้กับบริษัทขนาดเล็กในจำนวน 100% เช่นกัน
ทั้งนี้ มีหลายประเทศที่ให้ความช่วยเหลือโดยที่มีรัฐเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ในอัตราที่สูงมาก ดังนี้
- ฝรั่งเศส รัฐประกันเงินกู้ให้ 90%
- สวิตเซอร์แลนด์ 100%
- สเปน
- เยอรมนี 100%
- อังกฤษ 100% (ก่อนหน้านั้นอยู่ที่ 80%)
- ญี่ปุ่น
- อิตาลี 100%
ธุรกิจรายใหญ่ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจการบินที่คาดว่าจะสูญรายได้มหาศาลราว 3 แสนเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 9.6 ล้านล้านบาทในปีนี้ ซึ่งเยอรมนีก็เตรียมอุ้มสายการบิน Lufthansa ฝรั่งเศสเตรียมอุ้มสายการบิน Air France ตามด้วยเนเธอร์แลนด์ก็อุ้มสายการบิน KLM เช่นกัน งบประมาณที่ต้องใช้ราว 1.1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐหรือ 3.5 แสนล้านบาท เป็นต้น
อ่านเพิ่ม
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา