รู้แล้วอย่าเก็บไว้คนเดียว แต่ต้องหาทางขยายต่อ บทความจาก Forbes รายงานว่า Empathy หรือการเห็นอกเห็นใจผู้อื่น การใส่ใจผู้อื่นคือทักษะที่สำคัญเสมอสำหรับผู้นำ ปัจจุบัน ประเด็นนี้ไม่ได้สำคัญในระดับธรมดา แต่สำคัญที่สุด
เรื่องสุขภาพจิต
ต้องบอกว่า โควิดระบาดสร้างผลกระทบอย่างหนักต่อผู้คนในสังคมถ้วนหน้า งานวิจัยระดับโลกจาก Qualtrics พบว่า เรื่อง Mental Health หรือสุขภาพจิตนั้น พบว่า ผู้คนล้วนผ่านประสบการณ์สุขภาพจิตแย่ลง 42% พบว่าผู้คนมีความเครียดมากขึ้น 67%
ผู้คนกังวลมากขึ้น 57% เหนื่อยล้ามากขึ้น 54% คนเศร้าเพิ่มขึ้น 53% หงุดหงิดมากขึ้น 50% มีปัญหาในการมีสมาธิหรือโฟกัสต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง 28% ใช้เวลายาวนานขึ้นในการทำหน้าที่ให้บรรลุเป้าหมายสำเร็จ 20% มีปัญหาในการคิดเพิ่มขึ้น 15% และมีปัญหาในการจัดสรรความรับผิดชอบ 12%
ชีวิตส่วนตัว
ไม่ใช่แค่งานศึกษาจาก Qualtrics เท่านั้น ในเรื่องชีวิตส่วนตัวแล้ว ผลการศึกษาจาก Occupational Health Science จากมหาวิทยาลัย Illinois พบว่า เมื่อพนักงานได้รับอีเมล์ที่ไม่สุภาพจากการทำงาน พวกเขามีแนวโน้มที่จะมีประสบการณ์ลบๆ จากเรื่องนั้นและส่งผลกระทบต่อชีวิตส่วนตัวของเขาโดยเฉพาะกับคนรักของเขานั่นเอง นอกจากนี้ งานวิจัยจากมหาวิทยาลัย Carleton พบว่า เมื่อผู้คนพบกับเหตุการณ์ที่ไม่สุภาพในที่ทำงานแล้ว พวกเขามีแนวโน้มที่จะทำหน้าที่พ่อแม่ในการดูแลลูกได้น้อยลง
ผลการศึกษาที่เผยแพร่โดย Academy of Management Journal พบว่า เมื่อผู้คนได้รับการกระทำที่ไม่สุภาพในที่ทำงาน มันจะกระทบต่อศักยภาพพวกเขา พวกเขาจะให้ความช่วยเหลือคนอื่นได้น้อยลง อีกทั้งงานศึกษาชิ้นใหม่จากมหาวิทยาลัย Georgetown ยังพบว่า ออฟฟิศต่างๆ มีท่าทีที่ไม่สุภาพจากผู้คนเพิ่มมากขึ้น นั่นก็ส่งผลต่อการร่วมมือกันของคนในทีม หากมีประสบการณ์ที่ย่ำแย่กับลูกค้าก็ส่งผลให้คนลาออกเพิ่มขึ้นด้วย
ความเห็นอกเห็นใจกัน จะพาเราผ่านช่วงเวลาที่ยากเย็นนี้ไปได้
งานวิจัยทั้งหมดที่ว่านี้ทำให้เห็นว่า Empathy หรือความเห็นอกเห็นใจกัน การเอาใจใส่ในกันและกันในเวลาที่ยากเย็นเช่นนี้ จะช่วยทำให้ค้นพบความสุขจากการทำงานได้ การเห็นอกเห็นใจกันนี่แหละจะเป็นยาต้านพิษและส่งเสริมพลังด้านบวกให้ทั้งในระดับปัจเจกและความเป็นทีมได้ ผลการศึกษาชิ้นใหม่จากพนักงาน 889 คนโดย Catalyst พบว่า ความเห็นอกเห็นใจกันส่งผลต่อความสร้างสรรค์อย่างมีนัยสำคัญ
ด้านนวัตกรรรม
เมื่อผู้คนพบว่าผู้นำของเขามีความเห็นอกเห็นใจ เอาใจใส่ พวกเขาก็จะมีความคิดที่จะทำสิ่งใหม่ๆ ได้มากถึง 61% ผิดกับกลุ่มที่มีผู้นำไม่เห็นอกเห็นใจที่มีเพียง 13% เท่านั้น
ด้านการเกี่ยวพัน
ผู้คนที่พบว่าผู้นำของเขามีความเห็นอกเห็นใจ เอาใจใส่ พวกเขาจะมีความเกี่ยวพันกับงานที่ทำมากถึง 76% ผิดกับกลุ่มที่ผู้นำที่ขาดความเห็นอกเห็นใจ จะรู้สึกเกี่ยวพันกับงานที่ทำเพียง 32% เท่านั้น
ด้านการรักษาพนักงาน
จากการศึกษาพบว่า ผู้หญิงผิวขาว 57% ผู้หญิงผิวสี 62% ระบุว่า พวกเธอไม่คิดที่จะลาออกจากงานหากรู้สึกว่าบรรยากาศในบริษัทให้ความเคารพต่อเธอและบริษัทเห็นคุณค่า แต่ถ้าไม่ได้รู้สึกเช่นนั้น ระดับการไม่อยากลาออกก็ลดลงเช่นกัน ผู้หญิงผิวขาวอยู่ที่ 14% และผู้หญิงผิวสี 30%
ในแง่การงานและชีวิต
พบว่า กลุ่มคนที่มีผู้นำเห็นอกเห็นใจ เอาใจใส่ มี 86% ที่จะพยายามทำให้การงานและชีวิตส่วนตัวของเขาประสบความสำเร็จ เมื่อเทียบกับผู้นำที่เห็นอกเห็นใจพนักงานน้อยก็จะมีเพียง 60% เท่านั้นที่สนใจทำให้การงานและชีวิตส่วนตัวประสบความสำเร็จ
ที่มา – Forbes
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา