EIC: GDP ไทยไตรมาส 3 หดตัวน้อยกว่าคาด ฟื้นตัวเร็วกว่าคาด

SCB Economic Intelligence Center เผยบทวิเคราะห์ GDP ไทยไตรมาส 3 หดตัวน้อยกว่าคาด ฟื้นตัวเร็วกว่าคาด โดยเศรษฐกิจไทยไตรมาส 3 หดตัวน้อยลงที่ -6.4% YOY หลังจากหดตัวสูงถึง -12.1% ในไตรมาส 2 ปี 2020 ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยหลังมีมาตรการผ่อนคลายการปิดเมือง และการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ในช่วงที่ผ่านมาทั้งช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2020

BANGKOK, THAILAND – MAY 07: Approximately 1,000 unemployed Thai people wait in line to apply for the three month, 5,000 baht, financial aid promised by the Ministry of Finance on May 7, 2020 in Bangkok, Thailand. This complaint center allows Thai people who are unemployed due to the coronavirus pandemic, and who did not receive direct deposits, to submit their bank information to the Ministry of Finance. If approved, each will receive 5,000 Baht (approx. $154 USD) for 3 months. Thailand is slowly lifting restrictions after being locked down for over one month in an effort to stop the spread of Covid-19. (Photo by Lauren DeCicca/Getty Images)

เศรษฐกิจไทยมีการหดตัวน้อยลงทุกภาคส่วน ยกเว้นด้านที่เกี่ยวข้องกับภาคการท่องเที่ยวต่างประเทศที่ยังหดตัวสูง และยังได้รับแรงสนับสนุนจากการขยายตัวของการบริโภคและการลงทุนภาครัฐ

เศรษฐกิจไทยด้านการใช้จ่าย หดตัวในอัตราน้อยลงในเกือบทุกภาคเศรษฐกิจ ยกเว้นการนำเข้าและส่งออกด้านบริการที่ยังหดตัวสูง ขณะที่การบริโภคและลงทุนภาครัฐขยายตัวต่อเนื่อง มูลค่าการส่งออกสินค้าและบริการที่แท้จริงหดตัวอยู่ที่ -23.5%YOY ต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4 ติดต่อกัน

การส่งออกยังหดตัวในหลายอุตสาหกรรมสำคัญโดยเฉพาะสินค้ากลุ่มยานพาหนะและชิ้นส่วนและเครื่องจักรกล การส่งออกภาคบริการหรือการท่องเที่ยวหดตัวสูงเร่งขึ้น -73.3%YOY หลังจากหดตัว -68.0%YOY จากการที่ไทยและหลายประเทศยังไม่เปิดรับนักท่องเที่ยว ไตรมาส 3 นักท่องเที่ยวหดตัว -100%YOY

มูลค่าการนำเข้าสินค้าและบริการที่แท้จริงหดตัวน้อยลง การนำเข้าบริการหดตัวสูง -32.8%YOY จากการที่ไทยยังไม่สามารถเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศได้ การใช้จ่ายเพื่อบริโภคภาคเอกชนหดตัวชะลอลงที่ 0.6%YOY เป็นผลจาการผ่อนคลายมาตรการปิดเมือง การลงทุนภาคเอกชนหดตัวน้อยลงที่ -10.7%YOY เป็นผลจากการหดตัวของการลงทุนด้นเครื่องจักรเครื่องือ การบริโภคและกรลงทุนภาครัฐขยายตัวเร่งขึ้นจากไตรมาส 2 จากการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณหลังได้รับการอนุมัติ

เศรษฐกิจไทยหดตัวน้อยลงทุกภาคส่วน

ด้านการผลิตเกือบทุกสาขาการผลิตสำคัญหดตัวน้อยลง หมวดการก่อสร้าง การสื่อสาร และการเงินมีกาารขยายตัวต่อเนื่อง ภาคการเกษตรหดตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4 ในอัตราที่ชะลอลง -0.9%YOY ตามการลดลงของผลผลิตสินค้าเกษตรสำคัญ อาทิ ข้าวเปลือก ยางพารา ปาล์มน้ำมัน การผลิตสินค้าอุตสาหกรรมหดตัวชะลอลงที่ -5.3%YOY เป็นการปรับตัวดีขึ้นในทุกอุตสาหกรรมตามอุปสงค์ในไทยที่เริ่มฟื้นตัว

การขายส่งและขายปลีกหดตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 ที่ -5.5%YOY การผ่อนคลายมาตรการปิดเมือง ทำให้การผลิตสินค้าในประเทศเริ่มปรับตัวดีขึ้นตามอุปสงค์ในประเทศฟื้นตัว สาขาที่พักแรมและอาหารหัวตัวชะลอลงที่ -39.6%YOY ก่อนหน้าหดตัวที่ -50.2% ปรับตัวดีขึ้นจากนักท่องเที่ยวในประเทศเป็นหลัก

การขนส่งและจัดเก็บสินค้าหดตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ที่ -23.6%YOY ตามปริมาณการขนส่งผู้โดยสารที่ลดลงจากการปิดน่านฟ้าและพรมแดน การผลิตในบางสาขาขยายตัวต่อเนื่อง อาทิ การก่อสร้าง ขยายตัวสูงเร่งขึ้นที่ 10.5%YOY

เศรษฐกิจไทยไตรมาส 3 ของปี 2020 หดตัวน้อยลงหลังจากภาครัฐผ่อนคลายมาตรการปิดเมือง การใช้จ่ายเอกชนไม่รวมนักท่องเที่ยวต่างชาติกลับมาขยายตัวถึง 3.8% YOY สะท้อนอุปสงค์ในประเทศเริ่มมีการฟื้นตัว ส่วนหนึ่งมาจากมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐ อาทิ โครงการกำลังใจ เราเที่ยวด้วยกัน การช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางและการลงทุนภาครัฐขยายตัวสูงจากการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณปี 2020 แต่ภาคการท่องเที่ยวยังซบเซาจากการที่ยังไม่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าประเทศ การลงทุนภาคเอกชนยังหดตัวสูง

เศรษฐกิจไทยไตรมาสสุดท้ายของปี 2020 มีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องในอัตราที่ชะลอลง ส่วนหนึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนฐานต่ำในปี 2019 มีการจัดทำงบประมาณล่าช้า ทำให้คาดว่าการบริโภคและการลงทุนภาครัฐจะยังขยายตัวในระดับสูง การลงทุนภาคเอกชนและการท่องเที่ยวยังซบเซาต่อเนื่อง แม้จะมีการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติแบบ long stay แล้ว แต่เป็เป็นเพียงส่วนน้อย

เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 3 หดตัวน้อยกว่าที่ EIC เคยคาด สะท้อนว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวเร็วกว่าที่เคยคาดไว้เล็กน้อย โดยเฉพาะส่งออกและการบริโภคภาคเอกชน ทำให้เศรษฐกิจไทยทั้งปี 2020 มีโอกาสหดตัวน้อยกว่าที่เคยคาดที่ -7.8%

ปี 2021 คาดว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวอย่างช้าๆ เป็นผลจากแผลเป็นทางเศรษฐกิจ การค้นพบวัคซีนประสิทธิภาพสูงอาจทำให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวสูงกว่าที่เคยคาดไว้ 3.5% การปิดกิจการยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่องและภาวะตลาดแรงงานที่เปราะบาง สะท้อนจากตัวเลขอัตราการว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้น จำนวนชั่วโมงการทำงานรวมที่ลดลงมากตามจำนวนงานเต็มเวลา งานโอทีที่หายไปบางส่วนกลายเป็นงานต่ำระดับ (underemployment) รวมถึงมีแรงงานที่ต้องหยุดงานชั่วคราวจำนวนมาก (furloughed worked) อีกจำนวนมาก

ส่งผลโดยตรงต่อการฟื้นตัวของรายได้ภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ ประกอบกับภาระหนี้จากวิกฤตโควิด-19 ช่วงก่อนหน้า ทำให้ทั้งภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจมีแนวโน้มใช้จ่ายอย่างระมัดระวังมากขึ้น ส่งผลทำให้การฟื้นตัวของการบริโภคและการลงุทนภาคเอกชนเป็นไปอย่างช้าๆ ช่วงปีหน้า

ที่มา – EIC

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา