EIC: การตัดสิทธิ GSP รอบใหม่มีผลต่อการส่งออกโดยรวม สินค้าที่พึ่งพา GSP มากยิ่งกระทบหนัก

EIC ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินการตัดสิทธิ GSP โดย United States Trade Representative (USTR) ประกาศตัดสิทธิ GSP กับสินค้าไทยเพิ่มเติม 231 รายการ มีผลบังคับ 30 ธันวาคม 2020 เป็นต้นไป หลังจากมีการยกเลิกสิทธิ GSP ในรอบแรก มีผลบังคับใช้กับสินค้าไทย 573 รายการ (คิดเป็น 0.5% ของมูลค่าการส่งออกรวมเมื่อ 25 เมษายน 2019

ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ภาพจาก The White House
Donald Trump ภาพจาก White House

EIC คาด ผลกระทบที่เกิดจากการตัดสิทธิ GSP รอบล่าสุดต่อการส่งออกไทยในภาพรวมค่อนข้างจำกัด เนื่องจาก

  1. สินค้าส่งออกไปสหรัฐฯ​ ที่จะถูกตัดสิทธิ GSP คิดเป็นสัดส่วนเพียง 0.2% ต่อมูลค่าการส่งออกรวม
  2. สินค้าที่จะโดนตัดสิทธิ GSP จะมีต้นทุนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นประมาณ 3.1% ซึ่งจะกระทบต่อยอดขายไม่มากนัก

แม้ผลกระทบจากการตัดสิทธิ GSP จะมีไม่มากนัก แต่จากผลกระทบสะสมจากการโดนตัดสิทธิในรอบก่อนหน้า ภาวะเศรษฐกิจโลกยังซบเซาและมีแนวโน้มฟื้นตัวช้า กระแสการปกป้องทางการค้าที่เพิ่มมากขึ้น รวมถึงค่าเงินบาที่แข็งค่าสะสมในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา ทำให้ความเสี่ยงต่อการฟื้นตัวของการส่งออกไทยในระยะข้างหน้ามีสูงขึ้นและยังส่งผลให้ผู้ประกอบไทยจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกต่อไปได้

โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ภาพจาก The White House

EIC คาดผลกระทบที่เกิดจากการตัดสิทธิ GSP รอบนี้ส่งผลต่อส่งออกไทยค่อนข้างจำกัด เนื่องจากสินค้าส่งออกไปสหรัฐฯ จะถูกตัดสิทธิเพียงแค่ 0.2% ต่อการส่งออกรวม และสินค้าที่จะโดนตัดสิทธิ GSP มีต้นทุนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นประมาณ 3.1% จะกระทบต่อยดขายไม่มากนัก การตัดสิทธิ GSP จะทำให้สินค้าส่งออกที่โดนตัดสิทธิถูกเก็บภาษีเพิ่มเติมในช่วง 0% ถึง 12.5% แล้วแต่ประเภท

สินค้าซึ่งมีค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของอัตราภาษี (weighted effective tax rate) ที่จะถูกจัดเก็บเพิ่มเติมอยู่ที่ 3.1% หรือคิดเป็นมูลค่าภาษีที่ต้องจ่ายประมาณ 18.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หากมีสมมติฐานให้ธุรกิจส่งผ่านภาษีที่เพิ่มขึ้นแก่ผู้บริโภคทั้หมด โดยที่ปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อราคาสินค้าส่งออกไทยนั้นไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลง

จากงานศึกษาของธนาคารแห่งประเทศไทย เคยสรุปว่าค่าความยืดหยุ่นด้านราคาของสินค้าส่งออก (price elasticity) มีค่าในช่วง 0.3% – 0.6% ทำให้ได้ข้อสรุปว่ายอดขายสินค้าส่งออกไทยที่จะโดนตัดสิทธิ GSP มีแนวโน้มลดลงประมาณ 0.001% – 0.003% ต่อการส่งออกรวมทั้งหมด ราว 3.2 – 6.3 ล้านเหรียญสหรัฐ หากสินค้าที่โดนตัดสิทธิเป็นสินค้าที่ถูกทดแทนได้ยากหรือเป็นที่นิยมในตลาดสหรัฐฯ (มีความยืดหยุ่นต่อราคาต่ำ: low price elasticity) ผลกระทบก็อาจมีจำกัด

Photo by Robert Eklund on Unsplash

สินค้าที่มีความเสี่ยงได้รับผลกระทบสูงคือ ผักดองเปรี้ยว ผักแห้ง ไฟประดับต้นคริสมาสต์ ปิโตรเรซิน ซิลิคอน ภาชนะอะลูมิเนียมทรงกระบอก โลหะสำหรับยึดและติดตั้ง ประแจ และตะปูควง มีหลักในการวิเคราะห์ 3 ด้าน คือ

  • GSP utilization rate (มูลค่าส่งออกที่ใช้สิทธิ GSP ต่อมูลค่าส่งออกสินค้าประเภทนั้นทั้งหมด) สะท้อนการพึ่งพาสิทธิ GSP ในการส่งออกสินค้าประเภทนั้นๆ หากมีมากก็จะกระทบมาก
  • ตราภาษีที่จะมีการเก็บเพิ่มเมื่อโดนตัดสิทธิ หากมีภาษีสูงก็จะมีความเสี่ยงกระทบสูง
  • มูลค่าการใช้สิทธิ GSP ของแต่ละสินค้า สินค้าที่มีมูลค่าใช้สิทธิมาก ก็ย่อมแสดงถึงความสำคัญของสิทธินั้นต่อสินค้าที่โดนตัดสิทธิทั้งหมด

ที่มา – EIC

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา