ตลาดหุ้นจีน 2 ตลาดกลับมาซื้อขายอีกครั้งหลังจากวันที่ 23 มกราคมที่ผ่านมา โดยลดลงไปสูงสุดถึง 9% สาเหตุหลักๆ คือ กังวลไวรัสโคโรนา แม้ว่ารัฐบาลจีนจะมีมาตรการเพื่อป้องกันแล้วก็ตาม
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ของจีนไม่ว่าจะเป็นทั้งเซี่ยงไฮ้และเซิ่นเจิ้น กลับมาเปิดการซื้อขายอีกครั้งนับตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม หลังจากที่รัฐบาลจีนชะลอการเปิดตลาดหุ้นหลังจากกังวลการแพร่ระบาดไวรัสโคโรนาระบาดในประเทศ
เปิดการซื้อขายเช้าวันนี้ดัชนี Shanghai Composite ได้ลดลงมากถึง 9% เป็นการลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2015 ที่ผ่านมาด้วย
- ไวรัสโคโรนา: อัตราการตายต่ำเมื่อเทียบกับคนที่ติดเชื้อทั้งหมด 2% น้อยกว่าโรคซาร์ส 9.6%
- เศรษฐกิจจีนรับศึกหนักรอบด้าน: ก่อนหน้าคือสงครามการค้า ตอนนี้คือเชื้อไวรัสโคโรนา
- รัฐบาลจีนประกาศควบคุมราคาหน้ากากอนามัย หลังประชาชนกังวลไวรัสโคโรนา
ขณะที่สินค้าอื่นๆ ที่ซื้อขายผ่านตลาดหลักทรัพย์ไม่ว่าจะเป็น สินแร่เหล็ก ทองแดง น้ำมันปาล์ม ก็ลดลง 8% เช่นกัน ลดลงมากที่สุดตามที่ตลาดซื้อขายได้กำหนดไว้ ส่วนดัชนีตลาดหลักทรัพย์อื่นๆ เช่น เซิ่นเจิ้น ล่าสุดลดลงไปประมาณ 7.8% ตามตลาดหลักทรัพย์เซี่ยงไฮ้
สาเหตุหลักๆ คือความกังวลไวรัสโคโรนาในประเทศจีนและยังไม่มีวี่แววที่จะหยุดระบาด ล่าสุดมีผู้เสียชีวิตไปแล้วกว่า 360 ราย มีผู้ติดเชื้อไปแล้วกว่า 17,000 ราย
ก่อนหน้านี้หน่วยงานกำกับดูแลด้านการเงินของประเทศจีนก็มีมาตรการรองรับกรณีที่เกิดขึ้นบ้างแล้วไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มสภาพคล่องเข้าสู่ระบบประมาณ 1.2 ล้านล้านหยวน นอกจากนี้ยังมีการผ่อนคลายข้อกำหนด เช่น บริษัทประกันภัยสามารถเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้นจีนได้มากกว่าที่กำหนดไว้ที่ 30% และมีมาตรการอื่นๆ รวมกันแล้วกว่า 30 มาตรการก่อนตลาดหุ้นจีนจะเปิดการซื้อขาย
นอกจากนี้รัฐบาลจีนยังรับปากว่าจะช่วยให้ภาคธุรกิจกลับมาทำธุรกิจได้ตามปกติ ภายใต้สภาวะเช่นนี้
ล่าสุดสำนักข่าว Bloomberg รายงานเพิ่มว่า ก.ล.ต. จีนจัดมาตรการเพิ่มเสถียรภาพตลาดเพิ่มเติม คือขอความร่วมมือให้ Trader ประจำโบรกเกอร์ต่างๆ ที่ซื้อขายหุ้นเพื่อทำกำไรให้กับโบรกเกอร์ งดการซื้อๆ ขายๆ เป็นระยะเวลา 1 อาทิตย์ เพื่อที่จะป้องกันไม่ให้ตลาดเกิดความผันผวน มาตรการดังกล่าวนี้เคยใช้มาแล้วในช่วงปี 2015 ซึ่งมีมาตรการที่ใช้ได้ผลบ้าง ไม่ได้ผลบ้าง
Gone in 60 minutes.
Shanghai Composite pic.twitter.com/AuI7fS6SUd
— David Ingles (@DavidInglesTV) February 3, 2020
ที่มา – Reuters, Yahoo Finance
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา