Burberry แบรนด์หรูรายแรกที่กำลังเป็นเป้าโจมตีของกลุ่มคนจีนที่ต้องการคว่ำบาตร กรณีที่ Burberry ก็เป็นอีกหนึ่งรายที่ออกมาประกาศต้านการละเมิดสิทธิมนุษยชนในมณฑลซินเจียง หลังจากที่ก่อนหน้านี้ทั้ง H&M, Nike, Zara ก็ออกมาแถลงการณ์ไม่เห็นด้วยเช่นกัน
[คลิปวิดีโอที่โจว ตงอวี๋ เป็นทั้งพรีเซนเตอร์และแบรนด์เอมบาสเดอร์ให้ Burberry]
Burberry แบรนด์หรูรายแรกที่โดนคนจีนกำลังรุมบอยคอตต์
สำหรับกรณี Burberry แบรนด์หรูนี้มีแบรนด์เอมบาสเดอร์คือ Zhou Dongyu (โจว ตงอวี๋) นักแสดงสาวมากฝีมือได้ระงับสัญญากับ Burberry เป็นที่เรียบร้อยเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา โดยเอเยนซี่ของเธอระบุว่าเป็นการแสดงจุดยืนที่ชัดเจนต่อแถลงการณ์กรณีฝ้ายจากซินเจียง จากนั้นเครื่องหมายทางการค้าของแบรนด์ Burberry ก็ถูกนำออกไปจากวิดีโอเกมที่ดีที่สุดของจีน Honor of Kings
นอกจากนี้ แหล่งข้อมูลจาก SCMP ระบุว่า Burberry ก็เป็นหนึ่งในสมาชิกของ BCI หรือโครงการฝ้ายเพื่อความยั่งยืน ซึ่ง BCI ก็ได้ระงับทุกกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับซินเจียงตั้งแต่ 30 มีนาคม 2020
ทั้งนี้ การโจมตีกลับของจีนเริ่มขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาผ่านการคว่ำบาตรต่อต้านเจ้าหน้าที่สภานิติบัญญัติอังกฤษ 9 คนที่พูดในเชิงต่อต้านซินเจียง รวมถึงคนของรัฐบาลอังกฤษที่ต่อต้านค่ายแรงงานทาสในภูมิภาคนี้ด้วย
[คลิปนี้อธิบายให้เห็นภาพว่าจีนกำลังขยายค่ายกักกันชนกลุ่มน้อยอุยกูร์ที่อยู่ในมณฑลซินเจียง จีน]
แบรนด์แฟชั่นประกาศกร้าวหันหลังให้ฝ้ายที่ผลิตจากซินเจียง คนจีนเริ่มทยอยโต้กลับคว่ำบาตรไม่ซื้อสินค้า
แรงกดดันที่ค้าปลีกได้เผชิญอยู่นี้เกิดจากการงดการใช้ฝ้ายจากซินเจียงจากเหตุผลที่ว่ามีค่ายกักกันชนกลุ่มน้อยอุยกูร์ที่อาศัยอยู่ในมณฑลซินเจียงนับล้านรายต้องถูกปรับทัศนคติ ถูกกักตัวอยู่ในค่ายแรงงานนี้และถูกบังคับใช้แรงงานให้เก็บฝ้ายและทำงานผลิตสิ่งทอนับล้านราย รายงานจาก DW News ล่าสุดยังเปิดเผยด้วยว่า จีนกำลังพยายามขยายพื้นที่สำหรับค่ายกักกันชาวอุยกูร์อยู่ด้วย
ทั้งนี้ ทาง Forbes พยายามขอให้ทาง Burberry แสดงความคิดเห็นจากกรณีที่เพิ่งเกิดขึ้น ทาง Burberry ไม่ได้แสดงความคิดเห็นใดๆ แต่บริษัทยังแบนการใช้ฝ้ายจากซินเจียงและในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมายังได้บอกกับคณะกรรมาธิการธุรกิจรัฐบาลอังกฤษว่า เราไม่ต้องการปฏิบัติการใดๆ ในซินเจียง ไม่ต้องการทำงานหรือใช้ซัพพลายเออร์จากพื้นที่นี้
- H&M กำลังถูกบอยคอตต์ในจีน หลังประกาศไม่ได้บังคับใช้แรงงานอุยกูร์ในซินเจียง
- ปัญหาแรงงานอุยกูร์เริ่มพ่นพิษ Nike ก็โดนซุป’ตาร์ดังของจีนเตรียมยกเลิกสัญญา
- สหรัฐ อังกฤษ แคนาดา และ EU ผนึกกำลังคว่ำบาตรจีน เหตุละเมิดสิทธิมนุษยชนอุยกูร์
- คนจีนกดดันหนัก Zara รับไม่ไหว ต้องลบแถลงการณ์ไม่เห็นด้วยบังคับใช้แรงงานในซินเจียง
[คลิปเล่าถึงค่ายที่จะเปลี่ยนความคิดผู้ที่อยู่ในค่ายไปตลอดกาล ผู้ที่อยู่ในค่ายก็คือชนกลุ่มน้อยอุยกูร์ที่อาศัยอยู่บริเวณมณฑลซินเจียง]
ตลาดสินค้าหรูในจีนเติบโตมากถึง 48% และยังเป็นตลาดที่เติบโตที่สุดในโลกอย่างมีนัยสำคัญด้วย สำหรับตลาดสินค้าหรู จีนมีสัดส่วนตลาดสูงถึง 20% จีนพยายามกดดันแบรนด์ต่างๆ ทุกช่องทางที่มีการแบนการใช้ฝ้ายจากซินเจียง ทั้งนี้ แบรนด์หรูส่วนใหญ่มักอยู่ในโครงการ BCI หรือโครงการพัฒนาฝ้ายเพื่อความยั่งยืน LVMH ซึ่งเป็นเจ้าของแบรนด์ Louis Vuitton ก็เป็นสมาชิกเช่นกัน
คลิปจาก SCMP เล่าสรุปภาพรวมสั้นๆ เกี่ยวกับการผลิตฝ้ายของจีนไว้ได้ดี ดังนี้
- ฝ้ายที่ผลิตในโลก มีฝ้ายที่ผลิตจากจีน 22%
- จีนผลิตฝ้ายมากเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากอินเดียอันดับ 1 ตามด้วยสหรัฐฯ อันดับ 3
- การผลิตฝ้ายในจีน มาจากซินเจียง 84%
- ซินเจียงเป็นเขตปกครองตนเอง ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน
- อุตสาหกรรมสิ่งทอของจีนมีการจ้างงานมากนับล้านราย
- จีนกำลังประสบปัญหาการบังคับใช้แรงงานชนกลุ่มอุยกูร์ในมณฑลซินเจียง
- จีนปฏิเสธข้อกล่าวหาและระบุว่าคนงานคือส่วนหนึ่งของนโยบายที่จีนพยายามใช้เพื่อกำจัดความยากจน
ที่มา – Forbes, Business & Human Rights Resource Centre
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา