จีนยังไม่เลิกราเกี่ยวกับการแบนซีรีส์วาย แม้แต่ ซีรีส์ที่ตัดธีมรักๆ ใคร่ๆ ออก และแทนที่ด้วยมิตรภาพหรือความเป็นพี่น้องที่ใกล้ชิดกัน อย่างซีรีส์แนว Dangai ก็ยังถูกหน่วยงานกำกับดูแลด้านสื่อเพ่งเล็ง
ถ้านึกภาพซีรีส์แนวนี้ไม่ออก The Untamed (ปรมาจารย์ลัทธิมาร) คือ ‘ตัวอย่าง’ ที่ดีของซีรีส์แนว Dangai
จีนอ้าง ซีรีย์วายสร้างวัฒนธรรมแฟนด้อม Toxic
ในเดือนนี้ Yang Shuo เลขาธิการสำนักงานวิทยุและโทรทัศน์แห่งเทศบาลเมืองปักกิ่ง พูดถึงแนวคิดของทางการจีนในการเพิ่มการควบคุมต่อซีรีส์วายในที่ประชุมแห่งชาติว่าด้วยอุตสาหกรรมโทรทัศน์และภาพยนตร์ว่า “การที่หน่วยงานแบนภาพยนตร์และซีรีส์ แนว dangai เป็นเพราะต้องการสร้างโลกออนไลน์ที่สะอาดและมีสภาพแวดล้อมที่ดี”
จริงๆ แล้ว ไม่ใช่ว่าทางการจีนจะจับตาซีรีส์ในบางหมวดหมู่เท่านั้น เพราะในภาพใหญ่ทางการจีนพยายามควบคุม ‘วัฒนธรรมแฟนด้อม’
Lu Peng นักวิจัยจาก Shanghai Academy of Social Sciences ระบุว่า รัฐบาลชี้ว่าวัฒนธรรมดังกล่าวทำให้การกระทบกระทั่งระหว่างกลุ่มคนบนโลกออนไลน์ นำไปสู่พฤติกรรมทางสังคมที่ย่ำแย่
และแม้ว่าทางการจะควบคุมเฉพาะเนื้อหาที่ทำการผลิตเฉพาะในกรุงปักกิ่ง แต่การแบนครั้งนี้สร้างผลกระทบที่ค่อนข้างกว้างขวางเพราะสตรีมมิ่งเจ้าใหญ่ 2 จาก 3 เจ้าของจีน ทั้ง iQiyi และ Youkou ล้วนทำการอยู่ในกรุงปักกิ่งทั้งสิ้น
ไม่มีฉากรัก ก็ใช้ข้ออ้างสร้างสังคมออนไลน์ที่ดี
Lu Peng ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการแบนซีรีย์แนวนี้เอาไว้ว่า “ตอนแรก ซีรีย์วายแนวรักๆ ถูกทางการเพ่งเล็ง ยกตัวอย่างเช่นเรื่อง Addicted (ร้ายนักรักเสพติด) เพราะไม่ถูกครรลองพ้องกับความคิดกระแสหลัก (ต่อต้านความหลากหลายทางเพศ) ของประเทศ”
โดย Addicted ถูกสำนักงานกำกับวิทยุและโทรทัศน์แห่งชาติจีน (NRTA) สั่งห้ามออกอากาศ 3 ตอนสุดท้ายด้วยเหตุผลว่ามีการแสดงให้เห็นถึง “ความสัมพันธ์ทางเพศและพฤติกรรมที่ไม่ปกติ”
แต่หลังจากที่ทางการจีนแบนซีรีส์วายที่มีมีธีมหลักเป็นเรื่องรัก ผู้ผลิตเนื้อหาเจ้าต่างๆ ก็พยายามสร้างซีรีส์แนว Dangai ที่แทนที่เรื่องรักด้วยมิตรภาพใกล้ชิดแทน ซึ่ง Lu ชี้ว่า “ไม่มีอะไรให้ (ทางการ) กล่าวโทษ” จึงไม่น่าแปลกใจที่ทางการจีนพยายามหันหัวเรื่องไปสู่ผลกระทบทางสังคมจากแฟนด้อมแทน
กระทบไทย ที่เป็นตลาดใหญ่ของ ซีรีส์วาย
แน่นอนว่าการคุมเข้มซีรีส์วายที่หนักกว่าเดิมของจีนอาจกระทบแฟนๆ ชาวไทยไม่น้อย โดย South China Morning Post เคยนำเสนอเอาไว้ว่าไทยคือตลาดที่ให้ความสนใจกับซีรีส์แนวนี้อย่างมาก เห็นได้จากจำนวนซีรีส์แนว boy’s love ในไทยที่ถูกสร้างขึ้นกว่า 57 เรื่อง ภายในปี 2014 ถึง 2020
- Tencent หุ้นตกหนัก หลังสื่อรัฐบาลจีนโจมตีเกมออนไลน์เป็นฝิ่นทางใจ
- รัฐบาลจีนจะเปลี่ยนบริษัทติวเตอร์เป็น ‘องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร’
ที่มา – South China Morning Post
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา