รัฐบาลจีนอาจต้องใช้วิธีกระตุ้นเศรษฐกิจจีนอีกรอบ หลังสัญญาณจากตัวเลขทางเศรษฐกิจของจีนไม่เป็นที่น่าพอใจมากนัก นอกจากนี้การกระตุ้นเศรษฐกิจของจีนอาจทำให้เกิดความเสี่ยงกับเศรษฐกิจจีนได้
ผู้นำระดับสูงของจีนเริ่มส่งสัญญาณไม่พอใจในตัวเลขเศรษฐกิจในไตรมาส 3 ที่ผ่านมา เนื่องจากแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจของประเทศเริ่มที่จะเติบโตช้าลง และสัญญาณเตือนเศรษฐกิจจีนล่าสุดคือ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ หรือ PMI อ่อนแอกว่าที่คาดการณ์ไว้ ทำให้รัฐบาลจีนอาจต้องใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจอีกรอบ
สำหรับแรงกดดันของเศรษฐกิจจีนคือเรื่องสงครามการค้าระหว่างสหรัฐ-จีน ที่ทำให้สถานการณ์ของเศรษฐกิจจีนเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงในช่วงที่ผ่านมา รวมไปถึงความกังวลในเรื่องของเศรษฐกิจจีนอาจเริ่มมาถึงทางตันแล้ว และยังรวมไปถึงความเชื่อมั่นของประชาชนในการจับจ่ายใช้สอย
คาดว่านโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจชุดแรกที่ทางการจีนจะนำมาใช้ในเร็วๆ นี้ได้แก่
- การลดภาษีบุคคล จะมีผลในเดือนมกราคม 2019
- เพิ่มเพดานภาษีส่วนบุคคล จะทำให้ชาวจีนไม่ต้องจ่ายภาษีมากเท่าเดิม
- เพิ่มภาษีส่งออกสินค้า
- ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มเติม
- ลดภาษีนำเข้าสินค้าอุตสาหกรรม
สำหรับนโยบายทางการเงินก่อนหน้านี้ธนาคารกลางจีนได้ปรับลด RRR ทำให้มีเงินเข้ามาหมุนเวียนในเศรษฐกิจจีนมากขึ้นกว่าเดิม
- จีนเตรียมปั๊มเงินเข้าเศรษฐกิจอีก 1.2 ล้านล้านหยวน หลังจากเศรษฐกิจชะลอตัว
- เศรษฐกิจจีนไตรมาส 3 โต 6.5% ต่ำสุดตั้งแต่หลังวิกฤติเศรษฐกิจปี 2009
ช่วงเวลายากลำบากกำลังจะมาถึง
Lu Ting นักเศรษฐศาสตร์จาก Nomura ได้ให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า ในช่วงต้นปีหน้าเป็นเวลาที่ยากลำบากของเศรษฐกิจจีนอย่างแท้จริง เพราะว่าจีนกำลังจะได้รับผลกระทบจริงจังจากสงครามการค้า ยอดขายสิ่งของอุปโภคบริโภคชะลอตัวลง รวมไปถึงอสังหาริมทรัพย์ในเมืองรองของจีนก็หมดยุครุ่งเรือง นอกจากนี้เขายังได้เสริมถึงนโยบายจีนว่า นี่จะเป็นการทดสอบว่าเศรษฐกิจจีนจะสามารถเติบโตอย่างยั่งยืนอยู่ที่ปีละประมาณ 6.5% ได้หรือไม่
ความเสี่ยงครั้งใหม่?
George Magnus นักเศรษฐศาสตร์จากศูนย์จีนศึกษา มหาวิทยาลัย Oxford กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า การที่รัฐบาลจีนเตรียมกระตุ้นเศรษฐกิจในยามหน้าสิ่วหน้าขวานขณะนี้อาจทำให้เกิดความเสี่ยงจากเรื่องหนี้อีกครั้ง ก่อนหน้านี้นโยบายของรัฐบาลจีนคือลดความเสี่ยงเรื่องหนี้ เพื่อสร้างสมดุลในเศรษฐกิจอีกรอบ ถ้าหากรัฐบาลจัดการในเรื่องนี้ไม่ดีอาจได้เห็นต้นทุนทางการเงินของจีนเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากไม่สามารถชำระหนี้ได้
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา