จีนครองที่ดินในต่างประเทศมากที่สุดในโลก มากกว่าสหรัฐ 7.5 เท่า แล้ว EEC ไทยจะทำอย่างไรดี

ไทยควรกังวลไหม เมื่อจีนได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่ครอบครองที่ดินในต่างประเทศมากที่สุดในโลก มากกว่าสหรัฐ 7.5 เท่า เพราะตอนนี้ EEC จะให้ต่างชาติเช่าที่ดินได้ 99 ปี

china land grabbing

จีนครอบครองที่ดินในต่างประเทศมากที่สุดในโลก

บริษัทจีนกำลังคืบหน้าในครอบครองซื้อที่ดินใน เอเชียใต้ เอเชียตะวันตะวันออกเฉียงใต้ และแอฟริกามากขึ้นในช่วง 10 ที่ที่ผ่านมา Land Matrix องค์กรในยุโรปที่รวบรวมข้อมูลเรื่องที่ดิน ระบุว่า ที่ดินที่อยู่ภายใต้การถือครองของบริษัทจีนผ่านการเช่าหรือซื้อมีขนาดโดยรวมกว่า 64,800 ตารางกิโลเมตร

หรือเทียบให้เห็นง่ายๆ คือ เกือบ 1 ใน 8 ของขนาดประเทศไทย (513,120 ตารางกิโลเมตร) โดยพื้นที่ส่วนใหญ่ถูกใช้ไปกับการเกษตร การป่าไม้ และเหมืองแร่

จีนถือครองที่ดินในต่างประเทศมากที่สุดในโลก มากกว่าสหรัฐอเมริกาเกิน 7.5 เท่า หากลองมองโดยเปรียบเทียบกับประเทศเศรษฐกิจหลักประเทศหลักจะเห็นความแตกต่างชัดเจน 

  • สหราชอาณาจักร ถือครองที่ดินในต่างประเทศ 15,600 ตารางกิโลเมตร
  • สหรัฐอเมริกา ถือครองที่ดินในต่างประเทศ 8,600 ตารางกิโลเมตร
  • ญี่ปุ่น ถือครองที่ดินในต่างประเทศ 4,200 ตารางกิโลเมตร
Uniqlo Shanghai, China Photo: Fast Retailing

ทั้งนี้ เพราะการบริโภคภายในที่เติบโตตามการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ทำให้จีนต้องเร่งเข้าครอบครองที่ดินในต่างประเทศเพื่อทำให้แน่ใจว่าเศรษฐกิจจีนจะมีเสถียรภาพจากการเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติที่มากเพียงพอ ในขณะที่สินค้าวัตถุดิบเริ่มขาดแคลนประกอบกับความตึงเครียดทางการเมืองกับสหรัฐคุกรุ่นขึ้นอีกครั้ง 

Belt Road Initiative ช่วยเร่งการเข้าครอบครองที่ดินของจีน

มีหลายกรณีที่แสดงให้เห็นว่าการตอบรับความช่วยเหลือการลงทุนของจีนผ่านโครงการ Belt Road Initiative ผลักให้ประเทศผู้รับต้องตกอยู่ในสภาวะกับดักหนี้ (debt trap) ต้องยอมยกสัมปทานหรือมอบใบอนุญาตในโครงการต่างๆ เช่น ทางด่วน ท่าเรือ ไปจนถึงหุ้นโรงไฟฟ้า แลกกับการปรับโครงสร้างหนี้ใหม่

ตัวอย่างเช่นในกรณีคลาสสิคของศรีลังกาที่ตกลงให้ บริษัทวิศวกรรมท่าเรือแห่งประเทศจีน (CHEC) เข้ามาพัฒนาท่าเรือในกรุงโคลัมโบ ที่ในท้ายที่สุดไม่สามารถจะจ่ายหนี้คืนได้สำเร็จจึงต้องยอมมอบสัญญาเช่าท่าเรือดังกล่าวเป็นระยะเวลา 99 ปี ให้กับ CHEC 

แถมยังมีโครงการสร้างทางด่วนที่ในท้ายที่สุดก็ตกเป็นหนี้จนต้องยอมส่งมอบให้จีนถือครองเป็นเวลา 18 ปี ในลักษณะเดียวกัน

Vientiane Laos เวียงจันทน์ ประเทศลาว
ภาพจาก Shutterstock

ในลาวก็มีกรณีในลักษณะเดียวกัน คือ ตกเป็นหนี้ก้อนใหญ่ในโครงการก่อสร้างรถไฟเชื่อมจีนที่ได้รับความช่วยเหลือผ่านโครงการ BRI จนถึงขนาดที่รัฐบาลลาวต้องยอมขายหุ้นในธุรกิจที่สำคัญต่อประเทศอย่างกิจการสายส่งไฟฟ้าส่วนใหญ่ให้กับ China Southern Power Grid เพื่อหารายได้มาจ่ายหนี้คืน

ในกรณีของเวียดนามเห็นได้ชัดว่ามีความพยายามของบริษัทเอกชนจีนในการเข้าครอบครองที่ดินโดยตรง เดิมทีจังหวัด Binh Phuoc ทางตอนใต้ของเวียดนามเคยเป็นพื้นที่ปลูกยางที่สำคัญของประเทศ แต่ปัจจุบันทุนจีนอย่าง New Hope Liuhe บริษัทปศุสัตว์ชั้นนำของจีนกว้างซื้อที่ดินในจังหวัดดังกล่าว และตอนนี้ก็เริ่มขยายการเข้าครองที่ดินไปยังตอนกลางและตอนเหนือของประเทศโดยใช้โมเดลเดียวกันอีกด้วย 

ไทยภายใต้การขยายอำนาจในภูมิภาคของจีน

[opinion] คำถามก็คือ แล้วการอนุญาตให้ต่างชาติสามารถเช่าที่ดินได้ถึง 99 ปี ผ่านพระราชบัญญัติอีอีซี (EEC) เป็นสิ่งที่ยังเหมาะสมหรือไม่เมื่อพิจารณาจากสิ่งที่เกิดขึ้นในบริบทระดับภูมิภาคและระดับโลกที่เราเห็นได้ชัดว่า กลุ่มทุนจีนเริ่มเข้าครอบครองที่ดินในต่างประเทศโดยไม่สนใจผลกระทบที่ผู้คนในประเทศปลายทางจะได้รับ

ปัจจุบันนี้เอกชนจีนจำนวนมากเข้ามาลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ไทย นั่นอาจเป็นเรื่องดีต่ออุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ แต่ข่าวร้ายคือการเข้ามาลงทุนแบบเก็งกำไรทำให้ค่าใช้จ่ายในปัจจัยการยังชีพพื้นฐานอย่างที่อยู่อาศัยสำหรับผู้คนโดยเฉพาะในกรุงเทพแพงขึ้น และยังต้องแบกรับผลเสียของการดึงต่างชาติเข้ามาลงทุนโดยไม่มีการเจรจาต่อรองกับต่างชาติเพื่อสงวนผลประโยชน์ของประชาชนบางประการที่ดีเพียงพอ

ที่มา – Nikkei Asia

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

บาส รชต สนิท - นักข่าว นักเขียน ที่ Brand Inside | สนใจด้าน Future of Work, สิทธิคนทำงาน, สิ่งแวดล้อม, การเมืองโลก, ปัญหาทุนนิยม และ สิทธิมนุษยชน