Bank of New York Mellon ควบกิจการสำหรับบริหารกองทุนเข้าด้วยกัน

Bank of New York Mellon ชื่อนี้อาจไม่คุ้นหูเท่าไหร่นัก แต่ถ้ากล่าวถึงเจ้าของ ETF ชื่อดังอย่าง SPDR Gold ที่นักลงทุนชาวไทยคุ้นเคยอาจต้องร้องอ๋อขึ้นมาทันที เนื่องด้วยลักษณะโครงสร้างการบริหารจัดการกองทุนของ Bank of New York Mellon ซึ่งในแต่ละส่วนไม่เหมือนกันในอดีต แต่ตอนนี้ทุกอย่างเปลี่ยนไปแล้วจะเกิดอะไรขึ้น

การลงทุนในยุคปัจจุบันได้เปลี่ยนไปมาก เทคโนโลยีก็เข้ามามีส่วนเสริมในการลงทุน ดังนั้น Bank of New York Mellon จึงควบรวมหน่วยงานภายในที่บริหารจัดการกองทุนเข้าด้วยกัน ซึ่งสามหน่วยงานภายในนี้มีสินทรัพย์ภายใต้การจัดการถึง 560,000 แสนล้านเหรียญสหรัฐ โดยหน่วยงานที่จะควบรวมกันนั้นมี

  • Mellon Capital Management บริหารจัดการกองทุนแนว Passive Investment
  • Standish Mellon Asset Management บริหารจัดการกองทุนที่เน้นไปทางตราสารหนี้
  • The Boston Company Asset Management บริหารจัดการกองทุนแนว Active Investment

โดยการควบรวมกิจการนี้จะทำให้ค่าใช้จ่ายเช่นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ ค่าใช้จ่ายสำหรับบทวิเคราะห์หลักทรัพย์ ฯลฯ นั้นลดลง เพราะถือว่าใช้ข้อมูลร่วมกัน

นอกจากนั้นยังเปลี่ยน CEO คนใหม่ด้วย

โดย Charles Scharf ซึ่งเป็นอดีต CEO ของ Visa นั้นจะมาเป็น CEO คนใหม่ของ Bank of New York Mellon โดยจะเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรใหม่โดยแบ่งเป็นสามส่วนได้แก่แผนกชำระราคา แผนกตลาดทุน และแผนกจัดการกองทุน ซึ่งทำให้องค์กรนั้นดูแบนราบลง ซึ่ง CEO คนเก่า Gerald Hassell นั้นพยายามลดค่าใช้จ่ายของ Bank of New York Mellon ลงอย่างมหาศาล

คู่แข่งนั้นควบรวมกิจการ Bank of New York Mellon ก็ต้องปรับตัว

การแข่งขันระหว่างบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนทั่วโลกนั้นเริ่มจะรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งยังมีการควบรวมกิจการระหว่างกัน ยกตัวอย่างรายที่น่าสนใจเช่น Standard Life นั้นควบรวมกิจการกับ Aberdeen กลายเป็นบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนฝั่ง Active Investment ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอังกฤษ ส่วนอีกราย Henderson ควบรวมกับ Janus ซึ่งมี Bill Gross ผู้จัดการกองทุนตราสารหนี้ผู้เก่งกาจนำทัพ ฉะนั้น Bank of New York Mellon ก็ต้องปรับตัวอย่างหนักเช่นกัน

ที่มาBloomberg, Financial Times

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

mm
Content Writer ที่สนใจในเรื่องของตลาดทุนทั้งในและต่างประเทศ กลุ่ม TMT (Technology, Media, Telecom) การควบรวมกิจการ (M&A) นโยบายทางเศรษฐกิจของไทยและต่างประเทศ รวมถึงสิ่งละอันพันละน้อยทางธุรกิจที่น่าสนใจ