ปัญหาเงินท่ีไหลเข้าอออกมากเกินไปในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาอาจสร้างปัญหาให้เศรษฐกิจได้ BIS ได้ออกรายงานล่าสุดเกี่ยวกับเรื่องนี้ให้ธนาคารกลางออกมาใช้นโยบายทางการเงินด้านต่างๆ เพื่อแก้ปัญหา
ธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ หรือ BIS ได้ออกรายงานล่าสุดแนะนำให้ธนาคารกลางในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา หรือ Emerging Markets ทำการแทรกแซงค่าเงิน หรือใช้นโยบายทางการเงิน เพื่อที่จะป้องกันเงินร้อนที่ไหลเข้ามามากเกินไป ซึ่งกำลังเป็นปัญหาในหลายๆ ประเทศในขณะนี้ รวมถึงในไทย
- แบงก์นอกชี้เงินบาทอาจแข็งค่าแตะ 28.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ-จับตามาตรการธปท.
- [เปรียบเทียบ] ทำไมค่าเงินบาทแข็งค่าเป็นอันดับ 1 ในอาเซียนและแข็งค่ากว่าคู่ค้าหลักของไทย
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาปริมาณเงินที่ไหลเข้าสินทรัพย์ต่างๆ Emerging Markets เนื่องจากผลตอบแทนที่ดีกว่าในประเทศใหญ่ๆ เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐ หรือยุโรป ทำให้ค่าเงินของประเทศต่างๆ ผันผวน หรือกรณีที่ย่ำแย่สุดถ้าหากเงินไหลออกไวเกินไปก็จะเกิดเหตุการณ์วิกฤติการเงินเหมือนกับกรณีของประเทศตุรกี อาร์เจนตินา รวมไปถึงปากีสถาน
รายงานของ BIS ได้แนะนำให้ธนาคารกลางเข้ามาแทรกแซงค่าเงิน หรือการออกนโยบายทางการเงินต่างๆ โดย BIS มองว่าในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา นโยบายของธนาคารกลางนั้นช่วยให้ลดความเสียหายในเรื่องของเงินที่ไหลเข้าออก รวมไปถึงค่าเงินที่ผันผวนสูงมากขึ้น ซึ่งนโยบายดังกล่าวนี้กลุ่มประเทศพัฒนาได้ใช้เพื่อที่แก้ปัญหาในเรื่องนี้มาแล้ว แต่ประเทศใน Emerging Markets หลายๆ ประเทศไม่เคยใช้นโยบายเหล่านี้
นอกจากนี้ BIS ยังมองว่าอัตราแลกเปลี่ยนนั้นยังส่งผลไปยังเรื่องของเงินเฟ้อได้ด้วย โดยได้ยกตัวอย่างในช่วงวิกฤติการเงินก่อนปี 2000 และยังแนะนำว่าควรขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อที่จะป้องกันไม่ให้เกิดฟองสบู่ในสินทรัพย์ต่างๆ ก่อนที่จะเกิดวิกฤติ
อ้างอิงจากข้อมูลจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย “ธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ” เป็นสถาบันการเงินระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยหน้าที่หลักของธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศในขณะนั้น เช่น ดูแลในเรื่องของค่าปฏิกรสงคราม ซึ่งเป็นเหตุผลของการตั้งชื่อของธนาคารในตอนแรก
เมื่อหลังจากหน้าที่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง ธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ ได้เปลี่ยนบทบาทตัวเองเป็นศูนย์กลางในการส่งเสริมความร่วมมือและเป็นเวทีการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นระหว่างธนาคารกลางของแต่ละประเทศรวมไปถึงองค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องทางการเงิน ปัจจุบันสำนักงานใหญ่ธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศตั้งอยู่ที่เมืองบาเซิล ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา