“เยอรมัน” เตรียมควบคุมรถยนต์ไร้คนขับ ผ่านกฎหมายจริยธรรม ให้สมองกลมองคนเท่าเทียม

ตอนนี้หน่วยงานรัฐของประเทศเยอรมันได้ปรับกฎระเบียบที่บังคับใช้กับรถยนต์ไร้คนขับ หรือ Autonomous Vehicle โดยเน้นที่คุณค่าในการขับขี่ รวมถึงความเท่าเทียมกันบนท้องถนนกับทั้งสิ่งไม่มีชีวิต รวมถึงสิ่งที่มีชีวิตไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ และสัตว์

ภาพโดย Japanese_car_accident.jpg: Shuets Udono derivative work: Torsodog (Japanese_car_accident.jpg) [CC BY-SA 2.0 (http://creativecommons.org/licenses/by-sa/2.0)], via Wikimedia Commons

มองทุกอย่างเท่ากัน และสร้างความเสียหายน้อยที่สุด

สำหรับกฎเกณฑ์ดังกล่าวถูกประกาศออกมาเมื่อวันที่ 23 ส.ค. โดยคณะกรรมการจริยธรรมที่ทำงานเกี่ยวกับรถยนต์ไร้คนขับ ซึ่งตัวกฎเกณฑ์ได้กำชับให้การออกแบบรถยนต์ไร้คนชับต้องสร้างความเสียหายให้น้อยที่สุด เมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ที่จะขับชนมนุษย์โดยหลีกเลี่ยงไม่ได้ และต้องปฎิบัติตัวให้เท่าเทียมกันไม่เว้นอายุ, เพศ, เชื้อชาติ หรือปัจจัยอื่นๆ ถ้ากล่าวง่ายๆ ก็คือ รถยนต์ไร้คนขับต้องถูกตั้งค่าให้รู้จักคุณค่าชีวิตของมนุษย์

ทั้งนี้เหตุการณ์ที่ผู้ขับขี่ต้องตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ผลลัพธ์ที่ออกมาคือต้องมีการเสียชีวิตแน่ๆ นั้นเรียกว่า Trolley Problem และมันเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันมามากกว่า 60 แล้ว เนื่องจากเรื่องจริยะธรรมนั้นละเอียดอ่อนมาก ถ้าไม่แน่ใจก็ลองตั้งคำถามดูว่า คุณจะดึงเบรกหรือไม่ในขณะที่รถจะชนคนแก่สองคน แต่เวลาเดียวกันก็มีเด็กจะกระเด็นออกจากรถหากหยุดกระทันหัน

ส่วนฝั่งของกฎดังกล่าวนั้น ทางเยอรมันเลือกที่จะตัดเรื่องยุ่งยากต่างๆ โดยการกำหนดให้รถยนต์ไรคนขับต้องเลือกชน (ในกรณีที่ต้องชนมนุษย์จริงๆ) ให้เจ็บน้อยที่สุด โดยไม่เลือกว่าผู้นั้นจะมีอายุ, เชื้อชาติ หรือเพศอะไร แต่มันก็คงเป็นเรื่องยากในการตั้งค่าให้รถยนต์ไรคนขับสามารถทำอย่างนั้นได้จริงๆ เพราะกว่าจะกระจัดความเป็นไปได้ออกมา คงต้องใช้การคำนวนจำนวนมาก และต้องทำในระยะเวลาอันสั้นด้วย

อย่างไรก็ตาม ถึงประเทศเยอรมันจะมองเห็นคุณประโยชน์ของเทคโนโลยีไร้คนขับจำนวนมาก แต่เรื่องจริยธรรมยังเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดในการดำรงชีวิต เพราะคุณค่าของมนุษย์ทุกคนนั้นมีมากเกินกว่าที่หุ่นยนต์ หรือมนุษย์ด้วยกันเองจะเข้าใจ ดังนั้นหากให้รถยนต์ไรคนขับออกมาโลดแล่นในประเทศจริงๆ และนั่นเป็นเหตุผลที่คณะกรรมการจริยธรรมของประเทศก็คงจริงจังกับเรื่องนี้มากขึ้น

ขณะเดียวกันการเดินหน้ากฎเกณฑ์เรื่องนี้ของเยอรมันยังเป็นการแสดงความเป็นผู้นำในเรื่องกฎหมายของรถยนต์ไร้คนขับอีกด้วย โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับสหรัฐอเมริกา ที่มีเพียงบางรัฐเริ่มร่างกฎเกณฑ์ดังกล่าวออกมาแล้วบ้าง แม้ปัจจุบันจะเริ่มมีรถยนต์ยนต์ไร้คนขับวิ่งอยู่บนท้องถนนจำนวนหนึ่งแล้วก็ตาม

อ้างอิง // Quartz

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา