โลกตั้งคำถาม: อเมริกาจะเข้าร่วม TPP เมื่อไร? เข้าก็ท้าทาย ไม่เข้าก็ตกขบวน

สังคมโลกตั้งคำถาม เมื่อไรสหรัฐอเมริกาภายใต้การนำของ Joe Biden จะเข้าร่วมวงเจรจาภายใต้กรอบ TPP หรือ CPTPP เสียที?

Joe Biden โจ ไบเดน
Tuesday, Feb. 16, 2021, in the Oval Office of the White House. (Official White House Photo by Lawrence Jackson)

มาถึงวันนี้ วันที่เปลี่ยนผู้นำสหรัฐอเมริกาคนใหม่เป็น Joe Biden แล้ว ก็ยังไม่แสดงท่าทีให้เห็นว่าจะกลับเข้ามาร่วมมือภายใต้กรอบ TPP หรือ CPTPP อย่างไร เรื่องนี้ ถูกหยิบยกขึ้นมาถามกันอีกครั้งหลังจากที่ Biden แต่งตั้ง Katherine Tai ขึ้นเป็นผู้แทนการค้าแน่นอนแล้ว เรื่องนี้ Tai ระบุว่า จีนถือเป็นคู่แข่งและเป็นคู่ค้ารายใหญ่ของสหรัฐฯ ถ้าสหรัฐฯ ลงไปเล่นในเกมนี้ก็จะเผชิญกับเรื่องที่ท้าทายแน่นอน

จีนร่วมอยู่ในวง RCEP แล้ว รวมวงสมาชิกของกรอบความร่วมมือนี้จะถือเป็น 30% ของเศรษฐกิจโลกสหรัฐฯ ถอนตัวออกจา CPTPP สมัยที่ทรัมป์เป็นประธานาธิบดี เมื่อ Joe Biden ขึ้นเป็นผู้นำต่อจากทรัมป์ ก็เคยกล่าวไว้ว่า สหรัฐฯ จะไม่เข้าสู่ความตกลงการค้าเสรีใดๆ เลย ก่อนที่จะเริ่มหันมาลงทุนในประเทศมากขึ้น 

ขณะที่ผู้แทนการค้า Tai ก็มองว่าการร่วมมือในกรอบ TPP นั้น เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างหุ่นส่วน สานประโยชน์ทางเศรษฐกิจและยุทธศาสตร์ โดยมีจีนเป็นความท้าทายภายใต้กรอบความร่วมมือนี้ แต่โลกในรอบห้าหกปีที่ผ่านมานี้ก็มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมาก ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ทำให้เราต้องระวังหลุมพรางที่อาจเป็นกับดักให้ดี

คลิปด้านบนนี้ อธิบายถึงการแต่งตั้ง Katherine Tai ผู้แทนการค้าคนใหม่สหรัฐฯ ที่คาดว่าจะเป็นตัวเชื่อมประสานสัมพันธ์จีน ในอีกด้านหนึ่งก็ถือเป็นหัวหอกในการต่อกรกับจีนด้วย Tai เชี่ยวชาญด้านการค้ามานาน ทำงานในสำนักผู้แทนการค้าสหรัฐฯ มาตั้งแต่ปี 2007 ถึงปี 2014 แถมสามปีสุดท้ายยังทำหน้าที่เหมือนตำรวจทางการค้าคอยตรวจสอบบทบาทจีนในมิติการค้า การใช้แรงงานอุยกูร์ในซินเจียงด้วย

Tai ยังมีรกรากเป็นคนจีนมาแต่ดั้งเดิมก่อนจะย้ายไปอยู่ไต้หวันและอพยพมาอยู่ในอเมริกาในท้ายที่สุดด้วย นอกจากคลิปที่ถึง Tai แล้ว เนื้อหาหลักสะท้อนให้เห็นว่าสหรัฐฯ เคยเป็น czar หรือซาร์ หรือจักรวรรดิด้านการค้ามาก่อนจีน สหรัฐฯ มีเศรษฐกิจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก แต่จีนก็เป็นประเทศคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดในโลกเช่นกัน

ประเด็นเรื่องการความร่วมมือภายใต้กรอบ TPP นั้น  ทรัมป์เคยระบุว่า มันเป็นทำให้การจ้างงานชาวอเมริกันลดลงและถอนตัวออกมาตั้งแต่สัปดาห์แรกที่ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดี ขณะที่ Tai เองก็เข้าใจเจตนาในการรวมกลุ่มกับชาติพันธมิตรใน TPP แต่แรกเริ่ม แต่ความท้าทายคือจีนที่ร่วมอยู่ในกรอบนี้ ดังนั้น เป็นไปได้ว่าสหรัฐฯ จะยังคงนโยบายไม่เข้าร่วมในระยะต้น และดำเนินนโยบายฟื้นฟูเศรษฐกิจโดยเน้นขับเคลื่อนภายในประเทศก่อนเป็นหลัก รวมถึงกดดันคู่ค้าสหรัฐฯ ไปพลาง และไม่น่าจะเข้าร่วม TPP ในระยะเวลาอันใกล้

ที่มา – Nikkei Asia

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา