แม้สี จิ้นผิงจะแสดงความยินดีต่อผู้นำคนใหม่สหรัฐฯ ให้โลกเห็นแล้วก็ตาม ก็ไม่ได้หมายความว่านโยบายต่างประเทศสหรัฐฯ ภายใต้การนำของโจ ไบเดน จะเปลี่ยนไปจากเดิมแบบพลิกฝ่ามือ เพราะเอาเข้าจริงแล้ว มุมมองที่สหรัฐฯ มีต่อจีน ไม่ว่าจะฝั่งรีพับลิกันหรือเดโมแครตก็ไม่ค่อยแตกต่างกันมากนัก คือมีมุมมองลบต่อจีน แต่อาจจะมีวิธีดำเนินนโยบายแตกต่างกัน
มุมมองของนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ในมิติระหว่างประเทศ มองว่า การต่างประเทศสมัยทรัมป์และความน่าจะเป็นสำหรับการดำเนินนโยบายของไบเดนน่าจะแตกต่างกันชัดเจน อาทิ การดำเนินนโยบายแบบเอกภาคี (หรือ unilateralism) แบบที่ทรัมป์ถนัดและนิยมทำ น่าจะไม่เกิดในสมัยไบเดน เขาน่าจะมีทิศทางใช้นโยบายแบบพหุภาคี (หรือ multilateralism) มากกว่าสมัยทรัมป์
การแสดงให้โลกเห็นว่าจีนเริ่มโอนอ่อนต่อสหรัฐฯ ด้วยการเริ่มแสดงความยินดีต่อไบเดน ก็น่าจะเป็นอีกตัวช่วยหนึ่งที่ทำให้เห็นว่า สี จิ้นผิง น่าจะพยายามแสดงความเป็นมิตรให้ไบเดนเห็นบ้างไม่มากก็น้อย แม้ว่าจะมีสื่อพาดพิงหลายครั้งหลายคราพร้อมขุดเหตุผลว่าเหตุใดจีนไม่แสดงความยินดีสักที แม้ว่าโลกจะหันเข้าหาไบเดนและร่วมแสดงความยินดีกันแทบจะหมดแล้ว (ยกเว้นประเทศแบบรัสเซียและประเทศทีมีผู้นำนิยมแนวทางอนุรักษ์นิยมจัดแบบตุรกีหรือบราซิล ที่นิยมชมชอบทรัมป์ด้วย)
- ในที่สุด จีนก็ออกมาแสดงความยินดีกับ “โจ ไบเดน” ชนะเลือกตั้ง เป็น ปธน. คนใหม่ของสหรัฐอเมริกา
- ยังไม่ทันขึ้นรับตำแหน่ง Xi Jinping และ Putin ส่งสัญญาณถึง Biden อย่าแทรกแซงการเมืองภายใน
- รักษาระยะห่าง สี จิ้นผิง ยังไม่ร่วมแสดงความยินดีกับ โจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐฯ คนใหม่
อย่างน้อย ภาพการเริ่มเข้าหาไบเดนของสี จิ้นผิงในปัจจุบัน ก็แสดงให้เห็นทิศทางที่ดีขึ้นในการเสนอความเป็นมิตรให้เห็นบ้าง และหากเทียบสมัยทรัมป์ครองอำนาจกับสมัยโอบามา เราก็เห็นกันชัดเจนว่าสมัยโอบามามีท่าทีที่ไม่แข็งกร้าวเท่าทรัมป์และเป็นเพียงการกดดันผ่านกรอบความร่วมมือพหุภาคีแบบให้เพื่อนเกรงใจเพื่อนมากกว่าจะดำเนินการแบบฝ่ายเดียวที่มีทิศทางเผด็จการหรือบังคับให้จีนดำเนินนโยบายตามแบบเสียหน้าจีนและยังพร้อมจะแตกหักแบบเดียวกับสมัยทรัมป์ จึงอาจกล่าวได้ว่าการขึ้นเป็นผู้นำคนใหม่ของสหรัฐฯ ภายใต้ไบเดน ไม่น่าทำให้โลกลุกเป็นไฟเท่าสมัยทรัมป์
นอกจากนี้ การขึ้นมาของไบเดน ท่ามกลางโควิด-19 ระบาดอย่างหนักหน่วง หากดูจากตัวเลขล่าสุด พบว่า คนติดเชื้อโควิดทั่วโลกอยู่ที่ 54,046,529 ล้าน (ราว 54 ล้านคน) เสียชีวิตราว 1.3 ล้านคน รักษาหายอยู่ที่ 34.8 ล้านคน
ขณะที่สหรัฐฯ ติดเชื้อโควิดรวม 10.9 ล้านคน เสียชีวิต 2.45 แสนคน รักษาหาย 4.14 ล้านคน คนติดเชื้อรายวันล่าสุดอยู่ที่ 5.5 หมื่นคน
ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า ปัญหาเร่งด่วนที่สหรัฐฯ จะเร่งทำ ก็คือการควบคุมการระบาดของโควิด-19 ให้ได้ พยายามฟื้นฟูเศรษฐกิจด้วยการชูนโยบายซื้อของอเมริกัน โดยคนอเมริกัน เพื่อคนอเมริกันเป็นหลักก่อน ก่อนที่จะไปฟาดฟันกับประเทศอื่น การ Heal America แบบที่โจ ไบเดน กล่าวไว้ครั้งแรกหลังประกาศชัยชนะ น่าจะเป็นสิ่งที่ไบเดนเลือกทำและให้ความสำคัญมากที่สุด
ขณะเดียวกันก็จะสานสัมพันธ์กับจีนผ่านกรอบความร่วมมือพหุภาคี ซึ่งแน่นอนว่าย่อมมีการกดดันทางการทูตให้จีนทำตามกฎกติกาสากลโลกอย่างที่ไบเดนกล่าวก่อนได้เข้าชิงกับทรัมป์ว่าจีนต้องทำตามกฎ และถ้าหากต้องการความร่วมมือกดดันพันธมิตรจีนอย่างเกาหลีเหนือ ฯลฯ ไบเดนก็ยังต้องการความร่วมมือกับจีนในการเป็นทูตให้เข้าไปกดดันเกาหลีเหนืออยู่ดี จึงอาจกล่าวได้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ และจีนก็ยังตัดกันไม่ขาดและมีแนวโน้มน่าจะดีขึ้นหลังทรัมป์ลงจากตำแหน่งผ่านการทูตแบบพหุภาคีต่อไป
- Joe Biden หรือ Donald Trump ใครชนะเลือกตั้ง จะส่งผลดีต่อเอเชียมากกว่ากัน?
- ไบเดน ชูนโยบาย Made in all of America และ Buy American สานประโยชน์ทุกกลุ่ม ทุกสีผิว
ที่มา – Nikkei Asia (1), (2), FT, JHU
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา