อดีต CEO ของสายการบินราคาประหยัดอย่างนกแอร์ ได้ออกหนังสือชีวประวัติของเขา และได้เล่าครั้งแรกถึงความผิดพลาดครั้งใหญ่ของสายการบินรายนี้คือการพูดคุยกับ CEO ของ Lion Air จากอินโดนีเซีย
พาที สารสิน อดีต CEO ของสายการบินนกแอร์ ซึ่งปัจจุบันเขาเองได้เป็น CEO และผู้ก่อตั้ง เรียลลี เรียลลี คูล (Really Really Cool) บริษัทตัวแทนท่องเที่ยวออนไลน์ ได้เปิดตัวหนังสืออัตชีวประวัติที่บอกเล่าถึงความท้าทายและวิกฤตการณ์ที่เขาเผชิญในการบริหารนกแอร์ในช่วงที่ผ่านมาในสมัยที่ตัวเขาเองได้เป็นผู้บริหารสายการบินแห่งนี้ในหนังสือที่ชื่อว่า “Smiling Through Turbulence”
- รู้จัก Really Really Cool เอเยนซี่ท่องเที่ยว บทบาทใหม่ของ “พาที สารสิน”
- นกแอร์ประกาศแต่งตั้ง “วุฒิภูมิ จุฬางกูร” นั่งเก้าอี้ CEO
- ผ่ายุทธศาสตร์ฟื้นธุรกิจ “นกแอร์” ความท้าทายครั้งใหญ่ของ “ปิยะ ยอดมณี”
อดีต CEO ของสายการบินนกแอร์ได้เล่าถึงความล้มเหลวของนกแอร์ว่ามีความเกี่ยวข้องกับไลอ้อนแอร์ (Lion Air) สายการบินราคาประหยัดอีกรายจากประเทศอินโดนีเซีย เขาเองได้กล่าวว่า “หนึ่งในความผิดพลาดที่ยิ่งใหญ่
พาที ยังได้กล่าวเสริมว่า “เรารู้กันมานานแล้วว่า Lion Air ต้องการที่จะตั้งสายการบินในประเทศไทย และเราคิดว่าหาก Lion Air จะเข้ามาสู่ตลาดเต็มตัว เราควรเริ่มพูดคุยกับพวกเขาเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของการเป็นพันธมิตร แต่การพูดคุยกับ Lion Air กลายเป็นบทพิสูจน์ความผิดพลาดครั้งใหญ่”
“แทนที่จะเป็นพันธมิตรกับนกแอร์ ท้ายที่สุด Lion Air ได้ก่อตั้ง Thai Lion Air เข้ามาในไทยและจุดประกายสงครามราคา Lion Air เข้าสู่ตลาดไทยไม่ใช่เพื่อแข่งขันกับนกแอร์แต่เพื่อแข่งขันกับ AirAsia รุสดีและโทนี่ เฟอร์นานเดส ผู้บริหารของ AirAsia เป็นคู่แข่งกัน แต่ที่น่าเศร้าคือนกแอร์กลายเป็นฝ่ายได้รับความเสียหายจากการต่อสู้เพื่อครองตลาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระหว่างกลุ่ม AirAsia และกลุ่มไลอ้อนแอร์” พาทีได้กล่าวทิ้งท้ายถึงเรื่องนี้
นอกจากนี้ในหนังสือ Smiling Through Turbulence ยังได้เล่าถึงเหตุการณ์อื่นๆ ที่น่าสนใจ เช่น
- การประท้วงทางการเมืองในประเทศไทยปีพ.ศ. 2549 ที่ทำให้สนามบินนานาชาติทั้ง 2 แห่งในกรุงเทพฯ ปิดให้บริการ
- เหตุการณ์น้ำท่วมในปีพ.ศ. 2554 ที่ท่วมพื้นที่หลายแห่งในกรุงเทพฯ ทำให้นกแอร์ต้องย้ายฐานบินจากสนามบินนานาชาติดอนเมือง ไปยังสนามบินสุวรรณภูมิ
- การล่มของระบบไอทีที่เกิดขึ้นกับนกแอร์ในปีพ.ศ. 2558 เมื่อระบบการจองล้มเหลวทำให้เกิดความล่าช้าในการเช็กอิน และเกิดความไม่สงบที่อาคารผู้โดยสารขาออกของสนามบิน
- การประท้วงของนักบินนกแอร์ปีพ.ศ. 2559
ปัจจุบันสายการบินนกแอร์กำลังอยู่ในการแก้ปัญหาสภาวะที่สายการบินได้ขาดทุนเรื้อรังมาเป็นระยะเวลายาวนาน ที่ผ่านมานั้นสายการบินได้เพิ่มทุนไปแล้วถึง 3 รอบ และได้แก้ปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น โดยงบ 9 เดือนของนกแอร์ล่าสุดนั้นขาดทุนอยู่ 1,615.3 ล้านบาท
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา