Brand Inside รวบรวมมุมมองหลังจากที่ ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2563 มีสิทธิ์ที่จะล่าช้าจากการส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยในกรณีเสียบบัตรแทนกัน
หลังจากที่มีการเปิดเผยว่ามีการเสียบบัตรแทนกันในการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2563 และส่งผลทำให้ ชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่าจะมีการลงนามในหนังสือส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ซึ่งอาจส่งผลทำให้พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายปี 2563 ล่าช้าออกไปอีก
- SCB EIC ปรับลด GDP ไทยปีนี้เหลือ 2.7% คาดส่งออกโตเพียงแค่ 0.2% เท่านั้น
- ม. หอการค้าไทยเผย ดัชนีความเชื่อมั่นลดลง ต่ำสุดในรอบ 68 เดือน ไม่เห็นสัญญาณฟื้นตัว
- Credit Suisse มองปีหน้าหุ้นไทยเหนื่อย กำไรเติบโตรองบ๊วยในเอเชีย
มุมมองล่าสุดของบริษัทหลักทรัพย์และสถาบันการเงินจากต่างประเทศเกี่ยวกับ พ.ร.บ.งบประมาณ
- บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส มองว่า อย่างไรก็ตามยิ่งงบประมาณล่าช้าเท่าใด คาดกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจมากเท่านั้น และมีความเสี่ยงเรื่องที่อาจเกิด Government Shutdown คาดว่ากระทบต่อการเบิกจ่ายงบลงทุนปี 2563 วงเงิน 6.6 แสนล้านบาท ซึ่งกระทบต่อการเดินหน้าโครงการลงทุนขนาดใหญ่ นอกจากนี้ยังอาจมีการปรับ GDP ของไทยลดลงได้อีก
- บริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ มองว่า ในขณะที่ร่างงบประมาณที่คาดว่าจะล่าช้าไปอย่างน้อย 1 เดือนยังไม่มีมาตรการออกมาชัดเจน ส่งผลทำให้ภาคการบริโภคในประเทศโดนกดดัน และทำให้หุ้นไทยเหลือกลุ่มที่น่าสนใจเพียงแค่กลุ่มโรงพยาบาลและหุ้นที่ได้ประโยชน์จากเศรษฐกิจขาลง
- บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า มองว่า ร่างงบประมาณที่ล่าช้าจะกดดันด้านจิตวิทยาต่อหุ้นรับเหมาก่อสร้าง กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม แต่คาดว่ารัฐบาลยังมีทางออกด้วย พ.ร.ก. เงินกู้ แทน
- บริษัทหลักทรัพย์ คันทรี่ กรุ๊ป มองว่า สิ่งที่เกิดขึ้นส่งผลให้หุ้นกลุ่มรับเหมา รวมไปถึงกลุ่มเสาเข็ม ได้รับผลกระทบ
- Credit Suisse มองว่า GDP ของไทยในไตรมาส 1 จะได้รับผลกระทบจากเรื่องงบประมาณล่าช้าอย่างมีนัยยะสำคัญ นอกจากนี้สถาบันการเงินจากสวิตเซอร์แลนด์คาดว่าจะมีการพิจารณาจากศาลรัฐธรรมนูญในเร็วๆ นี้
- ING มีมุมมองว่า การที่งบประมาณออกมาล่าช้า ยิ่งส่งผลต่อเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะการเติบโตของเศรษฐกิจไทย ส่งผลทำให้การประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินอาจต้องใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากกว่าเดิมในปีนี้
ขณะที่ วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวว่า รัฐบาลได้เตรียมหาทางออกไว้แล้วประมาณ 5-6 แนวทาง แต่ยังขอไม่เปิดเผยว่าเป็นช่องทางใด
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา