ฉาวอีกรอบ บริษัทลูก Mitsubishi Materials ปลอมค่าความแข็งแรงของวัสดุ

หลังจากมีเรื่องอื้อฉาวของ Kobe Steel ไปเมื่อเดือนที่ผ่านมา มาถึงตอนนี้บริษัทผลิตวัสดุอย่าง Mitsubishi Materials ก็กำลังจะมีข่าวฉาวอีกรอบซ้ำรอยกับ Kobe Steel ซึ่งส่งผลกระทบกับมุมมองของบริษัทญี่ปุ่นเอง

Bloomberg ได้รายงานว่าบริษัทลูกของ Mitsubishi Materials ถึง 3 บริษัท ได้รายงานว่ามีการปลอมค่าความแข็งแรงของวัสดุ โดยรายงานข่าวได้ให้รายละเอียดไว้ดังนี้

  • Mitsubishi Cable Industries ได้ปลอมรายงานค่าความแข็งแรงของยางหุ้มสายเคเบิล ตั้งแต่ปี 2015
  • Mitsubishi Shindoh ปลอมรายงานความแข็งแรงอะไหล่รถยนต์
  • Mitsubishi Aluminum ยังไม่มีรายงานออกมา

ซึ่งการปลอมรายงานค่าความแข็งแรงของวัสดุในครั้งนี้อาจมีผลกระทบในมุมมองของบุคคลภายนอกเกี่ยวกับอุตสาหกรรมในประเทศญี่ปุ่น มากกว่าครั้งของ Kobe Steel ได้ปลอมค่าความแข็งแรงของทองแดงและอลูมิเนียมด้วยซ้ำ

ผลกระทบมีมากแค่ไหน

โดย Mitsubishi Cable Industries นั้นรายงานว่าได้ส่งสายเคเบิลให้แก่ลูกค้าถึง 229 รายด้วยกัน โดยที่ 40 ราย บริษัทได้รายงานว่ามีโอกาสที่ส่งผลิตภัณฑ์ต่ำกว่ามาตรฐานให้กับลูกค้า ส่วนทางด้านของ Mitsubishi Shindoh นั้นมีลูกค้าที่ทางบริษัทได้ส่งอะไหล่รถยนต์ 29 ราย ซึ่ง 14 รายนั้นบริษัทออกมายอมรับว่าอาจได้อะไหล่รถยนต์ที่ต่ำกว่ามาตรฐาน ส่วนรายสุดท้าย Mitsubishi Aluminum นั้นถึงแม้จะยังไม่มีข่าวรายงานออกมา แต่ทาง Mitsubishi Materials ไม่ได้รายงานว่ามีจำนวนลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากกรณีนี้กี่ราย แต่ได้แค่บอกว่าลูกค้านั้นปลอดภัยแน่นอน

ผู้ผลิตเครื่องบินอย่าง Airbus นั้นได้รายงานว่าบริษัทไม่ได้ใช้ผลิตภัณฑ์จาก 3 บริษัทนี้โดยตรง แต่กำลังตรวจสอบว่ามีซัพพลายเออร์รายใดบ้างที่ใช้ผลิตภัณฑ์จาก 3 บริษัทนี้ ส่วนทางด้านคู่แข่งอย่าง Boeing นั้นได้รายงานว่ากำลังตรวจสอบในเรื่องนี้อยู่

แรงกดดันจากวัสดุภัณฑ์จากประเทศจีน

โดยปัญหาการปลอมแปลงค่าความแข็งแรงของวัสดุนั้น ส่วนหนึ่งมาจากแรงกกดดันจากวัสดุในประเทศจีนนั้นมีราคาถูกกว่า ซึ่งด้วยราคาที่ถูกนั้นอาจเชื้อเชิญให้บริษัทลูกค้านั้นใช้วัสดุจากประเทศจีนมากกว่าญี่ปุ่นเอง จึงทำให้บริษัทที่ทำวัสดุภัณฑ์อย่าง Kobe Steel หรีอแม้แต่ Mitsubishi Materials เองนั้นต้องปลอมแปลงค่าความแข็งแรง เพราะว่าบริษัทเองก็ต้องควบคุมค่าใช้จ่ายในเรื่องของการผลิต และปัญหาในเรื่องนี้ย่อมกดดันมุมมองของบริษัทที่เป็นลูกค้าของบริษัทอุตสาหกรรมในประเทศญี่ปุ่นแน่นอนว่าจะมีทางออกกับเรื่องนี้อย่างไร

ที่มาBloomberg, Financial Times, Nikkei Asian Review

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

mm
Content Writer ที่สนใจในเรื่องของตลาดทุนทั้งในและต่างประเทศ กลุ่ม TMT (Technology, Media, Telecom) การควบรวมกิจการ (M&A) นโยบายทางเศรษฐกิจของไทยและต่างประเทศ รวมถึงสิ่งละอันพันละน้อยทางธุรกิจที่น่าสนใจ