คนรุ่นใหม่ญี่ปุ่นบอก..จบแล้วชีวิตแบบนอนน้อย แต่นอนนะ ไม่ค่อยมีเวลาพัก เงินเดือนสูงๆ พร้อมความฝันอันยิ่งใหญ่และจบลงด้วย Karoshi syndrome หรือ เสียชีวิตจากกทำงานหนัก หรือทำงานหนักจนตาย
เอาเข้าจริงการทุ่มเท เสียสละ ทำงานอย่างหนัก จนต้องแลกกับชีวิตกลายเป็นวัฒนธรรมการทำงานของญี่ปุ่นมาช้านาน แต่ตอนนี้กำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่ คนรุ่นใหม่ญี่ปุ่นเริ่มเห็นแล้วว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับสไตล์การทำงานของประเทศที่ตัวเองเกิดและเติบโตนั้นมันมากเกินไป
Taksahi Sakamoto นักวิเคราะห์จาก Recruit Works Institute เผยว่า ชั่วโมงการทำงานในญี่ปุ่นลดลง 11.6% หรือ 1,839 ชั่วโมงในปี 2000 เป็น 1,626 ชั่วโมงในปี 2022
รายงานจาก The True Economy of Japan ที่เผยแพร่เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา พบว่า จำนวนชั่วโมงการทำงานที่ลดลงนี้ ส่วนใหญ่มาจากผู้ชายในวัย 20s ปีมากที่สุด พวกเขาทำงานเปลี่ยนไป จาก 46.4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในปี 2000 เป็น 38.1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในปี 2023
Makoto Watanabe อาจารย์ที่สอนด้านการสื่อสารและสื่อมวลชน จากมหาวิทยาลัย Hokkaido Bunkyo บอก คนรุ่นใหม่เริ่มตัดสินใจว่าพวกเขาไม่ต้องการจะทำงานอุทิศตนหรือเสียสละให้กับองค์กรอีกต่อไปแล้ว จากที่รุ่นพ่อ-รุ่นแม่ต้องทำงานให้หนักขึ้น มากขึ้น เพื่อจะได้ผลตอบแทนที่มากขึ้นในยุค 1970-80 ที่เศรษฐกิจโตเร็วและทุกคนต้องทำงานให้มากขึ้น แต่คนรุ่นใหม่ยุคนี้เปลี่ยนไป เขามองว่าการทำงานหนักคือการที่พวกเขากำลังถูกขูดรีด
คนรุ่นใหม่ญี่ปุ่นพร้อมจะลาออกทุกเมื่อ หากรู้ว่าตัวเองกำลังถูกขูดรีดอยู่ และจะกระโดดไปหางานใหม่ต่อไปทันที นี่ก็คืออีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้แรงงานขาดแคลนพนักงานที่มีคุณสมบัติตรงกับความต้องการของบริษัท
แม้คนรุ่นใหม่ทำงานน้อยลง แต่ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาจะได้รับผลตอบแทนลดลง จากข้อมูลด้านค่าแรงพบว่า ค่าตอบแทนของคนวัย 20s ปีมีอัตราที่เพิ่มขึ้น 25% นับตั้งแต่ทศวรรษ 2000 เป็นต้นมา
สมาชิกจาก Japan Youth Study Group มองว่า คนรุ่นใหม่เริ่มเห็นว่าการทำชีวิตตามความฝันเริ่มกลายเป็นเรื่องบากขึ้นเรื่อยๆ พวกเขาอยากจะมีชีวิตที่มั่นคง อยากมีชีวิตที่เสถียรในทุกๆ วัน พวกเขาอยากทำงาน ได้รับค่าตอบแทนและมีชีวิตที่สะดวกสบาย ส่วนเรื่องความฝันที่เป็นความทะเยอทะยานครั้งใหญ่ในชีวิตก็อยากจะพักไว้ก่อน
วิกฤตจาก Karoshi syndrome หรือภาวะการทำงานหนักจนตายในญี่ปุ่นยังถือเป็นสถานการณ์ที่ย่ำแย่อยู่ มีคนเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายจากปีก่อนหน้าอยู่ที่ 1,935 ราย เพิ่มเป็น 2,968 รายในปี 2022
ในปี 2023 มีคนเสียชีวิต 54 รายจากการทำงานหนักและมีปัญหาสุขภาพเกิดขึ้น ทั้งโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) และอาการหัวใจวาย มีการคาดการณ์ว่าจำนวนผู้เสียชีวิตที่แท้จริงสูงกว่าตัวเลขที่รายงานมากกว่านี้
ที่มา – SCMP
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา