รู้จัก Karoshi หรือการทำงานหนักจนตายในประเทศญี่ปุ่น ที่ฝังรากลึกมานานกว่า 65 ปี

ธุรกิจต่างๆ คงชอบพนักงานที่จงรักภักดีต่อองค์กร, มาเร็วกลับช้า และไม่ใช้วันหยุดพร่ำเพรื่อ แต่รู้หรือไม่ว่านั่นคือจุดเริ่มต้นของ Karoshi หรือการทำงานหนักจนตายของพนักงานในธุรกิจของคุณอยู่

ภาพ pakutaso.com

Karoshi กับประวัติยาวนานกว่า 65 ปี

Karoshi หรือการทำงานหนักจนตาย เริ่มถูกพูดถึงมากขึ้นในปีนี้ เพราะเพิ่งพิสูจน์ได้ว่า Miwa Sano พนักงานสาววัย 31 ปี ที่ทำงานใน NHK เสียชีวิตด้วยหัวใจล้มเหลวเมื่อปี 2556 กลับมีเหตุผลมาจากเธอทำงานล่วงเวลา 159 ชม. ใน 1 เดือน รวมถึงกรณี Matsuri Takahasi พนักงานของ Dentsu ที่ฆ่าตัวตายจากเหตุผลดังกล่าวเช่นกัน

แต่จริงๆ แล้ว Karoshi นั้นมีประวัติมายาวนาน เพราะเริ่มตั้งแต่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง หรือช่วงปี 2493 (ค.ศ. 1950) ในยุคที่ Shigeru Yoshida เป็นนายกรัฐมนตรี และอย่างแรกที่เขาทำคือวางนโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจในญี่ปุ่น ผ่านการขอให้องค์กรใหญ่ๆ ยื่นข้อเสนอเรื่องความมั่นคงในการทำงาน

ภาพ pixabay.com

ในทางกลับกัน ตังธุรกิจเองก็ขอให้พนักงานเหล่านั้นตอบกลับด้วยความจงรักภักดีกับองค์กรด้วย และเรื่องนี้เองก็ช่วยให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นฟื้นตัวหลังจากแพ้งสงครามอย่างรวดเร็ว จนปัจจุบันมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของโลก แต่ความจงรักภักดีขององค์กรนั้นเอง ก็กลายเป็นวัฒนธรรมการทำงานอย่างหนักของพนักงานญี่ปุ่นถึงปัจจุบัน

Work-Life Balance ไม่มีมาตั้งแต่วันนั้น

และเมื่อความจงรักภักดีต่อองค์กรอยู่ในขั้นสุด คำว่า Work-Life Balance ในองค์กรธุรกิจญี่ปุ่นก็ไม่มีอีกต่อไป เพราะจากการสำรวจพนักงานกว่า 10,000 คนในประเทศญี่ปุ่น พบว่า 20% ทำงานล่วงเวลา 80 ชม./เดือน และกว่าครึ่งหนึ่งก็ตอบว่าไม่เคยใช้สิทธิ์วันหยุดพักผ่อนเลย

ภาพ pakutaso.com

ซึ่งหลังจากวันนั้น ก็เกิดการฆ่าตัวตาย และภาวะหัวใจล้มเหลวของคนทำงานในญี่ปุ่นมากขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงความคิดของเจ้านายที่นั่นก็ยังมองว่า คนทำงานที่ดีคือมาเช้า กลับช้า หรือไม่ก็กลับดึกไปเลย รวมถึงเรื่องนี้ก็เกิดกับผู้หญิงมาขึ้นเรื่อยๆ ด้วย จากเดิมที่ Karoshi จะเจอแค่กับพนักงานผู้ชายเป็นหลัก โดยเหตุผลหลักคือ ความจงรักภักดีต่องาน

ให้สิทธิ์ต่างๆ เพิ่ม น่าจะช่วยแก้ปัญหาได้

การปรับความคิดเจ้านายไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้นรัฐบาลญี่ปุ่นก็มีการออกนโยบาย Premium Friday หรือการให้เลิกงานวันศุกร์สุดท้ายของเดือนได้ตั้งแต่บ่าย 3 โมง แต่นั่นก็ไม่ช่วยอะไรนัก เพราะช่วยปลายเดือนคือช่วงปิดยอดขาย ทำให้บางบริษัทเลือกเลี้ยงข้าวเช้ากับผู้ที่มาทำงานเร็ว หรือไม่ก็บังคับให้พนักงานเลิกเร็วๆ บ้าง

แต่ถึงกระนั้นวัฒนธรรมที่ฝั่งรากลึกมานาน การจะแก้ไขเรื่องนี้คงต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง

อ้างอิง // Business Insider

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา