ข้อมูลจากโครงการศึกษา Thailand Digital Outlook ประจำปี 2567 พบว่า ตัวชี้วัดด้านดิจิทัลของประเทศไทยในปีนี้ดีขึ้นในหลายด้าน โดย ‘เวทางค์ พ่วงทรัพย์’ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่
– ครัวเรือนไทย 90.3% หรือราว 21.7 ล้านครัวเรือน สามารถเข้าถึง ‘อินเทอร์เน็ต’ ได้ ซึ่งเป็นสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่อยู่ในระดับ 89.5% หรือราว 21 ล้านครัวเรือน
– ประชากรไทยในช่วงอายุ 16-74 ปี จำนวน 50.1 ล้านคน หรือคิดเป็น 90.3% มีการใช้งานอินเทอร์เน็ต เพิ่มจากปีก่อนที่อยู่ในระดับ 89.5% หรือราว 49.2 ล้านคน
– ประชาชนกลุ่มเปราะบาง (คนที่มีรายได้ครัวเรือนอยู่ในช่วง 25% ที่ต่ำที่สุด) มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ 74.60% หรือราว 12.12 ล้านคน เพิ่มสูงขึ้นจากปีก่อนหน้าที่ 69.9% (11.23 ล้านคน)
– แรงงานดิจิทัลทักษะเฉพาะทางเพิ่มสูงขึ้นจาก 2.63 แสนราย เป็น 2.78 แสนราย โดยมีผู้ปฏิบัติงานเพิ่มขึ้นในอาชีพโปรแกรมเมอร์และช่างเทคนิคปฏิบัติการด้าน ICT
– นักศึกษาจบใหม่ระดับอุดมศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์มีสัดส่วน 33.26% เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าที่มีสัดส่วน 23.69%
– พฤติกรรมการใช้งานอินเทอร์เน็ตเฉลี่ยวันละ 9 ชั่วโมง 20 นาที เพิ่มจากปีก่อนหน้าที่ใช้งานเฉลี่ยวันละ 7 ชั่วโมง 25 นาที
– คนไทยส่วนใหญ่ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อ การติดต่อสื่อสาร การทำธุรกรรมทางการเงิน และการพักผ่อนและบันเทิง
– พฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการออนไลน์ของประชาชนเพิ่มสูงขึ้น โดยประชาชนส่วนใหญ่ที่ซื้อสินค้าออนไลน์จะมีการซื้ออย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง และมีมูลค่าการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากเดิม 375 บาท/ครั้ง เป็น 428 บาท/ครั้ง
– สินค้าที่เป็นที่นิยมสูงสุดสามอันดับแรกคือ เสื้อผ้า สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และหนังสือ
– ช่องทางการซื้อสินค้าออนไลน์ที่ได้รับความนิยมสูงสุด ได้แก่ E-Marketplace เช่น Shopee Lazada ซึ่งผู้ซื้อสินค้าออนไลน์นิยมใช้ช่องทางนี้สูงถึง 95.98% ตามมาด้วย Social Commerce ได้แก่ Tiktok Line Facebook อยู่ที่ 47.18%
ข่าวเกี่ยวข้อง
- ETDA เผยผลสำรวจข้าราชการไทย-จนท.รัฐ ติดอันดับ 1 ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดเมื่อเทียบกับอาชีพอื่น
- รู้หรือไม่ เด็กไทยมากกว่า 20% มีโอกาสตกเป็นเหยื่อภัยทางเพศออนไลน์ dtac Safe Internet เร่งสร้างภูมิคุ้มกัน ให้ความรู้ รับมือภัยอินเทอร์เน็ต
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา