รู้หรือไม่ เด็กไทยมากกว่า 20% มีโอกาสตกเป็นเหยื่อภัยทางเพศออนไลน์ dtac Safe Internet เร่งสร้างภูมิคุ้มกัน ให้ความรู้ รับมือภัยอินเทอร์เน็ต

หลอกจะให้เงิน เชิญเป็นดารา ชวนให้แก้ผ้า ท้าให้เปิดกล้อง

นี่คือ 4 เรื่องที่มิจฉาชีพหรือคนร้าย มักใช้หลอกลวงเด็กๆ ผ่านทางอินเทอร์เน็ต และหลายครั้งที่ผู้ปกครองอาจรู้ไม่เท่าทัน เพราะคนเหล่านี้เข้าถึงตัวเด็กผ่านทางอินเทอร์เน็ต ผ่านการเล่นเกม หรือผ่านการแชทผ่านแอปพลิเคชั่นต่างๆ

dtac

การป้องกันที่ดีที่สุด คือ การให้ความรู้ความเข้าใจ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กสามารถรับมือกับภัยที่เกิดขึ้นได้ จึงกลายเป็นที่มาของโครงการ dtac Safe Internet ที่ ดีแทค ในฐานะผู้ให้บริการโทรคมนาคม ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง

ย้อนดูสถิติ เด็กไทยมากกว่า 20% คือเหยื่อ!

จากสถิติของสำนักงานตำรวจแห่งชาติพบว่า คนร้าย 1 คน สามารถสร้างความเสียหายต่อเหยื่อที่เป็นเด็กได้ถึง 1,000 คน เด็กถึง 20% มีโอกาสตกเป็นเหยื่อจากการแสวงหาประโยชน์ทางเพศออนไลน์

และเมื่อตกเป็นเหยื่อแล้ว พบว่า 56% ของเด็กเลือกที่จะไม่บอกใคร

ดังนั้น แนวคิดเบื้องต้น คือ ต้องทำให้เด็กๆ รู้เท่าทันว่า อะไรคือการหลอกลวง และเมื่อเจอแล้ว ควรปฏิบัติตัวอย่างไร เพราะนี่ไม่ใช่เรื่องไกลตัว

dtac

สถิติการทำผิดเพิ่มมากขึ้น การระวังป้องกันจึงสำคัญ

พ.ต.อ.รุ่งเลิศ คันธจันทร์ ผู้กำกับกลุ่มงานต่อต้านการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กทางอินเทอร์เน็ต ในฐานะผู้ปฏิบัติงานในชุดปฏิบัติการปราบปรามการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กทางอินเทอร์เน็ต (TICAC) กล่าวว่า ข้อมูลจาก ศูนย์เพื่อเด็กหายและถูกฉวยผลประโยชน์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา หรือ NCMEC พบว่า ตั้งแต่ปี 2562 ประเทศไทยได้รับรายงานการตรวจพบสื่อลามกอนาจารเด็กเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ

  • ปี 2562 พบ 117,213 รายงาน
  • ปี 2563 พบ 396,049 รายงาน
  • ปี 2564 พบ 586,582 รายงาน
  • ปี 2565 พบ 523,169 รายงาน

และยังพบว่า เว็บมืดซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักในการหาแสวงผลประโยชน์ทางเพศจากเด็กในไทยยังมีการเติบโตสูงถึง 5 เท่า ซึ่งทั้งหมดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีการดำเนินการจับกุมผู้กระทำผิดได้เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน

dtac

อย่างไรก็ตาม กฎหมายไทย ถือว่า ความผิดจะเกิดขึ้นเมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้น ดังนั้นการที่ผู้ร้ายเข้ามาพูดคุย ตีสนิท ยังไม่สามารถแจ้งความเอาผิดได้

ดังนั้น หัวใจสำคัญคือ ต้องสร้างเกราะป้องกันให้กับเด็กทุกคนไปพร้อมก้นด้วย เพราะ คนร้าย 1 คน สามารถสร้างความเสียหายให้กับเหยื่อที่เป็นเด็กได้ถึง 1,000 คน เท่ากับว่าเด็กกว่า 20% มีโอกาสตกเป็นเหยื่อ และที่ผ่านมาพบว่า เมื่อเด็กตกเป็นเหยื่อแล้ว 56% ไม่บอกใคร

dtac

หากเด็กที่เจอกับเรื่องในลักษณะนี้ ขอให้ปฏิบัติตามกฎ 4 อย่า คือ

  1. อย่าลบประวัติการพูดคุย
  2. อย่าปิดสื่อโซเชียลมีเดียที่ใช้ในการติดต่อ
  3. อย่าปกปิดผู้ปกครอง
  4. อย่าอวดคนร้ายว่าแจ้งตำรวจหรือผู้ปกครองแล้ว

dtac

กทม. เร่งประสาน เดินหน้าความร่วมมือ BMA x dtac Safe Internet School Tour

ศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า โรงเรียน 437 แห่งในสังกัด กทม. ครอบคลุม 50 เขต มีนักเรียน 261,160 คน ได้ร่วมกับโครงการ dtac Safe Internet ได้ทำการอบรมความรู้ความปลอดภัยในการใช้งานอินเทอร์เน็ต เน้นไปที่นักเรียนอายุ 11-13 ปี (ป.5-6) จำนวน 50 โรงเรียน เป็นนักเรียนกว่า 10,000 คน ผ่านคาบเรียน BMA x dtac Safe Internet School Tour

จากข้อมูลพบว่า นักเรียนราว 3% เคยถูกร้องขอ ข่มขู่หรือกดดันให้ส่งรูปภาพหรือทำพฤติกรรมทางเพศทางออนไลน์ 13% เคยส่งรูปภาพ วิดีโอ หรือข้อมูลส่วนตัวให้คนแปลกหน้า และ 3% เคยได้รับภาพ ข้อความหรือวิดีโอที่มีเนื้อหาส่อไปทางเพศ โดยช่องทางที่มิจฉาชีพแฝงตัวเข้ามา ประกอบไปด้วย ช่องทางโซเชียลมีเดีย เกมส์ออนไลน์ รวมถึงแอปพลิชั่นใหม่ๆ ที่ผู้ใหญ่ยังไม่คุ้นเคย 

นี่ทำให้ การเร่งให้ความรู้ความเข้าใจกับเด็กในการรับมือกับภัยร้ายบนอินเทอร์เน็ตยิ่งต้องทำโดยด่วน

dtac

ร่วมโรงเรียนคลองทวีวัฒนา หนึ่งในโรงเรียนที่ร่วมโครงการ dtac Safe Internet

brand inside ได้มีโอกาสเข้าร่วมสังเกตการณ์ในการอบรมคาบเรียน BMA x dtac Safe Internet School Tour ที่โรงเรียนคลองทวีวัฒนา พบว่า เด็กนักเรียนให้ความสนใจกับการอบรม ซึ่งมีการพัฒนาเนื้อหาให้สนุกสนาน เข้าถึงได้ง่ายผ่านกิจกรรมสันทนาการไปพร้อมกับความรู้ที่ได้รับ เมื่อต้องการอาสาสมัครมาร่วมทำกิจกรรม เด็กนักเรียนจะให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

นี่เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่า การพัฒนาโครงการให้เหมาะสมกับเด็กในแต่ละวัย มีกิจกรรมสันทนาการที่สนุกสนาน ช่วยทำให้เด็กอยากมีส่วนร่วมและได้สนุกไปพร้อมกับการเรียนรู้

dtac

อรอุมา ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์ ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานสื่อสารองค์กรและความยั่งยืน ของดีแทค บอกว่า ดีแทค ร่วมกับ กทม. จัดทำหลักสูตรและกิจกรรมส่งเสริมการตระหนักรู้ในเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศทั้งรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ที่มีมูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทยให้ความร่วมมือและริเริ่มในการหยุดยั้งภัยดังกล่าว 

การที่นักเรียนกลุ่มเป้าหมายคือ เด็กอายุ 11-13 ปี ชั้น ป.5-6 เนื่องจากเป็นเด็กกลุ่มเป้าหมายของผู้ร้าย เนื่องจากเป็นเด็กที่มีอิสรภาพในการใช้งานอินเทอร์เน็ต เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย เท่ากับเป็นกลุ่มเสี่ยงสูง แต่ก็เป็นเด็กที่มีศักยภาพที่จะรับมือกับเหตุร้ายประเภทนี้ได้แล้ว และจะเป็นกำลังสำคัญในการกระจายความรู้นี้ให้กับผู้ปกครอง เด็กนักเรียนที่อายุน้อยกว่าได้อีกด้วย

ในขณะที่แนวทางของดีแทค ในปี 2566 ต้องการขยายโครงการ dtac Safe Internet เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องนี้ครอบคลุมไปถึงโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ

dtac

dtac

dtac

dtac

dtac

dtac

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา