Bangkok Airways ตั้งเป้า ทำรายได้ 1.7 หมื่นล้านบาท
พุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ระบุว่า ผู้โดยสารเริ่มกลับมาดีขึ้นหลังโควิดระบาด นับตั้งแต่ปี 2021 ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ในโซนเอเชียแปซิฟิกเป็นพื้นที่มีการคาดการณ์ว่าจะโตเร็วที่สุด จากนี้ไปจนถึงปี 2040 ผู้โดยสารน่าจะโตขึ้นถึงกว่า 2,000 ล้านคน
ขณะที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ตั้งเป้ารายได้ไว้ว่าน่าจะได้ 3.5 แสนล้าน โดย Top 5 นักท่องเที่ยวจากต่างประเทศคือจีน มาเลเซีย เกาหลี รัสเซีย อินเดีย ที่ส่งผลกับ Bangkok Airways จริงๆ น่าจะเป็น จีน เกาหลี รัสเซีย อินเดีย ซึ่งมีภาครัฐมีแนวทางในการส่งเสริมการท่องเที่ยว เป็น 1 ในเป้าหมายหลักของไทย มีมาตรการต่างๆ เช่น ฟรีวีซ่า การส่งเสริมเรื่องเที่ยวเมืองรอง หรือการพยายามจัดให้มีเทศกาลหรืออีเวนท์ต่างๆ เรื่อยๆ เช่น สงกรานต์ 21 วัน สุดท้ายก็คือการพยายามให้เป็น Aviation Hub ซึ่งน่าจะส่งผลต่อไทยอย่างมาก
ในส่วนของ Bangkok Airways ผู้โดยสารต่างชาติที่เข้ามาเดินทาง นักท่องเที่ยวต่างชาติ EU เป็นเทรนด์ที่เข้ามาตั้งแต่ต้นปี เป็นไปตามวัฏจักรของปี นอกจากนี้การเดินทางของประเทศในเอเชีย ออสเตรเลีย ซึ่งไม่รวมมาเลเซีย ในเอเชียมีการเติบโตสูงกว่า ผู้โดยสารของเราสอดคล้องกับผู้โดยสารยุโรปเสียส่วนใหญ่ รายได้ที่เราได้มาส่วนใหญ่มาจาก International เป็นส่วนใหญ่
เรายังกลับไปไม่ถึงปี 2019 ทั้งจำนวนผู้โดยสาร จำนวนเที่ยวบิน ในส่วนของสนามบิน สมุย สุโขทัย หรือตราด ผู้โดยสารโตขึ้น เช่นเดียวกับเที่ยวบิน
เป้าที่วางไว้สำหรับปี 2024
เรามีการรับจองล่วงหน้า เส้นทางทั่วไป สมุยเป็นเส้นทางที่มีการเติบโต มีการจองเยอะ ประมาณ 63% ในภาพรวมเรามีการจองล่วงหน้าของปีนี้ ดีกว่าปี 2023 เป็น 14% ทำให้เห็นว่าการจองปีนี้ได้รับความนิยมดีกว่าปีที่แล้ว
เส้นทางบิน เรามี 20 จุด ในประเทศ 12 จุด (กรุงเทพฯ สุวรรณภูมิและดอนเมือง, เกาะสมุย, เชียงใหม่, ภูเก็ต, กระบี่, ตราด, ลำปาง, แม่ฮ่องสอน, สุโขทัย, หาดใหญ่, อู่ตะเภา) ต่างประเทศ 8 จุด (มัลดีฟส์, สิงคโปร์, เสียมเรียบ, พนมเปญ, หลวงพระบาง, ฮ่องกง, เฉิงตู, ฉงชิ่ง) มีเส้นทางบิน 25 เส้น 17 เส้นทางในประเทศ และ 8 เส้นทางต่างประเทศ เส้นทางใหม่ที่เพิ่งกลับมาคือเฉิงตูกับฉงชิ่ง
พันธมิตรในภาพรวม Interline Partners กว่า 70 สายการบิน, สายการบินพันธทิตร (Codeshare Partners) 28 สายการบิน
แนวทางของบริษัท
บริษัทยึดหลัก ESG ซึ่งกำลังเป็นเทรนด์ เป็นแนวทางของโลกที่ต้องดูแลสิ่งแวดล้อม สังคม ธรรมาภิบาล เราเอามาใส่ในแนวทางปฏิบัติที่จะดูแลพนักงาน ลูกค้า และผู้ที่เกี่ยวข้อง เรามีแคมเปญด้านสิ่งแวดล้ม Low Carbon Skies by Bangkok Airways เราจะไปดูแลเรื่อง Waste Management เช่น โครงการใชน้ำมันอากาศยานอย่างมีประสิทธิภาพ การประเมินคาร์บอนฟุตพรินท์ขององค์กร การจัดของเสียและเพิ่มมูลค่า
รวมถึงการดูแลคู่ค้า ผู้ที่อยู่ร่วมกับเราในชุมชน ดูแลว่าจะช่วยเหลืออย่างไรได้บ้าง และการใช้ Sustainable Aviation Fuel ต้องไปดูว่าซัพพลายเออร์จะดูแลจัดการอย่างไร ภาครัฐจะซัพพอร์ทอย่างไร ซึ่งน้ำมันนี้จะแพงกว่าปกติ 3 เท่า ซึ่งเป็นเทรนด์ของโลกที่เราจะต้องมาดูว่าจะปรับใช้อย่างไรได้บ้าง
ในส่วนของสังคม เราไปสนับสนุนชุมชน เช่น กลุ่มงานอาชีพ การเอาเปลือกหอยนางรมมาเป็นเครื่องปั้น เป็นของที่ใช้ได้ การจัดงานให้โรงเรียนหรือเด็กในบริเวณใกล้เคียง และให้คนพิการมาร่วมทำงานกับเราด้วย ส่วนของธรรมาภิบาลจะส่งมอบประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้โดยสาร รวมทั้งการรักษาระดับมาตรฐานการกำกับดูแลกิจการ
แคมเปญ Low Carbon Sky by Bangkok Airways ปลายปีที่แล้ว ผลตอบรับดี ส่วนใหญ่ลูกค้าคือนักท่องที่ยวต่างชาติ และยังมีรายได้จากกิจกรรมธุรกิจอื่นๆ ด้วย รวมทั้งเงินปันผลจากการลงทุนด้วย คาดว่ารายได้น่าจะโตขึ้น ซึ่งได้มากได้น้อยขึ้นอยู่กับว่าจะควบคุมต้นทุนได้เพียงใด
เครื่องบินปัจจุบัน เราได้เครื่องบินทุกลำกลับมาบินครบไม่มีจอด เพิ่งจะสิ้นปีที่แล้ว พาร์ทเนอร์ที่คาดหวังไว้น่าจะส่งเสริมได้ดีขึ้น ปีที่แล้วเป้า 1.5 หมื่นล้านบาท ปีนี้ตั้งเป้าที่ 1.7 หมื่นล้านบาท ถือว่าท้าทาย
ปัจจุบัน ราคาน้ำมันค่อนข้างสูง เราพยายามดูแลว่าขายบัตรโดยสารคุ้มต้นทุนที่สูงขึ้น ทั้งซัพพลายเชน ทั้งอะไหล่เครื่องบินก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน ต้นทุนหลักไม่ใช่แค่ค่าน้ำมันแต่มีค่าซ่อมบำรุง ค่าเช่าเครื่องที่เกี่ยวข้องด้วย การรบกันของรัสเซีย ยูเครน ทุกคนได้รับผลกระทบหมด ถ้าปีที่แล้วไม่ได้กระทบจนเศรษฐกิจภาวะถดถอย นักท่องเที่ยวยุโรปน่าจะเที่ยวเยอะกว่านี้
อนวัช ลีละวัฒน์วัฒนา รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่อาวุโสสายงานการเงินและบัญชี ระบุว่า ผลประกอบการในกลุ่ม นอกจากทำสายการบินและสนามบินแล้ว ยังมีกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสนามบิน เรามีสัมปทาน 3 กิจกรรม ครัวการบิน, บริการภาคพื้นดิน ขนส่งกระเป๋า ทำความสะอาดเครื่อง และคลังสินค้าระหว่างประเทศ
ด้านครัวการบิน
มีพัฒนาการดีขึ้น จำนวนลูกค้าที่ได้ มีสายการบินที่เป็นลูกค้า 23 สายการบิน ถ้าเทียบกับปี 2019 น้อยกว่า 3 สายการบิน จำนวนอาหารที่เอาขึ้นเครื่อง 6 ล้านมื้อ น้อยกว่าปี 2019 ประมาณ 10% รายได้ประมาณ 80% เรามี Market share เป็นอันดับ 2
ด้านบริการภาคพื้นดิน
มีลูกค้า 90 สายการบิน เพิ่มขึ้นจากปี 2019 ประมาณ 10 สายการบิน 60,000 กว่าเที่ยวบินที่ให้บริการ ประมาณ 80% เทียบกับ 2019 ปีที่แล้ว
ด้านคลังสินค้า
ร่วมกับพาร์ทเนอร์แบบร่วมทุน ปีที่แล้ว สายการบินที่เป็นลูกค้าเพิ่มขึ้น 11 สายการบิน ถ้าเทียบกับปี 2019 เรามีความพร้อมในหลายเรื่อง จำนวนน้ำหนักที่ให้บริการ ธุรกิจด้านอาคารคลังสินค้าระหว่างประเทศเป็นที่นิยมและมีการส่งของมากขึ้น
Bangkok Airways ทุก 1 กิโลเมตร มีต้นทุน 5.14 บาท ต้นทุนหลักคือ ค่าน้ำมัน ค่าซ่อมบริการ ค่าพนักงาน ค่าบริการลูกค้า มีรายได้ต่อหน่วยจากการผลิตด้านผู้โดยสารอยู่ที่ 5.41 บาท โดยกำไรจากการดำเนินงานของบริษัทฯ ก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) ปีที่แล้ว เราได้ประมาณ 4.7 พันล้านบาท กำไรสุทธิ 3.1 พันล้านบาท อัตราส่วนหนี้สินลดอยู่ที่ 2.4 เท่า
สำหรับโครงการอู่ตะเภา ไม่ได้หยุดนิ่งเลย ขึ้นอยู่กับภาครัฐด้วย ยังเหลือการดำเนินการจากภาครัฐอยู่บ้าง คุยกับรัฐว่าให้เปิดพื้นที่เพื่อไปเตรียมงานก่อนจะได้ประหยัดเวลาได้บ้าง รัฐก็เห็นด้วย ซึ่งก็ยังมีบางเรื่องที่ต้องทำตามเงื่อนไขสัญญาอยู่
สำหรับประเด็นกาสิโน ความเป็นไปได้ต้องดูว่าจะมีมุมมองอย่างไร ถ้าถามว่าสนใจมั้ย ถ้าเรามองว่าเป็นธุรกิจ เป็นโอกาสในการควบคุม กำกับดูแลได้ดี ก็เห็นว่าหลายประเทศเพื่อนบ้านก็มีกัน เป็นโอกาสที่ใครๆ ก็สนใจทั้งนั้น
สำหรับประเด็นรถไฟความเร็วสูง คิดว่าโครงการนี้ ต้องดูว่าแนวทางหรือวิธีการจะเกิดขึ้นอย่างไร ต้องดูต่อว่าจากนี้จะไปอย่างไรต่อ
อมรรัตน์ คงสวัสดิ์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายขายและรักษาการรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายการตลาด ระบุว่า เป้าหมายรายได้ปีนี้อยู่ที่ 1.7 หมื่นล้านบาท เป้าหมายยอดขาย จะแบ่ง ช่องทางการขายเป็นเว็บไซต์ 30% อีก 70% โดยตลาดหลักคือยุโรป ตามด้วยไทยและอาเซียน
กลยุทธ์ที่ใช้เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
Bangkok Airways ทำงานร่วมกับ OTA (Online Travel Agent) ปัจจุบันเราทำงานร่วมกับ OTA ใหญ่ๆ มันช่วยให้เรากระจายตลาดกว้างขวางขึ้นและจองง่ายขึ้น และทำงานกับ BSP Agent (Billing Settlement Plan Agent ตัวแทนที่ได้รับอนุญาตให้จำหน่ายตั๋วเครื่องบินระหว่างประเทศ) ซึ่งตลาดต่างประเทศเป็นช่องทางที่เขายังใช้อยู่ รายได้เราก็น่าจะเพิ่มขึ้นด้วย
นอกจากนี้ เราก็มี Airline Partner ใหญ่ เรามีครอบคลุม ทั้งเรื่อง Direct connect channel หรือ Aggregators คือกลุ่มธุรกิจที่พัฒนาการจองเพื่อเชื่อมต่อสายการบินโดยตรง ไม่ต้องผ่านบุคคลที่สาม โดยเราทำการขายผ่าน GSA Office (GSA General Sales Agents ตัวแทนขายสำหรับสายการบิน) เพราะมีลูกค้าจากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ เราไม่สามารถทำสำนักงานขายได้ทั่วโลก จึงต้องแต่งตั้งสำนักงาน GSA ปัจจุบันมี 26 แห่งทั่วโลก กำลังเสาะหาอีก 2 ออฟฟิศ คือซาอุดิอาระเบียและตุรกี
การขายผ่านโซเชียลมีเดีย ทั้ง LINE OA (LINE Official Account), TikTok เรามีแผนที่จะพัฒนาให้ผ่านโซเชียลมีเดียได้อย่างง่ายดาย
ภายใต้คอนเซ็ปต์ Redefine boutique experience โดยมีญาญ่า อุรัสยา เสปอร์บันด์ เป็นพรีเซนเตอร์ เราพยายามชู Full service airline มีห้องรับรอง มีอาหารบนเครื่อง มีสัมภาระ 20 กก. ให้จองที่นั่งได้ โดยไม่ต้องเสียเงิน มีกิจกรรมที่ดีด้วย เช่น เลาจน์ เราจะมีกิจกรรม Pop up เลาจน์ขึ้นมา ใช้ผลิตภัณฑ์จากชุมชนเพื่อให้เติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืน กิจกรรมที่มีก่อนหน้าคืองานวิ่ง Bangkok Airways Boutique Series 2024 ที่สมุย เชียงใหม่ และสุโขทัย ปีนี้จะมีการดีไซน์เสื้อวิ่งจากหมูอาซาวา แต่ละสนามจะมีศิลปินดาราเข้าร่วมกิจกรรม นอกจากนั้นก็มีการร่วมทำการตลาดร่วมกับพาร์ทเนอร์ ทำบัตรเครดิตกับธนาคาร ห้างสรรพสินค้าชั้นนำ
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา