คนไทยมีความสุขน้อยลง ระดับความสุขตกต่ำที่สุดนับตั้งแต่หลังรัฐประหารปี 2014

World Happiness Report ทำรายงานเช็คความสุขของผู้คนทั่วโลกมาเป็นเวลาครบ 10 ปีเต็มแล้ว ทำตั้งแต่ปี 2013 จนถึงปี 2022 เรามาดูกันบ้างว่า ประเทศไทยที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้นำประเทศนับตั้งแต่ทำการรัฐประหารเมื่อ 22 พฤษภาคม 2014 ที่ผ่านมา จวบจนปัจจุบันหลังแก้รัฐธรรมนูญ มี ส.ว. ที่มาจากการแต่งตั้ง 250 คน พลเอกประยุทธ์ยังคงเป็นนายกรัฐมนตรีของไทยอยู่

Thai Happiness Report

ภายใต้ผู้นำหน้าเดิม คนเดิม ที่อยู่คู่คนไทยมาจะครบ 8 ปีแล้ว ตั้งแต่อยู่ในตำแหน่งมาผู้นำคนนี้ได้คืนความสุขให้คนไทยจริงหรือไม่? คนไทยมีความสุขมากขึ้นหรือน้อยลงเพียงใด??

จากการรายงาน World Happiness Report ที่จัดทำโดย United Nations Sustainable Development Solutions Network พบว่า นับตั้งแต่หลังรัฐประหารจนกระทั่งปัจจุบันปี 2022 ระดับความสุขของคนไทยลดต่ำลงที่สุด ตกจากอันดับ 36 สู่อันดับ 61 ของโลก (อันดับยิ่งน้อย ยิ่งมีความสุขมาก ตัวอย่างเช่น ประเทศฟินแลนด์ที่มีความสุขที่สุดอันดับ 1 ของโลกติดต่อกัน 5 ปีซ้อน)

การจัดอันดับความสุขมีหลายปัจจัยที่นำมาประเมิน เพื่อวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงระดับความสุขของคนในประเทศนั้นๆ ประกอบด้วย รายได้ต่อหัวของประชากร (GDP per capita) แรงสนับสนุนจากสังคม (Social support) อายุคาดเฉลี่ยของการมีสุขภาพดีตั้งแต่แรกเกิด (Healthy life expectancy at birth) เสรีภาพในการเลือกดำเนินชีวิต (Freedom to make life choices) ความเอื้ออาทรต่อกันในสังคม (Generosity) มุมมองหรือการรับรู้ที่มีต่อการคอรัปชั่นในสังคม (Perceptions of corruption)

ผลสำรวจจาก The Gallup World Poll นี้ใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,000 คน สุ่มสอบถามเพื่อใช้ข้อมูลทำรายงานและให้คะแนนตั้งแต่ 10 คะแนนที่หมายความว่าดีที่สุดไปจนถึง 0 คะแนนที่หมายความว่าแย่ที่สุด ทำเช่นนี้ทุกปีกับทุกประเทศที่ทำข้อมูลและนำค่าเฉลี่ยมาเป็นภาพตัวแทนระดับความสุขของแต่ละประเทศ โดยให้คะแนนเฉลี่ยราย 3 ปี โดยวัดผลจากผลกระทบที่มาจากความรู้สึกเชิงบวกคือการคิดจากค่าเฉลี่ยของผู้คนที่มีความรู้สึกหัวเราะ สนุกและได้เรียนรู้หรือได้ทำในสิ่งที่น่าสนใจ ขณะที่ผลกระทบที่มาจากความรู้สึกเชิงลบคือค่าเฉลี่ยจากคนที่มีความรู้สึกกังวล เศร้าใจและโกรธแค้น

อันดับ
ประเทศ
อันดับความสุขของกลุ่มประเทศอาเซียนในระดับโลก
อาเซียน 2022 2021 2020 2019 2018 2017 2016 2015 2013
1 สิงคโปร์ 27 32 31 34 34 26 22 24 30
2 ฟิลิปปินส์ 60 61 52 69 71 72 82 90 92
3 ไทย 61 54 54 52 46 32 33 34 36
4 มาเลเซีย 70 81 82 80 35 42 47 61 56
5 เวียดนาม 77 79 83 94 95 94 96 75 63
6 อินโดนีเซีย 87 82 84 92 96 81 79 74 76
7 ลาว 95 100 104 105 110 0 102 99 109
8 กัมพูชา 114 114 106 109 120 129 140 145 140
9 เมียนมา 126 126 133 131 130 114 119 129 121
จำนวนประเทศแต่ละปี 146 149 153 156 156 155 157 158 156

 

สิงคโปร์ มีระดับความสุขย้อนหลัง 10 ปี บวกลบไม่เคยเกิน 10 ระดับ ระดับความสุขของสิงคโปร์ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงมากนัก นับจากช่วงปีแรกๆ ที่มีการเก็บข้อมูล (มีจำนวนประชากร 5.6 ล้านคน)

  • ปี 2022 สิงคโปร์เป็นประเทศที่ประชาชนมีความสุขติดอันดับ 1 ของอาเซียน อันดับที่ 27 ของโลก
  • ปี 2021 อันดับ 32 ของโลก
  • ปี 2020 อันดับ 31 ของโลก
  • ปี 2019 อันดับ 34 ของโลก
  • ปี 2018 อันดับ 34 ของโลก
  • ปี 2017 อันดับ 26 ของโลก
  • ปี 2016 อันดับ 22 ของโลก
  • ปี 2015 อันดับ 24 ของโลก
  • ปี 2013 อันดับ 30 ของโลก

Singapore

ฟิลิปปินส์ ระดับความสุขของฟิลิปปินส์ถือว่าดีขึ้นมากจากช่วงแรกๆ ในปี 2013 อยู่ระดับที่ 92 ของโลกและสามารถเลื่อนระดับมาอยู่ที่อันดับ 60 ของโลกในปีปัจจุบันได้ ถือว่ามีพัฒนาการที่ดีขึ้นมาก (ฟิลิปปินส์มีจำนวนประชากร 109.6 ล้านคน)

  • ปี 2022 เป็นประเทศที่มีความสุขติดอันดับ 60 ของโลก ติดอันดับ 2 ของอาเซียน
  • ปี 2021 อันดับ 61 ของโลก
  • ปี 2020 อันดับ 52 ของโลก
  • ปี 2019 อันดับ 69 ของโลก
  • ปี 2018 อันดับ 71 ของโลก
  • ปี 2017 อันดับ 72 ของโลก
  • ปี 2016 อันดับ 82 ของโลก
  • ปี 2015 อันดับ 90 ของโลก
  • ปี 2013 อันดับ 92 ของโลก

Philippines

ไทย ระดับความสุขตกต่ำที่สุดนับตั้งแต่รัฐประหารจนถึงปัจจุบัน ถ้าเทียบไทยในระดับโลก ระดับความสุขของคนไทยอยู่อันดับที่ 61 ของโลก ถ้าเทียบกับระดับอาเซียน ระดับความสุขของคนไทยอยู่อันดับที่ 3 ตามหลังฟิลิปปินส์และสิงคโปร์ จากช่วงแรกๆ ที่มีการเก็บข้อมูลไทยมีระดับความสุขอยู่ที่ 36 ของโลกเท่านั้น ผ่านไปสิบปีถือว่ามีพัฒนาการทางความสุขลดลงค่อนข้างมาก ลดระดับจาก 36 มาสู่ 61 ได้ (มีจำนวนประชากร 69.8 ล้านคน)

  • ปี 2022 อันดับ 61 ของโลก
  • ปี 2021 อันดับ 54 ของโลก
  • ปี 2020 อันดับ 54 ของโลก
  • ปี 2019 อันดับ 52 ของโลก
  • ปี 2018 อันดับ 46 ของโลก
  • ปี 2017 อันดับ 32 ของโลก
  • ปี 2016 อันดับ 33 ของโลก
  • ปี 2015 อันดับ 34 ของโลก
  • ปี 2013 อันดับ 36 ของโลก

Thailand

มาเลเซีย ระดับความสุขของมาเลเซียถือว่าลดระดับลงมากจากช่วงแรกที่อยู่อันดับที่ 56 ปัจจุบันอยู่ที่ 70 ของโลก อันดับ 4 ของอาเซียน (มีจำนวนประชากร 32.37 ล้านคน)

  • ปี 2022 อันดับ 70 ของโลก
  • ปี 2021 อันดับ 81 ของโลก
  • ปี 2020 อันดับ 82 ของโลก
  • ปี 2019 อันดับ 80 ของโลก
  • ปี 2018 อันดับ 35 ของโลก
  • ปี 2017 อันดับ 42 ของโลก
  • ปี 2016 อันดับ 47 ของโลก
  • ปี 2015 อันดับ 61 ของโลก
  • ปี 2013 อันดับ 56 ของโลก

Malaysia

เวียดนาม ถือว่าเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีความสุขลดลงหากนับจากช่วงปีแรกๆ ที่มีการเก็บข้อมูล อยู่ที่อันดับ 63 ของโลกเท่านั้น แต่ช่วงปี 2016-2019 กลับมีระดับความสุขที่ลดลงค่อนข้างมาก ทำให้ตกอันดับไปอยู่ที่ 90 กว่าแต่ก็มีพัฒนาการที่ดีขึ้นได้ในช่วงปัจจุบัน (มีจำนวนประชากร 97.34 ล้านคน)

  • ปี 2022 อันดับ 77 ของโลก
  • ปี 2021 อันดับ 79 ของโลก
  • ปี 2020 อันดับ 83 ของโลก
  • ปี 2019 อันดับ 94 ของโลก
  • ปี 2018 อันดับ 95 ของโลก
  • ปี 2017 อันดับ 94 ของโลก
  • ปี 2016 อันดับ 96 ของโลก
  • ปี 2015 อันดับ 75 ของโลก
  • ปี 2013 อันดับ 63 ของโลก

Vietnam

อินโดนีเซีย มีอันดับความสุขที่ลดต่ำลง เทียบกับปี 2013 อยู่อันดับที่ 76 ของโลกและมีระดับความสุขที่แย่ลงในปีปัจจุบัน (มีจำนวนประชากร 273.5 ล้านคน)

  • ปี 2022 อันดับ 87 ของโลก
  • ปี 2021 อันดับ 82 ของโลก
  • ปี 2020 อันดับ 84 ของโลก
  • ปี 2019 อันดับ 92 ของโลก
  • ปี 2018 อันดับ 96 ของโลก
  • ปี 2017 อันดับ 81 ของโลก
  • ปี 2016 อันดับ 79 ของโลก
  • ปี 2015 อันดับ 74 ของโลก
  • ปี 2013 อันดับ 76 ของโลก

Indonesia

ลาว ถือว่าเป็นประเทศที่มีระดับความสุขดีขึ้นถ้าเทียบจากปีแรกๆ ที่อยู่อันดับ 100 เศษๆ และมีระดับความสุขที่ดีขึ้นในปีปัจจุบันอยู่อันดับที่ 95 ของโลก (มีจำนวนประชากร 7.2 ล้านคน)

  • ปี 2022 อันดับ 95 ของโลก
  • ปี 2021 อันดับ 100 ของโลก
  • ปี 2020 อันดับ 104 ของโลก
  • ปี 2019 อันดับ 105 ของโลก
  • ปี 2018 อันดับ 110 ของโลก
  • ปี 2017 อันดับ 0 ของโลก
  • ปี 2016 อันดับ 102 ของโลก
  • ปี 2015 อันดับ 99 ของโลก
  • ปี 2013 อันดับ 109 ของโลก

Laos

กัมพูชา ถือว่ามีพัฒนาการทางความสุขที่ดีขึ้นมาก ถ้าเทียบจากช่วงแรกที่มีการเก็บข้อมูล อันดับความสุขอยู่ระดับที่ 140 ของโลก จากนั้น พัฒนาการความสุขเริ่มดีขึ้นจนถึงปัจจุบันอยู่อันดับที่ 114 ของโลก (มีจำนวนประชากร 16.7 ล้านคน)

  • ปี 2022 อันดับ 114  ของโลก
  • ปี 2021 อันดับ 114 ของโลก
  • ปี 2020 อันดับ 106 ของโลก
  • ปี 2019 อันดับ 109 ของโลก
  • ปี 2018 อันดับ 120 ของโลก
  • ปี 2017 อันดับ 129 ของโลก
  • ปี 2016 อันดับ 140 ของโลก
  • ปี 2015 อันดับ 145 ของโลก
  • ปี 2013 อันดับ 140 ของโลก

Cambodia

เมียนมา ระดับความสุขของประเทศเมียนมาค่อนข้างย่ำแย่ แทบจะติดอันดับท้ายๆ ของทุกประเทศในโลกรวมกัน เพิ่งจะมีพัฒนาการดีขึ้นเล็กน้อยในปีปัจจุบัน (มีจำนวนประชากร 54.1 ล้านคน)

  • ปี 2022 อันดับ 146 ของโลก
  • ปี 2021 อันดับ 149 ของโลก
  • ปี 2020 อันดับ 153 ของโลก
  • ปี 2019 อันดับ 156 ของโลก
  • ปี 2018 อันดับ 156 ของโลก
  • ปี 2017 อันดับ 155 ของโลก
  • ปี 2016 อันดับ 157 ของโลก
  • ปี 2015 อันดับ 158 ของโลก
  • ปี 2013 อันดับ 156 ของโลก

Myanmar

**หมายเหตุ**
ไม่มีข้อมูลปี 2014, ไม่มีข้อมูลประเทศลาวในปี 2017 และไม่มีข้อมูลประเทศบรูไน สาเหตุที่แนบข้อมูลจำนวนประชากรรายประเทศมาด้วยนั้น สะท้อนให้ห็นว่า จำนวนประชากรน้อยหรือจำนวนประชากรมากไม่ได้สะท้อนหรือเป็นตัวชี้วัดว่าจำนวนคนในประเทศน้อยจะมีความสุขมากเสมอไป ตัวอย่างจากประเทศกัมพูชามีประชากรเพียงสิบกว่าล้านรายเท่านั้นแต่ก็ไม่เคยมีระดับความสุขในระดับหลักเดี่ยวหรือหลักสิบได้นับตั้งแต่เก็บข้อมูลมา ทั้งนี้รวมถึงประเทศลาวที่มีประชากรเพียง 7.2 ล้านคนด้วย

จำนวนประชากรในประเทศไม่ใช่ตัวชี้วัดความสุข แต่ต้องพิจารณาปัจจัยหลายด้านประกอบกันซึ่งก็มีทั้งเรื่องรายได้ต่อหัว แรงสนับสนุนจากสังคม อายุคาดเฉลี่ย เสรีภาพในการดำเนินชีวิต ความเอื้ออาทรในสังคมและมุมมองการคอรัปชั่นในสังคมตามรายงานระบุไว้ตั้งแต่ต้นว่ามีการใช้ปัจจัยดังกล่าวในการนำมาเก็บข้อมูล

ที่มา – World Happiness Report, ปี 2013, 2015, 2016, 2017, 2018, 2019, 2020, 2021, 2022

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา