สหรัฐอเมริกาบริจาควัคซีนโควิด-19 ของ Pfizer จำนวน 1,503,450 โดสให้ไทย วัคซีน Pfizer มาถึงไทยแล้วเช้านี้ สหรัฐฯ จะบริจาควัคซีนให้ไทยรวมทั้งหมด 2.5 ล้านโดส โดยจะเพิ่มเติมอีก 1 ล้านโดสหลังจากนี้
รัฐบาลสหรัฐฯ ระบุข้อว่า ยืนยันเคียงข้างไทย หุ้นส่วนของเรา ในการต่อสู้กับโรคโควิด-19 และเริ่มกระบวนการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจ ความร่วมมือนี้สะท้อนคำมั่นของประธานาธิบดีที่จะมอบวัควีนที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพให้ประเทศต่างๆ ที่ขาดแคลน รัฐบาลสหรัฐภายใต้การบริหารของประธานาธิบดี จะแบ่งวัคซีนจำนวน 80 ล้านโดสเพื่อช่วยยุติโรคระบาด การส่งมอบวัคซีน Pfizer นี้แสดงถึงความสำคัญที่สหรัฐฯ ให้ความร่วมมือกับไทย
ในแผนการบริจาควัคซีน 80 ล้านโดสของประธานาธิบดีไบเดนนั้น สหรัฐฯ จะมอบวัคซีน 23 ล้านโดสให้ประเทศต่างๆ ในเอเชีย เพื่อช่วยให้ภูมิภาคนี้รวมทั้งไทยปลอดภัย การบริจาควัคซีนช่วยเหลือนอกเหนือจากความช่วยเหลือผ่านโครงการโคแวกซ์ซึ่งเป็นดครงการจัดสรรวัคซีนโควิด-19 ให้นานาประเทศอย่างเท่าเทียมนั้น สหรัฐฯ ระบุว่า การบริจาควัคซีนให้ไทยจำนวน 1.5 ล้านโดสนี้เป็นการช่วยเหลือแบบให้เปล่า ไม่มีเงื่อนไข
วัคซีน Pfizer-BioNTech นี้ Pfizer เป็นบริษัทยาของสหรัฐฯ และ BioNTech SE เป็นบริษัทไบโอเทคโนโลยีของเยอรมนีที่ร่วมกันพัฒนาขึ้น เป็นวัคซีนตัวแรกที่ได้รับอนุญาตทะเบียนแบบฉุกเฉินจากองค์การอนามัยโลกและข้อมูลขององค์การอาหารและยาสหรัฐฯ แสดงให้เห็นว่า วัคซีนนี้มีประสิทธิภาพในการป้องกันโควิดได้ 95% กว่า 60 ปีแล้วที่สหรัฐฯ และไทยผนึกกำลังรับมือปัญหาสำคัญที่ส่งผลต่อสาธารณสุข
ปัจจุบัน สหรัฐให้ความช่วยเหลือไทยในการป้องกันโควิด มีทั้งเรื่องส่งเสริมไทยเตรียมความพร้อมระบบห้องปฏิบัติการ ดำเนินการค้นหาผู้ป่วยและเฝ้าระวังเหตุการณ์สำหรับอาการป่วย สนับสนุนผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาการเพื่อตอบสนองและเตรียมพร้อมต่อการระบาด เสริมสร้างการสื่อสารป้องกันความเสี่ยง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อในสถานพยาบาล ตลอดจนช่วยเหลือผู้พลัดถิ่นตามชายแดน รวมถึง มอบเครื่องช่วยหายใจ หน้ากากกรองอากาศ ชุดตรวจหาการติดเชื้อ หน้ากากอนามัย แว่นตานิรภัยและอุปกรณ์ป้องกันอื่นๆ สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ พยาบาลและอาสาสมัครสาธารณสุขชาวไทยในการควบคุมการระบาด
สหรัฐฯ เป็นผู้สนับสนุนรายใหญ่ที่สุดขององค์การอนามัยโลก (WHO) มาตั้งแต่ปี 1948 ความมั่นคงด้านสุขภาพทั่วโลกขึ้นอยู่กับระบบสาธารณสุขที่ยืดหยุ่นพร้อมฟื้นตัว โปร่งใสและตอบสนองต่อสถานการณ์ได้ดี สหรัฐฯ มุ่งจะเป็นผู้นำในการตอบโต้การระบาดของโควิด-19 และเป็นผู้บริจาครายใหญ่ที่สุดในโครงการสนับสนุนด้านการเงิน COVAX Advance Market Commitment เพื่อการเข้าถึงวัคซีนโควิด-19 อย่างเท่าเทียม
อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.สาธารณสุขพร้อมคณะผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขเดินทางมายังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เพื่อเป็นผู้แทนรัฐบาลไทยในการรับมอบวัคซีน Pfizer จำนวน 1.54 ล้านโดสที่สหรัฐอเมริกามอบให้ประเทศไทย โดยการขนส่งวัคซีน Pfizer มาถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเวลา 04.30 น. ด้วยสายการบิน AeroLogic เที่ยวบิน 3S530 หลังจากนี้จะต้องเก็บภายใต้อุณหภูมิ -70 ถึง -90 องศาเซลเซียสเพื่อคงประสิทธิภาพของวัคซีน และดำเนินการตามขั้นตอนก่อนกระจายไปตามแผนที่วางไว้ต่อไป
แผนบริหารจัดการวัคซีน Pfizer ล็อตแรก 1.54 ล้านโดส
- บุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติภารกิจดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ทั่วประเทศ (เข็ม 3 กระตุ้นภูมิคุ้มกัน) 700,000 โดส
- ผู้มีภาวะเสี่ยงสูงต่อการเสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิด -19 ที่มีสัญชาติไทย 645,000 โดส
- ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 12 สัปดาห์ขึ้นไป ชาวต่างชาติที่อาศัยในไทย เน้นผู้สูงอายุและโรคเรื้อรัง หญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่ 12 สัปดาห์ขึ้นไปและผู้เดินทางไปต่างประเทศที่จำเป็นต้องรับวัคซีน Pfizer เช่น นักการทูต นักศึกษา 150,000 โดส
- ทำการศึกษาวิจัย (ได้รับการอนุมัติโดยคณะกรรมการวิจัยจริยธรรม) จำนวน 5,000 โดส
- สำรองส่วนกลางสำหรับตอบโต้การระบาดของเชื้อกลายพันธุ์ จำนวน 40,000 โดส
- บุคลากรทางการแทพย์ไทยกว่า 800 คนติดโควิด แม้ฉีด Sinovac ครบ 2 โดสแล้ว
- หลังพบศพคนติดโควิดถูกทิ้งข้างทาง รัฐประกาศ “ทุกวัดเผาศพโควิดฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย”
ที่มา – สถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย, รัฐบาลไทย
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา