กระทรวงสาธารณสุขไทยระบุเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาว่า พบบุคลากรทางการแพทย์ติดโควิด-19 กว่า 800 คน มีทั้งที่ไม่มีประวัติการรับวัคซีน 173 คนและรับวัคซีน Sinovac ครบ 2 โดสแล้ว ก็ยังติดโควิด-19 ได้ ตอนนี้กำลังพิจารณาว่าจะฉีดวัคซีนเพิ่ม (booster dose) เพื่อกระตุ้นภูมิต้านทาน
ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขเดือนเมษายนถึงกรกฎาคมเผยว่า บุคลากรทางการแพทย์รับวัคซีน Sinovac ครบ 2 โดสราว 677,348 คน มีกว่า 800 คนที่ติดเชื้อโควิด ไม่มีประวัติการรับวัคซีน 173 คน มีพยาบาลเสียชีวิตและมีบุคลากรที่ทำงานด้านการแพทย์อาการหนักด้วย เรื่องนี้ ดร. นพ. โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรคระบุว่า อาจต้องฉีดวัคซีนเพิ่มเพื่อกระตุ้นภูมิต้านทานแก่บุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเสี่ยง ซึ่งอาจต้องเป็นวัคซีนที่มีความแตกต่างออกไป อาจจะเป็นวัคซีน AstraZeneca หรือวัคซีนที่ใช้เทคโนโลยี mRNA หรือวัคซีน Pfizer-BioNTech ที่ไทยกำลังจะได้รับในเร็วๆ นี้ราว 1.5 ล้านโดสจากสหรัฐอเมริกา
ไทยมีคนติดเชื้อสะสมราว 336,371 คน และเสียชีวิต 2,711 คนนับตั้งแต่โควิดระบาดปีที่ผ่านมา
บุคลากรทางการแพทย์ของไทยส่วนใหญ่และผู้ที่ทำงานด่านหน้าในการรับมือกับโควิดระบาดได้รับวัคซีน Sinovac หลังเดือนกุมภาพันธ์ โดยวัคซีน AstraZeneca เพิ่งจะมาถึงไทยในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาและได้รับบริจาคจากญี่ปุ่นแล้วจำนวน 1.05 ล้านโดส ส่วนวัคซีน Pfizer-BioNTech ไทยคาดว่าจะได้รับบริจาคราว 1.5 ล้านโดสและได้มีการสั่งซื้อวัคซีน Pfizer ราว 20 ล้านโดส คาดว่าจะมีการจัดส่งหลังเดือนตุลาคม ปีนี้
แนวทางการบริหารจัดการวัคซีน Pfizer ราว 1.5 ล้านโดส
จะฉีดวัคซีน Pfizer ให้กับ 4 กลุ่มเป้าหมายคือ บุคลากรทางการแพทย์ผู้ดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด (เป็น Booster dose 1 เข็ม), ผู้สูงอายุและกลุ่มผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรัง, ชาวต่างชาติที่อาศัยในไทย เน้นผู้สูงอายุและโรคเรื้อรัง และผู้ที่มีความต้องฉีดวัคซีน Pfizer ก่อนเดินทางไปต่างประเทศ เช่น นักเรียน นักศึกษา นักกีฬา นักการทูต โดยจะฉีด 2 เข็มห่างกัน 3 สัปดาห์ ยกเว้นบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าที่จะฉีดเข็ม 3 จะมีการพิจารณารายละเอียดเพิ่มเติมในการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติจันทร์ที่ 12 กรกฎาคมนี้
แนวทางการบริหารจัดการวัคซีน AstraZeneca จำนวน 1.05 ล้านโดส
จะฉีดวัคซีน AstraZeneca จำนวน 1.05 ล้านโดส โดยฉีดให้กับ 3 กลุ่มเป้าหมาย คือผู้สูงอายุและกลุ่มผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรัง, ชาวต่างชาติที่อาศัยในประเทศไทย เน้นผู้สูงอายุและโรคเรื้อรัง, ผู้ที่มีความจำเป็นต้องฉีดวัคซีน AstraZeneca ก่อนเดินทางไปต่างประเทศ เช่น นกัเรียน นักศึกษา นักกีฬา นักการทูต เป็นต้น
ด้านอินโดนีเซียที่กำลังประสบปัญหาติดเชื้ดโควิดอย่างหนักรวมถึงบุคลากรทางการแพทย์ที่ติดเชื้อโควิดหนักและมีเสียชีวิตไปบ้างแล้ว เตรียมจะฉีดวัคซีนที่ใช้เทคโนโลยี mRNA หรือ Moderna เป็น boosters shot สำหรับบุคลากรทางการแพทย์
- แพทย์อินโดฯ กว่า 350 คนติดโควิด-19 แม้ว่าจะฉีดวัคซีน Sinovac ป้องกันแล้ว
- โควิดปลิดชีวิตแพทย์อินโด 26 คน เกือบครึ่งฉีดวัคซีน Sinovac ครบ 2 โดสแล้ว
ที่มา – Reuters, กรมควบคุมโรค, PPTV
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา