สังคมโลกตั้งคำถาม เมื่อไรสหรัฐอเมริกาภายใต้การนำของ Joe Biden จะเข้าร่วมวงเจรจาภายใต้กรอบ TPP หรือ CPTPP เสียที?
มาถึงวันนี้ วันที่เปลี่ยนผู้นำสหรัฐอเมริกาคนใหม่เป็น Joe Biden แล้ว ก็ยังไม่แสดงท่าทีให้เห็นว่าจะกลับเข้ามาร่วมมือภายใต้กรอบ TPP หรือ CPTPP อย่างไร เรื่องนี้ ถูกหยิบยกขึ้นมาถามกันอีกครั้งหลังจากที่ Biden แต่งตั้ง Katherine Tai ขึ้นเป็นผู้แทนการค้าแน่นอนแล้ว เรื่องนี้ Tai ระบุว่า จีนถือเป็นคู่แข่งและเป็นคู่ค้ารายใหญ่ของสหรัฐฯ ถ้าสหรัฐฯ ลงไปเล่นในเกมนี้ก็จะเผชิญกับเรื่องที่ท้าทายแน่นอน
จีนร่วมอยู่ในวง RCEP แล้ว รวมวงสมาชิกของกรอบความร่วมมือนี้จะถือเป็น 30% ของเศรษฐกิจโลกสหรัฐฯ ถอนตัวออกจา CPTPP สมัยที่ทรัมป์เป็นประธานาธิบดี เมื่อ Joe Biden ขึ้นเป็นผู้นำต่อจากทรัมป์ ก็เคยกล่าวไว้ว่า สหรัฐฯ จะไม่เข้าสู่ความตกลงการค้าเสรีใดๆ เลย ก่อนที่จะเริ่มหันมาลงทุนในประเทศมากขึ้น
ขณะที่ผู้แทนการค้า Tai ก็มองว่าการร่วมมือในกรอบ TPP นั้น เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างหุ่นส่วน สานประโยชน์ทางเศรษฐกิจและยุทธศาสตร์ โดยมีจีนเป็นความท้าทายภายใต้กรอบความร่วมมือนี้ แต่โลกในรอบห้าหกปีที่ผ่านมานี้ก็มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมาก ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ทำให้เราต้องระวังหลุมพรางที่อาจเป็นกับดักให้ดี
Katherine Tai, President Joe Biden’s top trade nominee, backed tariffs as a “legitimate tool” to counter China’s state-driven economic model. CNBC’s @Nessa_Anwar explains the role of a trade czar. https://t.co/2goDyH6Cdi pic.twitter.com/TXyoVRlY5L
— CNBC International (@CNBCi) February 26, 2021
คลิปด้านบนนี้ อธิบายถึงการแต่งตั้ง Katherine Tai ผู้แทนการค้าคนใหม่สหรัฐฯ ที่คาดว่าจะเป็นตัวเชื่อมประสานสัมพันธ์จีน ในอีกด้านหนึ่งก็ถือเป็นหัวหอกในการต่อกรกับจีนด้วย Tai เชี่ยวชาญด้านการค้ามานาน ทำงานในสำนักผู้แทนการค้าสหรัฐฯ มาตั้งแต่ปี 2007 ถึงปี 2014 แถมสามปีสุดท้ายยังทำหน้าที่เหมือนตำรวจทางการค้าคอยตรวจสอบบทบาทจีนในมิติการค้า การใช้แรงงานอุยกูร์ในซินเจียงด้วย
Tai ยังมีรกรากเป็นคนจีนมาแต่ดั้งเดิมก่อนจะย้ายไปอยู่ไต้หวันและอพยพมาอยู่ในอเมริกาในท้ายที่สุดด้วย นอกจากคลิปที่ถึง Tai แล้ว เนื้อหาหลักสะท้อนให้เห็นว่าสหรัฐฯ เคยเป็น czar หรือซาร์ หรือจักรวรรดิด้านการค้ามาก่อนจีน สหรัฐฯ มีเศรษฐกิจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก แต่จีนก็เป็นประเทศคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดในโลกเช่นกัน
ประเด็นเรื่องการความร่วมมือภายใต้กรอบ TPP นั้น ทรัมป์เคยระบุว่า มันเป็นทำให้การจ้างงานชาวอเมริกันลดลงและถอนตัวออกมาตั้งแต่สัปดาห์แรกที่ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดี ขณะที่ Tai เองก็เข้าใจเจตนาในการรวมกลุ่มกับชาติพันธมิตรใน TPP แต่แรกเริ่ม แต่ความท้าทายคือจีนที่ร่วมอยู่ในกรอบนี้ ดังนั้น เป็นไปได้ว่าสหรัฐฯ จะยังคงนโยบายไม่เข้าร่วมในระยะต้น และดำเนินนโยบายฟื้นฟูเศรษฐกิจโดยเน้นขับเคลื่อนภายในประเทศก่อนเป็นหลัก รวมถึงกดดันคู่ค้าสหรัฐฯ ไปพลาง และไม่น่าจะเข้าร่วม TPP ในระยะเวลาอันใกล้
- ผลวิจัยชี้ นโยบายต่างประเทศยุคไบเดนเป็นมิตร ไม่ทะเยอทะยาน ส่งผลดีต่อคนชั้นกลาง
- โลกหลังโควิดเริ่มหันหลังให้จีน Xi Jinping สนใจ TPP อยากร่วมมือในเวทีโลกมากขึ้น
ที่มา – Nikkei Asia
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา