นักวิเคราะห์เตือน ปี 2021 ยุโรปอาจตกงาน 9 ล้านคน เพราะการจ้างงานระยะสั้นคือ “Zombie Jobs”

Ludovic Subran นักวิเคราะห์จาก Allianz (บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน) ระบุ ในปีหน้า ปี 2021 คนยุโรปเสี่ยงตกงานราว 9 ล้านคน หลังจากที่บริษัทหลายแห่ง ธุรกิจต่างๆ ทั่วโลกถูกสั่งให้ปิดทำการ หยุดกิจการ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ผู้นำยุโรปหลายชาติหันมาใช้โครงการจ้างงานระยะสั้นเพื่อแก้ปัญหาและรักษาระดับไม่ให้คนตกงานเป็นจำนวนมากในช่วงที่เกิดโรคระบาด

ขณะที่บริษัทหลายแห่งทั่วโลกปิดกิจการ ยุโรปก็พยายามรักษาตำแหน่งงานด้วยการจ้างงานระยะสั้นเพื่อหลีกเลี่ยงการปลดพนักงานจำนวนมาก

แต่นักวิเคราะห์คาดว่า 5 ประเทศที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป เยอรมนี ฝรั่งเศส อิตาลี และอังกฤษจะมีคนทำงานราว 9 ล้านคน หรือประมาณ 20% จาก 45 ล้านคนที่สมัครทำงานในโครงการระยะสั้น อาจจะต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่จะไม่ถูกจ้างเข้าทำงานต่อไปในปีหน้าหรือปี 2021 เพราะยังไม่พบสัญญาณการฟื้นตัว

ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาของชื่อ “zombie jobs” คือ การให้ทำงานชั่วคราวระยะสั้น เช่น การจ้างงานภายใต้โครงการ Kurzarbeit ไปก่อน เพื่อป้องกันการตกงานจำนวนมาก อาจกล่าวได้ว่า zombie jobs คือการยืดเวลาไม่ให้คนอยู่ในสภาวะตกงานจำนวนมากนั่นเอง

Job
LONDON – OCTOBER 05: Commuters walk to work over London Bridge on October 5, 2006 in London, England. (Photo by Scott Barbour/Getty Images)

ทั้งนี้ Allianz คาดว่า zombie jobs นี้ จะพบมากในประเทศอังกฤษ อิตาลี และสเปน แต่ก็อาจพบในเยอรมนีบ้างเล็กน้อย โดยภาคแรงงานที่คาดว่าจะฟื้นตัวช้าเพราะได้รับผลกระทบหนักสุดถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มที่เรียกว่า “late bloomer

ประกอบด้วย 6 ภาคส่วนคือ ภาคขนส่งและคลังสินค้า, ภาคการให้บริการที่พักและอาหาร, ภาคความบันเทิงและกิจกรรมที่เกี่ยวกับสันทนาการ, ภาคค้าปลีกและค้าส่ง และอุตสาหกรรม การก่อสร้าง เหล่านี้เป็น sector ต้องให้ความสำคัญ หรือรัฐจะต้องเข้าไปช่วยประคับประคองก่อนจนกว่าจะหมดปี 2021 ด้วยเหตุผล ดังนี้

  • ประการแรก เรื่องการรักษาสุขอนามัยให้ถูกสุขลักษณะยังคงต้องทำต่อไป ดังนั้น ข้อจำกัดด้านต่างๆ จะส่งผลกระทบต่อกิจการต่างๆ ที่ต้องใช้มาตรการเว้นระยะห่างจากสังคม (social distancing) อาทิ การจำกัดจำนวนผู้คนเข้าทานอาหารในร้านอาหาร ในร้านค้า รวมถึงการแบนการเดินทางระหว่างประเทศด้วย
  • ประการที่สอง แม้ข้อจำกัดต่างๆ อาจถูกยกเลิก แต่คนยังบังคับตัวเองให้เว้นระยะห่างจากสังคมอยู่ ดังนั้น จะเกิดผลกระทบในส่วนของการบริโภคสินค้าและบริการ ที่ลูกค้าต้องมีปฏิสัมพันธ์โดยตรง อาทิ การเดินทาง การท่องเที่ยว การค้าปลีก และกิจกรรมผ่อนคลายต่างๆ
  • ประการที่สาม เศรษฐกิจภายในประเทศไม่แน่นอนสูง นำไปสู่การความกลัวที่จะมีหนี้สินล้นพ้นตัวได้ จึงต้องมีแผนจ้างงานและลงทุนต่อไป
  • ประการที่สี่ อุตสาหกรรมบางภาคส่วนพึ่งพาความต้องการจากภายนอกสูง เช่น ด้านการขนส่ง คมนาคม การท่องเที่ยวและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง ต้องประคับประคองสถานการณ์ต่อไป อย่างน้อยจนถึงปี 2022
Photo by Annie Spratt on Unsplash

ด้วยเหตุนี้ Allianz จึงประเมินว่า น่าจะมีคนยุโรปตกงานมากถึง 9 ล้านคน โดยกลุ่มคนที่ถูกจ้างอยู่ใน sector ที่เรียกว่า “late bloomer” นี้ คาดว่าจะอยู่ในยุโรปโดยรวมประมาณ 115 ล้านคน ในฝรั่งเศสประมาณ 42% ในอิตาลี 50%

อย่างไรก็ดี ผู้กำหนดนโยบายต้องประเมินความเสี่ยงงานที่อยู่ใน sector ของ late bloomer และ fast bloomer ให้ดี (งานด้านไอที เทคโนโลยี และงานด้านสุขภาพ: ฟื้นตัวเร็ว) จะต้องมีการผสมผสานนโยบายที่ทำให้คนทำงานอยู่รอดต่อไปได้ ไม่ว่าจะเป็นนโยบายส่งเสริมทักษะคนทำงาน

การสนับสนุนค่าจ้างในส่วนที่สำคัญและจำเป็น ตลอดจนการจ้างงานใหม่กับคนหางานหนุ่มสาวเพื่อให้ได้รับผลกระทบต่อความเสี่ยงในการเลื่อนการจ้างงานออกไปให้น้อยที่สุด ในส่วนของการเลื่อนการจ้างงาน เช่น การที่บริษัทได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจนต้องมีนโยบายไม่จ้างงานเพิ่ม เป็นต้น

ที่มา – CNBC, Allianz

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา