[วิเคราะห์] เสื้อกั๊กเหลืองก่อจราจลกลางเมืองฝรั่งเศสสร้างวิกฤตเศรษฐกิจหรือไม่?

กลางเดือนพ.ย. 2018 ที่ฝรั่งเศสมีกลุ่มเสื้อกั๊กเหลืองออกมาประท้วงปิดถนน ปิดปั้มน้ำมันทั่วประเทศ หลังจากนั้นมีการประท้วงอย่างต่อเนื่องจนเกิดความเสียหายในหลายเมือง ล่าสุดมีผู้ออกมาประท้วงกว่า 125,000 คน เหตุผลที่ประชาชนออกมาประท้วงคือการขึ้นภาษีน้ำมันของรัฐบาลฝรั่งเศส

ประธานาธิบดี-รัฐมนตรีคลังฝรั่งเศสเผยการประท้วงในประเทศกระทบเศรษฐกิจ

Bruno Le Maire รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของฝรั่งเศส บอกว่า การประท้วงครั้งนี้ถือว่าเป็นวิกฤตทั้งในเชิงสังคมและประชาธิปไตย และส่งผลกระทบต้องธุรกิจ รวมถึงเป็นวิกฤตเศรษฐกิจฝรั่งเศส เห็นได้จากการประท้วงครั้งที่ผ่านมามีรถยนต์ถูกเผา ร้านค้าถูกทุบกระจก ถูกขโมยของ โดยมีประชาชนเข้าร่วมการจราจลกว่า 10,000 ราย

โดยวันจันทร์นี้ (10 ธ.ค.2018) Emmanuel Macron ประธานาธิบดีฝรั่งเศส จะออกแถลงการณ์คาดว่าจะประกาศมาตรการต่อต้านวิกฤตของประเทศ ส่วนวันอังคารมีข่าวว่าประธานาธิบดีมีนัดพบกับสหภาพการค้า รวมถึงผู้นำด้านธุรกิจต่างๆ และหลายฝ่ายมองว่า Macron ยังอ่อนประสบการณ์ในการควบคุมสถานการณ์ประท้วง

Gilets jaunes-กลุ่มเสื้อกั๊กสีเหลือง เคลื่อนไหวเพื่อเพื่ออะไรกัน?

‘Gilets jaunes’ คือกลุ่มประท้วงเสื้อกั๊กสีเหลือง (ตามกฎหมายของฝรั่งเศส ยานพาหนะต่างๆ ต้องมีเสื้อกั๊กสีเหลืองติดไว้ในรถด้วย) ออกมาประท้วงตามท้องถนน และปั๊มน้ำมันตั้งแต่เดือนพ.ย. เพราะ 12 เดือนที่ผ่านมารัฐบาลฝรั่งเศสปรับขึ้นภาษีนำ้มันเพิ่มขึ้น 23%

โดยทางรัฐบาลฝรั่งเศสให้สาเหตุการขึ้นภาษีน้ำมันในประเทศ เพราะ 3 ไตรมาสที่ผ่านมาราคาราคาน้ำมันโลกเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่การขึ้นภาษีเชื้อเพลิงจะนำมาสนับสนุนการลงทุนด้านพลังงานทดแทน

ในขณะที่วันศุกร์ที่ผ่านมาผลโพลจากประชาชนกว่า 66% ยังสนับสนุนการประท้วงและที่ผ่านมาคะแนนเสียงของประธานาธิบดีฝรั่งเศสลดลง 23% ในช่วงวิกฤตนี้

ส่วนตอนนี้แม้รัฐบาลฝรั่งเศสจะยกเลิกการขึ้นภาษีเชื้อเพลิง พลังงานไฟฟ้าและแก๊สในปี 2019 แต่การประท้วงก็ยังลามไปถึงเรื่องอื่นๆ เช่นการลดภาษี บำนาญที่ดีขึ้นการเข้าถึงมหาวิทยาลัยที่มากขึ้น และการเพิ่มขึ้นของค่าแรง

แล้วเศรษฐกิจฝรั่งเศสจะเป็นอย่างไร

แม้ความเสียหายจากการประท้วงจะกระจายทั่วประเทศ แต่ยังเร็วเกินไปที่จะประเมินความเสียหายทั้งหมด หนังสือพิมพ์ของปารีสท้องถิ่น ระบุว่าเบื้องต้นความเสียหายภายในเมืองมีพาหนะเสียหาย 50 คัน คนเข้าร้านอาหารลดลง 20-50% ธุรกิจหลักพันแห่งได้รับผลกระทบมูลค่าหลักล้านปอนด์ ส่วนธุรกิจค้าปลีกคาดว่าเสียหายประมาณ 1,000 ล้านยูโร (37.5 ล้านบาท)

Francois Asselin หัวหน้าสมาพันธรัฐผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็กบอกว่า สมาชิกของสมาพันธรัฐได้รับความเสียหายจากการประท้วงกว่า 10,000 ล้านยูโร (375 ล้านบาท) นอกจากนี้การประท้วงวัดอาจจะส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวจากปัจจุบันปารีสมีคนเข้ามาท่องเที่ยวปี 2017 มากกว่า 40 ล้านคน

Timeline การประท้วงของฝรั่งเศส

17 พฤศจิกายน : ผู้ประท้วง 282,000 คน – ผู้เสียชีวิต 409 คน  – จับกุม 73 คน

24 พฤศจิกายน : ผู้ประท้วง 166,000 คน – ผู้บาดเจ็บ   84 คน  –  จับกุม 307 คน

1 ธันวาคม      : ผู้ประท้วง 136,000 คน  – ผู้บาดเจ็บ 263 คน  – จับกุม 630 คน

8 ธันวาคม      : ผู้ประท้วง 136,000 คน  – ผู้บาดเจ็บ 118 คน  – จับกุม 1,220 คน

สรุป

การประท้วงฝรั่งเศสเกิดขึ้นจากคนที่ไม่พอใจการขึ้นภาษีน้ำมัน จนกลายเป็นการจราจลทั่วประเทศและส่งผลเสียหายต่อการท่องเที่ยว การค้า รวมถึงกระทบบต่อเศรษฐกิจฝรั่งเศสมูลค่าหลักหลายล้านยูโร แม้รัฐบาลจะถอดใจไม่ขึ้นภาษีน้ำมันในปีหน้า แต่กลุ่มเสื้อกั๊กเหลืองยังคงประท้วงไปที่เรื่องอื่นๆอีกเพียบต้องจับตาดูว่าประเทศฝรั่งเศสจะเป็นอย่างไร

ที่มา BBC

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

จากนักข่าวการเงินหนังสือพิมพ์ธุรกิจย่านประชาชื่น ผันตัวเข้าโลกออนไลน์ ความท้าทายครั้งใหม่คือการเล่าเรื่องเงินให้เข้าใจง่าย ใช้ได้จริง