การประชุมแผนเศรษฐกิจ 5 ปี (ปี 2021 – 2025) ฉบับที่ 14 ของคณะกรรมการการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนชุดที่ 19 นั้น จีนยืนยันหนักแหน่นว่าจะเน้นกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศให้ขยายตัวมากยิ่งขึ้นภายใต้แผนเศรษฐกิจหมุนเวียนคู่ขนาน (dual circulation: เน้นการบริโภคภายในและเน้นการส่งออก)
- โรคระบาดก็ทำอะไรไม่ได้ เศรษฐกิจจีนฟื้นตัวเร็ว แม้จะมีปัจจัยเสี่ยงรอบทิศทาง
- จีนประกาศแผนเศรษฐกิจ 5 ปีฉบับใหม่ เน้นพึ่งพาตัวเองด้านเทคโนโลยีมากขึ้น เศรษฐกิจโตแบบมีคุณภาพ
รายงานที่เผยแพร่ล่าสุดใน Qiushi Journal ซึ่งถือเป็นวารสารหลักของคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์จีน ระบุว่า ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ขอให้มีการขยายการบริโภคภายในประเทศมากขึ้นเพื่อที่จะให้เชื่อมโยงกับการผลิต การจัดจำหน่าย การขนส่งโลจิสติกส์ และการบริโภคดังกล่าวจะสามารถพึ่งพาตลาดภายในประเทศได้อย่างยั่งยืน และมีวัฎจักรการเติบโตที่เป็นเชิงบวกมากขึ้น
แนวคิดแรกที่เผยแพร่ออกมาเมื่อเดือนพฤษภาคมคือรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียนคู่ขนาน ด้วยการทำให้ตลาดภายในประเทศและตลาดโลกต่างเติมเต็มซึ่งกันและกัน โดยประชากรราว 1.4 พันล้านคนจะมี GDP ต่อหัว 10,000 เหรียญสหรัฐต่อหัว หรือประมาณ 3.05 แสนบาท เมื่อภาคการผลิตมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยรวมเข้ากับการยกระดับการบริโภคในประเทศขนานใหญ่ก็จะยิ่งขยายศักยภาพให้เพิ่มมากขึ้น
ทั้งนี้ ปี 2018 จีนมีการบริโภคในครัวเรือนอยู่ที่ 39% ของ GDP ถือว่าต่ำกว่าอัตราเฉลี่ยของโลกอยู่ที่ 20% แต่ในปีเดียวกันนี้ จีนก็มีการลงทุนมากถึง 43% ของ GDP สูงกว่าค่าเฉลี่ยโลก 19% และสูงกว่าประเทศพัฒนาแล้วถึง 22% ดังนั้น Cao Yuanzheng ประธาน BOCI Research Co Ltd ให้ความเห็นไว้ถึงแผนพัฒนา 5 ปีฉบับที่ 14 นี้ ความสำเร็จคือแผนเศรษฐกิจหมุนเวียนคู่ขนานที่ต้องขึ้นอยู่กับการเติบโตของรายได้ประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มรายได้น้อยและรายได้ปานกลางระดับต่ำ (lower-middle income)
รายได้ของประชาชนชาวจีนนั้นเพิ่มสูงขึ้นมากว่า 40 ปีแล้ว แต่อัตราการเติบโตของรายได้ระดับต่ำ กับรายได้ปานกลางระดับต่ำนั้น ส่วนใหญ่สัมพันธ์กับโอกาสจากงานที่ทำเกี่ยวพันกับอุตสาหกรรมหรือความเป็นเมืองแค่ไหน ยิ่งรายได้สัมพันธ์กับความเป็นเมือง (urbanization) มากเท่าไร ก็ยิ่งมีศักยภาพให้รายได้ยิ่งเพิ่มสูงขึ้น
ที่มา – China Daily
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา