การไม่ปรากฏตัวที่ประชุม BRICS แบบผู้นำอย่าง Xi Jinping: ไม่โชว์วิสัยทัศน์ ไม่ตอบคำถามสื่อ

ตัวอย่างจากการเป็นผู้นำของ ประธาน Xi Jinping สะท้อนความเป็นผู้นำแบบสีอย่างง่ายๆ ที่ทำให้โลกเห็นว่า ผู้นำแบบเขาไม่จำเป็นต้องแสดงวิสัยทัศน์ และไม่ต้องตอบคำถามสื่อ แม้จะมีผู้คนคาดหวังที่จะอยากฟังก็ตาม

Xi Jinping

BRICS เวทีความร่วมมือระหว่างประเทศที่ทุกคนคาดหวังว่าประธานาธิบดีสีจะปรากฎตัวและกล่าวสุนทรพจน์ แต่กลายเป็น Wang Wentao รัฐมนตรีพาณิชย์ที่ออกมาพูดแทนเขา เนื้อหาเน้นไปที่การวิพากษ์วิจารณ์สหรัฐอเมริกเสียส่วนใหญ่ ที่แสดงท่าทีเป็นประเทศมหาอำนาจครอบงำโลก โดย Wang อ่านสปีชของสีไว้ ดังนี้

สหรัฐอเมริกามีแนวโน้มที่จะต่อกรกับประเทศต่างๆ ด้วยการแสดงท่าทีคุกคามและครอบงำตลาดการและกิจการโลก ซึ่งทุกประเทศในโลกนี้ก็มีสิทธิที่จะพัฒนาประเทศของตัวเองและควรมีเสรีภาพที่จะไขว่คว้าความสุขให้ชีวิตตัวเอง ซึ่งประเทศใดก็ตามที่แสดงออกว่าจะพัฒนาสิ่งใดเป็นแห่งแรกของโลก จะถูกจับตามองและปิดล้อม

นอกจากสุนทรพจน์ที่รัฐมนตรีพาณิชย์ออกมาอ่านแทน สี จิ้นผิงแล้ว ทาง SCMP ยังได้กล่าวพาดพิงถึง Xi Jinping ด้วยว่า แม้สี จิ้นผิงจะเดินทางมาถึงประเทศเจ้าภาพที่จัดงานประชุม BRICS ตั้งแต่คืนวันจันทร์ที่ผ่านมา

นอกจากเขาจะโดดประชุมที่เป็นฟอรั่มด้านธุรกิจแล้ว ยังไม่อธิบายถึงเหตุผลที่ไม่ปรากฏตัว ซึ่ง Bonnie Glaser กรรมการผู้จัดการแห่ง German Marshall Fund มองว่าการไม่ปรากฏตัวดังกล่าวของผู้นำจีนสะท้อนถึงความผิดปกติ ขณะเดียวกัน Jorge Guajardo อดีตเอกอัครราชทูตประเทศเม็กซิโกประจำจีนก็เห็นตรงกันว่า การที่สี จิ้นผิง ไม่ปรากฎตัวในการประชุมในกรอบพหุภาคีเช่นนี้ถือว่า ผิดปกติ

BRICS คือกลุ่มประเทศที่ก่อตั้งโดยบราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ เริ่มมีการหารือประชุมในระดับรัฐมนตรีในวันที่ 20 กันยายน ปี 2006 เป็นครั้งแรกและเริ่มมีประชุมระดับประมุขของประเทศ หรือระดับสุดยอดผู้นำครั้งแรกในปี 2009 นำโดยรัสเซียเป็นเจ้าภาพ

การประชุมเวที BRICS ไม่ได้มีประเทศเจ้าภาพในการก่อตั้งเข้าร่วมหารือกันเท่านั้น แต่ยังมีประมุขของรัฐจากประเทศอื่นๆ รวมทั้งองค์การระดับโลกเข้าร่วมด้วย เช่น เลขา UN อย่าง Antonio Guterres ก็เข้าร่วมประชุมด้วยเช่นกัน นี่ถือเป็นวงประชุมที่มีการร่วมตัวของประเทศทางตอนใต้ของโลกที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ทั้งจากแอฟริกา แคริบเบียน อเมริกาใต้ ตะวันออกกลาง เอเชียตะวันตก เอเชียใต้ และยังรวมถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย

เอาเข้าจริงแล้ว ความร่วมมือภายใต้กรอบองค์กรนี้ ยังให้ความรู้สึกว่าเป็นกลไกที่จะช่วยถ่วงดุลประเทศมหาอำนาจฝั่งตะวันตกด้วย ซึ่งก็มีองค์การระหว่างประเทศที่เรารู้จักกันดีหลายแห่ง เช่น องค์การสหประชาชาติ (UN), IMF และ World Bank เป็นต้น

ที่มา – SCMP, BRICS

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา