World Bank หั่นประมาณการณ์ GDP โลกเป็น 4.1% หนี้สูงขึ้น ความเหลื่อมล้ำเพิ่มขึ้น

World Bank หรือธนาคารโลกปรับลดประมาณการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา ยุโรปและจีนลดลง พร้อมเตือนว่า ระดับหนี้สูง ความเหลื่อมล้ำทางรายได้เพิ่มมากขึ้น โควิดสายพันธุ์ใหม่ยังเป็นภัยคุกคามต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนา

World Bank Cut Global GDP forecast

จากเดิมที่เคยคาดการณ์เมื่อปีที่ผ่านมาว่าเศรษฐกิจโลกจะเติบโตอยู่ที่ 5.5% ล่าสุด World Bank ปรับคาดการณ์ลดลงเหลือ 4.1% และคาดว่าปี 2023 เศรษฐกิจจะเติบโตลดลงอีกอยู่ที่ 3.2% ด้าน IMF ก็คาดว่าจะปรับลดประมาณการณ์เช่นกัน

David Malpass ประธานธนาคารโลกเผย ประเทศกำลังพัฒนากำลังเผชิญกับปัญหาระยะยาวที่มีอัตราการฉีดวัคซีนที่ค่อนข้างต่ำ รวมทั้งภาระหนี้ที่มาก มีเด็กอายุ 10 ปีประมาณ 70% ในกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางและรายได้น้อยยังไม่สามารถอ่านออกเขียนได้และจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นอีก 53% จากรายงานมีการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของประเทศเศรษฐกิจก้าวหน้าจะขยายตัวลดลงเป็น 3.8% ในปี 2022 จากที่ก่อนหน้าอยู่ที่ 5% และลดลงเป็น 2.3% ในปี 2023 ส่วนด้านการลงทุนอาจจะกลับมาได้เท่ากับช่วงก่อนมีโรคระบาดในปี 2023

ธนาคารปรับลดการขยายตัวของ GDP สหรัฐฯ ในปี 2021 ในอัตรา 1.2% ให้เป็น 5.6% และคาดการณ์ว่าจะเติบโตช้าๆ เป็น 3.7% ในปี 2022 และ 2.6% ในปี 2023 ขณะที่คาดการณ์ GDP ญี่ปุ่นอาจขยายตัวเพิ่มขึ้น 1.7% ในปี 2021 และคาดการณ์ว่า GDP จะเพิ่มเป็น 2.9% ในปี 2022 ขณะที่จีน คาดการณ์ว่า GDP จะขยายตัวอยู่ที่ 8% ในปี 2021 น้อยกว่าที่คาดการณ์ 0.5% และจะขยายตัวช้าๆ อยู่ที่ 5.1% ในปี 2022 และขยายตัวเป็น 5.2% ในปี 2023

covid recovery

ขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาและประเทศเกิดใหม่ คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวลดลงเป็น 4.6% ในปี 2022 จากเดิม 6.3% ในปี 2021 และลดต่ำลงเป็น 4.4% ในปี 2023 นั่นหมายความว่าผลผลิตจะยังต่ำกว่าช่วงก่อนเกิดโรคระบาด นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นจะส่งผลกระทบต่อแรงงานรายได้น้อยโดยเฉพาะ เนื่องจากเป็นอัตราเงินเฟ้อที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2008 สำหรับประเทศที่เศรษฐกิจก้าวหน้า แต่เป็นอัตราเงินเฟ้อที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2011 สำหรับประเทศกำลังพัฒนาและประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่

ยิ่งอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้น และอาจทำให้คาดการณ์แย่ลง โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกาและประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่รายอื่นๆ โรคระบาดอาจผลักดันให้หนี้โลกมีระดับสูงที่สุดในรอบ 50 ปี ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งปรับโครงสร้างหนี้เพื่อให้ภาคเอกชนที่กำลังประสบปัญหาจากหนี้ท่วมสามารถประคับประคองให้ผ่านพ้นสถานการณ์ที่ย่ำแย่นี้ไปได้

ที่มา – Nikkei

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา