World Bank: ผลกระทบจากโควิด-19 ทำให้คนยากจนเพิ่มขึ้นทั่วโลกอีก 150 ล้านคน

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา World Bank ระบุว่า การระบาดของโควิด-19 อาจทำให้คนทั่วโลกราว 150 ล้านคนเข้าสู่ภาวะยากจนมากขึ้นภายในสิ้นปี 2021 

ภาพจาก Wikimedia โดย Victorgrigas

ปี 2020 ผู้คนจำนวน 88 ล้าน ถึง 115 ล้านคน จะตกอยู่ในภาวะความยากจนมาก ใช้ชีวิตอยู่ด้วยเงินราว 1.90 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 59.32 บาทต่อวัน จากนั้น จำนวนคนยากจนมากจะเพิ่มขึ้นเป็น 150 ล้านคนภายในสิ้นปี 2021 

ปีนี้ ประชากรโลกอาจจะอยู่ในสถานะที่ยากจนมากถึง 9.1-9.4% เหมือนกับช่วงปี 2017 ที่มีคนยากจนราว 9.2% ถือว่ามีอัตราที่เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 20 ปี ทั้งนี้ ความยากจนในปี 2019 ประเมินว่าจะอยู่ที่ 8.4% จากที่เคยคาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ 7.5% ในปี 2021 ก่อนที่จะมีโควิดระบาด อย่างไรก็ตาม มีการตั้งเป้าว่าจะลดจำนวนคนยากจนราว 3% ภายในปี 2020 

ทั้งนี้ โรคระบาดและภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจทั่วโลกเป็นสาเหตุสำคัญที่อาจทำให้ประชากรโลกตกอยู่ในภาวะยากจนมากขึ้นกว่า 1.4% ในรายงานยังพบว่าส่วนใหญ่ควมยากจนมากที่เกิดขึ้นใหม่นี้ ยังพบในประเทศที่มีอัตราความยากจนสูงอยู่ก่อนหน้าแล้ว แต่ราว 82% คือผู้คนที่อยู่ในชนชั้นกลาง ซึ่งมีเส้นความยากจนที่มีระดับรายได้อยู่ที่ 3.2 เหรียญสหรัฐหรือประมาณ 99.65 บาท และมีรายได้สำหรับชนชั้นกลางระดับบนอยู่ที่ 5.5 เหรียญสหรัฐหรือประมาณ 171.71 บาท 

BANGKOK, THAILAND – MARCH 27: People walk through a crowded alleyway marketplace as Thailand imposed a state of emergency to combat the spread of the coronavirus (COVID-19) on March 27, 2020 in Bangkok, Thailand. Thailand’s Department of Disease Control has confirmed 91 new cases of the virus and are advising people to stay home. (Photo by Allison Joyce/Getty Images)

ก่อนหน้านี้ สถานะความยากจนมากมักพบในพื้นที่ชนบท แต่ปัจจุบันมีจำนวนที่เพิ่มขึ้นมากในเมืองด้วย ซึ่งจำนวนที่เพิ่มขึ้นนี้สัมพันธ์กับการปิดเมืองเพื่อกำจัดโควิดระบาดด้วย ตัวอย่างเช่น การขาดรายได้ หรือหารายได้ไม่ได้ในช่วงที่มีการปิดเมือง เป็นต้น 

ทั้งนี้ บริเวณแอฟริกาทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮารา (Sub Saharan African) มีผู้คนยากจนมากที่สุด อาศัยอยู่ได้ด้วยเงินเพียง 1.9 เหรียญสหรัฐหรือประมาณ 59.32 บาทต่อวันและมีแนวโน้มยากจนเพิ่มขึ้น 50 ล้านคนภายในปี 2021 ซึ่งช่วงก่อนโควิดนั้นประเมินว่ามีราว 37.8%

โควิด-19 ทำให้รายได้ของกลุ่มคนที่ยากจนมากที่สุดราว 40% ลดลง World Bank ระบุไว้ตั้งแต่ปี 2012-2017 รายได้คนกลุ่มนี้เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 2.3% แต่วิกฤติโควิดอาจทำให้รายได้กลุ่มคนที่ยากจนที่สุดลดลงไปด้วย กล่าวคือ ความเหลื่อมล้ำทางรายได้เพิ่มขึ้นและลดโอกาสในการเลื่อนชั้นทางสังคม (social mobility) 

World Bank ระบุว่า หากต้องการลดความยากจน ประเทศต่างๆ ต้องพยายามควบคุมและจัดการไวรัสให้ได้ รวมถึงให้ความช่วยเหลือครัวเรือนต่างๆ เพื่อให้มีความสามารถในการรับมือทางเศรษฐกิจที่ยืดหยุ่นขึ้นได้ ประเทศต่างๆ ต้องเตรียมพร้อมที่จะรับมือกับเศรษฐกิจหลังโควิด ทั้งในเรื่องของทุน แรงงาน ทักษะ และนวัตกรรมที่จะขับเคลื่อนธุรกิจใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นได้

ที่มา – World Economic Forum 

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา