ปี 2017-2018 คนไทยได้อะไรจากธปท. ?

ธนาคารแห่งประเทศไทย แม้จะฟังดูคุ้นหู แต่หลายคนยังไม่รู้ว่า ธปท.มีไว้ทำไม Brandinside รวมความเคลื่อนไหวเด่นๆ ของ ธปท. ใน 2 ปีที่ผ่านมาให้อ่านกัน

ธปท.เกิดขึ้นมาเพื่ออะไร?

พันธกิจของธนาคารแห่งประเทศไทย คือการสร้างสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจการเงินที่มีเสถียรภาพ และมีการพัฒนาอย่างยั่งยืนและทั่วถึง

วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) บอกว่า หน้าที่หลักของ ธปท. คือการรักษาเสถียรภาพในระบบการเงิน ดังนั้นสิ่งที่ ธปท. ต้องทำคือการวางรากฐานเศรษฐกิจไทย ระบบการเงินยุคใหม่ให้เข้าถึงกลุ่มต่างๆ ทั้งภาคประชาชน ธุรกิจ SME ผลที่เห็นชัดเจนคือการโอนเงิน การชำระเงินสะดวกขึ้น ค่าธรรมเนียมถูกลง

เมื่อธุรกรรมการเงินสะดวกมากขึ้น มีทั้ง พร้อมเพย์ โมบายแบงก์กิ้ง ปริมาณธุรกรรมช่องทางดิจิตอลก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยอดเงินต่อรายการลดลง ส่วนธุรกรรมที่สาขา ตู้ ATM ก็ลดลง

อย่างไรก็ตามปัจจุบันความสำคัญเรื่อง Data Analytics เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ธปท.จึงมีความร่วมมือกับแบงก์พาณิชย์เพื่อปรับใช้ข้อมูลกับการสร้างโครงสร้างระบบการเงินที่ดียิ่งขึ้น

ปี 2017-2018 แบงก์ชาติมีความเคลื่อนไหวเรื่องอะไรบ้าง?

  • เรื่องอัตราแลกเปลี่ยน เพราะช่วง 2-3 ปีนี้มีความผันผวนมากขึ้นจากปัจจัยต่างประเทศ ธปท. จึงมีมาตรการผ่อนคลายเกณฑ์ควบคุมการเลกเปลี่ยนเงิน (ปรับขั้นตอนให้ง่ายขึ้น) และโครงการให้ความรู้ SME ในการบริหารความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน
  • เชื่อมภาคประชาชนให้เข้าถึงการเงินขั้นพื้นฐาน เช่น บัญชีเงินฝากพื้นฐานที่ไม่มีค่าธรรมนียมสำหรับคนมีรายได้น้อยและผู้สูงอายุ ศูนย์การเรียนรู้ของ ธปท. ที่เปิดใหม่ ฯลฯ
  • ยกระดับ Market Conduct หรือมาตรฐานการบริการแก่ลูกค้า โดยแบงก์ชาติตั้งใจลดปัญหาการขายพ่วง บังคับขาย ฯลฯ โดยสถาบันการเงินที่ทำผิดจะได้รับบทลงโทษ

    ภาพจาก Shutterstock
  • ปรับนโยบายการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์ทางการเงินเพื่อให้ประชาชน เข้าถึงข้อมูล และได้รับบริการการเงินอย่างเป็นธรรม เช่น การปรับเกณฑ์คุมสินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล (PLoan) สินเชื่อจำนำทะเบียน (รถแลกเงิน)  มาตรการคุมสินเชื่อบ้าน
    นอกจากนี้ธปท.ยังมี www.1213.or.th ที่รวบรวมข้อมูลจากทุกธนาคารให้ลูกค้าสามารถเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ทางการเงินง่ายขึ้น เช่น ดอกเบี้ยเงินฝาก สินเชื่อบ้าน บัตรเครดิต ฯลฯ
  • คลีนิกแก้หนี้ ช่วยประชาชนให้ชำระหนี้ได้ง่ายขึ้นปีที่ผ่านมา ได้ยื่นเรื่องให้ภาครัฐเพื่อขยายขอบเขตของกฎหมายไปที่ Non-Bank
  • ออกแบงก์รุ่นใหม่ครบทุกราคา 
  • ยกระดับสถาบันการเงิน ผ่านการพัฒนา Ecosystems เพื่อเอื้อให้เกิดนวัตกรรม เทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งส่งผลต่อการลดต้นทุนการเงินภาพรวม ปีที่ผ่านมามีการปรับกฎหมาย พ.ร.บ. ชำระเงิน เพื่อให้กฎเกณฑ์หลายหน่วยงานรวมอยู่ที่เดียว และการออก พ.ร.บ. เงินดิจิตอล และมี “อินทนนท์” โครงการทดลองสร้างสกุลเงินดิจิตอลเพื่อใช้ภายในระบบธนาคาร
  • ยกระดับการกำกับให้ดีขึ้น เช่น Cyber security ซึ่งแบงก์ชาติต้องตรวจจจับ กู้คืน และตอบสนองต่อการพัฒนาได้ไว โดยมีความร่วมมือกับสมาคมธนาคารไทย (TBS) อย่างต่อเนื่อง
  • แบงก์ชาติอยู่ระหว่างการทดสอบเทคโนโลยี Distributed ledger (DLT) เช่น ใช้สนับสนุนการขายพันธบัตรออมทรัพย์ให้ประชาชนจากเดิมที่ใช้เวลา 30 วัน จะเหลือเพียง 2 วัน เฟสต้อไปเตรียมขยายกับการขายหุ้นกู้
  • อีกหลายโครงการทดลองทางเทคโนโลยีที่อยู่ใน SandBox ของธนาคารแห่งประเทศไทย

สรุป

ธนาคารแห่งประเทศไทยมีหน้าที่ดูแลภาพรวมเรื่องเสถียรภาพการเงินของประเทศ ดูแลประชาชน ซึ่งตั้งแต่ปี 2017 ธปท.เริ่มแผนยุทธศาสตร์ 3 ปี (ปี 2017-2019) โดยเน้นเรื่องการวางรากฐานแบงก์ชาติให้เสริมระบบเศรษฐกิจการเงินไทยได้มีประสิทธิภาพ พร้อมรับโลกดิจิตอลที่ก้าวเข้ามาสู่ชีวิตประจำวันของเรา

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

จากนักข่าวการเงินหนังสือพิมพ์ธุรกิจย่านประชาชื่น ผันตัวเข้าโลกออนไลน์ ความท้าทายครั้งใหม่คือการเล่าเรื่องเงินให้เข้าใจง่าย ใช้ได้จริง