เปิด 4 พฤติกรรมนักช้อปออนไลน์ ทำไมคนไทยถึงภักดีต่อแบรนด์

LINE SHOPPING เผย 4 พฤติกรรมนักช้อปออนไลน์ พร้อมเทรนด์ใหม่และวิธีสร้างฐานลูกค้าด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่า

line shopping

ท่ามกลางการแข่งขันที่ท้าทายในตลาดออนไลน์ การทำความรู้จักพฤติกรรมลูกค้า และการมองหาช่องทางการขายใหม่ๆ ถือเป็นเรื่องสำคัญ LINE SHOPPING เปิดอินไซต์นักช้อปออนไลน์ที่ร้านค้าควรรู้ ช่วยให้ไม่พลาดทุกโอกาสการขาย

  1. นักช้อปหญิงกระเป๋าหนักท็อปฟอร์มครอง LINE SHOPPING กว่า 75%

LINE SHOPPING ยังคงเป็นขวัญใจของเหล่าสาวนักช้อปอย่างต่อเนื่อง โดยมีผู้ใช้งานหญิงครองสัดส่วนถึง 75% 

  • โดยเฉพาะในกลุ่มอายุ 20 – 34 ปี ที่มีการซื้อขายอย่างคึกคัก 
  • รองลงมาเป็นกลุ่มอายุ 35 – 44 ปี ซึ่งล้วนเป็นกลุ่มวัยทำงานและมีกำลังซื้อสูง 
  • เวลาที่ผู้ใช้ส่วนใหญ่นิยมเข้ามาช้อปปิ้ง คือ วันอังคารและวันพุธ ระหว่างเวลา 10:00 – 12:00 น. ทำให้ร้านค้าที่มี LINE OA และเปิดขายแอคทีฟ (Active)ในช่วงเวลานี้ อาจเพิ่มโอกาสในการปิดการขายที่เร็วขึ้นและกระตุ้นยอดขายได้สูงขึ้น ผ่านการพูดคุยและออกออเดอร์ผ่านแชทที่รวดเร็วได้ใจลูกค้า
  1. ขายดีที่หนึ่งไม่มีแผ่วยกให้หมวดสุขภาพและความงาม 
  • หมวดหมู่สินค้าที่ครองใจนักช้อปสาวสุดอินเทรนด์บน LINE SHOPPING ต้องยกให้หมวดสุขภาพและความงาม รวมไปถึงหมวดแฟชั่น ที่ได้รับความนิยมสูงสุด ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์สกินแคร์ดูแลผิว เครื่องสำอาง หรือเสื้อผ้าแฟชั่นที่สาวๆ ชอบอัปเดตเทรนด์ใหม่ๆ อยู่เสมอ 
  • และอีกหนึ่งหมวดสินค้าที่มีอัตราการเติบโตถึง 5% จากปีที่แล้ว ได้แก่ หมวดแม่และเด็ก โดยมียอดขายกว่า 6 แสนออเดอร์ในปีที่ผ่านมา 
  1. ชาวด้อมแห่อุดหนุนสินค้าไอเท็มเด็ดๆ จากร้านค้าคนดังรับกระแสแฟนด้อมมาแรง
  • LINE SHOPPING ยังเป็นแหล่งรวมร้านค้าคนดังของศิลปิน ดารา และอินฟลูเอนเซอร์มากมาย ที่เหล่าแฟนคลับต่างพากันมาอุดหนุนสินค้า 
  • โดยเฉพาะร้านค้าหมวดอาหารที่มาแรงแซงทางโค้งจากกระแสในโซเชียลมีเดีย อาทิ ร้าน Nie & Ivan ของ “เนเน่ พรนับพัน” ที่ยอดออเดอร์เค้กทุเรียนและเค้กลอดช่องทะลักยาวข้ามเดือน, ร้านมาการอง Souri ของ “วิน เมธวิน” ที่สามารถสั่งเป็นเช็ตของขวัญสุดคิ้วท์ที่ส่งให้เพื่อนได้ทุกเทศกาล และร้าน Pop Monsters ป๊อปคอร์นหลากรสของ “โอ๋ ภัคจีรา” ที่เป็นขวัญใจทั้งเด็กและผู้ใหญ่ 
  • นอกจากนี้ ยังมีร้านค้าหมวดไลฟ์สไตล์ของบ้านแฟนด้อมทั้งในและต่างประเทศ ที่ได้รับความนิยมสูงไม่แพ้กัน ไม่ว่าจะเป็น เทพลีลา, Rubsarb, VELENCE, Astro Stuffs, hometomyheart หรือ GMMSHOPS สะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมของผู้ใช้ที่มีความเป็นแฟนคลับอันเหนียวแน่น และพร้อมยินดีจ่ายให้กับสินค้าพิเศษเอ็กซ์คลูซีฟ ทำให้ LINE SHOPPING เหมาะสำหรับร้านค้าที่ขายสินค้าแบบเน้นความ exclusive ต่อฐานแฟนคลับที่มีอยู่ และรวมไปถึงร้านค้าที่ต้องการต่อยอดสร้างฐานแฟนคลับเป็นของตัวเอง
  1. คนไทยชีวิตติดโปร! แลก LINE POINTS ไปแล้วกว่า 14 ล้านพอยท์
  • ในปี 2024 มีผู้ใช้ LINE POINTS เพื่อซื้อสินค้ารวมแล้วกว่า 14 ล้านพอยท์ หรือเทียบเท่ากับ 14 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีผู้ใช้งาน LINE SHOPPING อีกกว่า 150,000 คน ที่ได้รับ LINE POINTS  แล้วเลือกกลับไปช้อปเพิ่มอีกกว่า 9 ล้านพอยท์ 

LINE SHOPPING รวมฟีเจอร์ไม้ตายช่วยเพิ่มฐานลูกค้า ด้วยต้นทุนค่าธรรมเนียมที่ต่ำกว่า

  • LINE SHOPPING มีฟีเจอร์ช่วยสร้างฐานลูกค้าให้เลือกหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นฟีเจอร์ LIVE, การบรอดแคสต์บน LINE OA, ระบบจัดการฐานข้อมูลลูกค้าหลังบ้าน หรือแม้แต่คูปองส่วนลดที่เป็นเครื่องมือหนึ่งในการพิชิตใจทั้งลูกค้าเก่า และลูกค้าใหม่ รวมทั้งยังช่วยสร้างความ Loyalty ที่ลูกค้ามีต่อแบรนด์ได้ ซึ่งจากข้อมูลของบริษัทฐานข้อมูลการตลาด Acxiom พบว่า ผู้บริโภคกว่า 72% เต็มใจพร้อมที่จะภักดีต่อแบรนด์หากได้รับข้อเสนอส่วนลด 

นอกจากนี้ LINE SHOPPING ยังให้ความสำคัญกับการช่วยลดต้นทุนให้ร้านค้า คิดค่าธรรมเนียมการใช้บริการอย่างเป็นมิตรและคิดตามจริง 

โดยแบ่งเป็นค่าธรรมเนียมธุรกรรมการเงิน (Transaction Fee) 3% และค่าธรรมเนียมการใช้บริการ (Service Fee) 3% เฉพาะคำสั่งซื้อจากช่องทาง สื่อ และแคมเปญ LINE SHOPPING ซึ่งโดยรวมป็นอัตราที่ต่ำกว่าท้องตลาด จึงช่วยให้ร้านค้ามีกำไรเพิ่มขึ้น

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา