แพลตฟอร์ม (Platform) คืออะไร?​ ความหมายที่หลายคนควรรู้

หลายคนคงคุ้นเคยและได้ยินคำว่า Platform กันมาบ้างแล้ว แต่เนื่องจากคำนี้มีความหมายที่กว้างมากเพราะครอบคลุม Product ในหลายกลุ่มธุรกิจและมีหลายจุดประสงค์ทางการตลาด วันนี้เราจะมาดูกันว่า Platform คืออะไร มีอะไรบ้างและในไทยมี Platform เป็นของตัวเองกันมากน้อยแค่ไหน

Platform คืออะไร

Platform เปรียบเสมือนตัวกลางที่คอยเชื่อมระหว่างคนสองกลุ่มเข้าหากัน ไม่ว่าจะเป็นลูกค้ากับร้านค้า ร้านค้ากับร้านค้า ร้านค้ากับผู้ผลิต ซึ่งจำคอยอำนวยความสะดวกในการดำเนินการหลายๆ อย่างตามจุดประสงค์ของ Platform นั้น ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่นคุณต้องการจะเดินทางจากคอนโดไปสนามบินอยากได้ Taxi หรือรถยนต์สักคันเพราะมีกระเป๋าเดินทางมากมาย สิ่งที่ทำคือหยิบมือถือกดเข้า Platform เรียกรถมารับ ซึ่งตัวคนขับก็จะเดินทางไปรับคุณที่คอนโดและพาคุณไปส่งยังสนามบินจากนั้นก็จ่ายเงินและจบการทำงาน จากนั้นคนขับก็จะหาลูกค้าคนใหม่ผ่านทาง Platform เพื่อดูว่ามีลูกค้าต้องการเดินทางจากสนามบินไปที่ใดอีกหรือไม่

สำหรับ Platform นั้นส่วนใหญ่จะอยู่รูปแบบแอปพลิเคชั่นมือถือเป็นหลักเนื่องจากต้องการเข้าถึงผู้ใช้อย่างสะดวกและรวดเร็วที่สุด รองลงมาคือรูปแบบของเว็บไซต์เนื่องจากมีเมนูและขั้นตอนมากมายที่ต้องอาศัยการใช้คอมพิวเตอร์หรือแท็ปเล็ตจอใหญ่เพื่อการใช้งานอย่างเต็มรูปแบบ

การเติบโตของ Platform ต่างๆ ทำให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจและกลายหนึ่งในแนวทางที่ธุรกิจหลายๆ กลุ่มต้องการที่จะพัฒนา Platform ของตัวเองใช้งานได้อย่างสะดวกสบายและตอบโจทย์ผู้ใช้ได้อย่างดี เราจึงได้เห็นหลาย Platform มีการพัฒนาตัวเองกลายเป็นมากกว่า Platform รวมทั้งกลายเป็นสิ่งที่เรียกว่า Super App ที่ได้มากกว่าที่เคยทำได้

ประเภทของ Platform 

Platform นั้นมีหลากหลายประเภทซึ่งเราจะยกตัวอย่างในบางประเภทที่ทุกคนน่าจะคุ้นเคยกันมาแนะนำให้รู้จัก ดังนี้

Two-sided platform

เป็น Platform ที่เชื่อมคนสองกลุ่มที่แตกต่างกันเข้าหากันเพื่อให้บริการแก่คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น Grab, LINEMAN, Uber ที่จะเป็น Platform เพื่อผู้ที่ต้องการเดินทาง สั่งอาหาร หรือส่งเอกสาร โดย Platform จะเก็บส่วนแบ่งจากค่าบริการและค่าธรรมเนียม

Multi-sided platform

ลักษณะจะคล้ายแบบแรก แต่ใน Platform นั้นจะมีกลุ่มผู้ใช้หลายกลุ่มที่แตกต่างกันไป เช่น เว็บหางานที่จะไม่เพียงมีแค่คนที่เข้ามาหางานเท่านั้น แต่ยังมีบริษัทที่ต้องการพนักงานเข้าไปทำงานในตำแหน่งต่างๆ เข้ามาหาผู้ที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับที่บริษัทตามหาจาก Platform นี้อีกด้วย ซึ่งทาง Platform จะมีการเก็บค่าธรรมเนียมและส่วนแบ่งค่าบริการจากกลุ่มผู้ใช้เหล่านี้

Service platform

Platform ด้านให้บริการด้านต่างๆ เช่น บริการรับจ้างขนของ รับจ้างทำความสะอาด รับจ้างย้ายบ้าน รับซ่อมประปา/ไฟฟ้าตามบ้านและคอนโด เป็นต้น ซึ่ง Platform รูปแบบนี้กำลังเป็นที่สนใจจากกลุ่มที่ไม่ค่อยมีเวลาในการจัดการบางอย่างเอง หรือไม่มีความชำนาญด้านใดด้านหนึ่งและต้องการหาผู้ที่เชี่ยวชาญเป็นผู้จัดการปัญหาเหล่านั้นให้

Content platform

อีกชื่อหนึ่งที่หลายคนเรียกกันคือ Media platform ซึ่งเป็น Platform ที่ให้บริการด้าน Content ในรูปแบบต่างๆ เช่น YouTube, Netflix, Spotify, Joox, Viu, Medium ซึ่งจะมีทั้ง Content ที่เราสามารถสร้างสรรค์เองและทาง Platform จัดสรรมาให้เราเอง

Marketplaces platform

เป็นหนึ่งในประเภท Platform ที่เชื่อว่าหลายคนจะต้องใช้งานบ่อยอย่างแน่นอนเพราะมันคือ Platform สำหรับซื้อ-ขายของออนไลน์นั่นเอง สำหรับ Marketplace นั้นเป็นแหล่งรวมของเหล่าพ่อค้า แม่ค้า แบรนด์ดัง ร้านค้า ที่อยากจะก้าวเข้าสู่การขายของออนไลน์และเป็นแหล่งรวมเหล่านักช้อปหรือคนที่สนใจสั่งซื้อสินค้าบางอย่างที่หาซื้อแถวบ้านไม่ได้นั่นเอง ตัวอย่างเช่น Shopee, Lazada, Amazon, aliexpress

Social network platform

ประเภทสุดท้ายที่ขาดไม่ได้นั่นคือ Platform ที่เกี่ยวข้องกับ Social Media อย่างเช่น Facebook, Twitter, Instagram, LINE, Whatsapp เป็น Platform สำหรับติดต่อ สื่อสารระหว่างกันและกัน เชื่อว่าหลายคนต้องใช้บริการ Platform เหล่านี้มากกว่า 1 Platform อย่างแน่นอน

Cloud Storage platform

เป็น platform ที่เกี่ยวข้องกับการเก็บและสำรองข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยี cloud โดยมีการเก็บค่าบริการจากผู้ใช้งานตาม package ที่ผู้ใช้เลือกที่จะปรับเปลี่ยนไปตามขนาดของพื้นที่เก็บข้อมูลที่ได้เลือกไว้ ยกตัวอย่างเช่น Google Drive, Dropbox, Box

การเกิดขึ้นและเติบโตของธุรกิจประเภท platform นั้นสร้างโอกาสมากมายให้เกิดขึ้นต่อระบบเศรษฐกิจและเกิดการสร้างและต่อยอดธุรกิจอีกมากมายยกตัวอย่างเช่น Marketplace Platform ในช่วง Covid-19 ราวๆ ปี 2020 นั้นมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดเนื่องจากผู้คนไม่สามารถออกไปจับจ่ายใช้สอยได้ตามปกติ นำมาซึ่งการยกระดับร้านค้าหลายร้านขึ้นสู่ platform และโปรโมทผ่านทาง Social media platform ทำให้การค้าขายเริ่มกลับมาอีกครั้งหลังหยุดชะงักไปหลายเดือน ธุรกิจด้าน Logistics ถูกดึงดูดมากยิ่งขึ้น เกิดเป็น demand ให้ผู้คนจับจ่ายใช้สอยและกลายเป็นเรื่องปกติไปแล้วในวันนี้

Source: talkatalka, wallstreetmojo

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา