พาไปดูสวัสดิการขององค์กร 4 ประเภทในไทย รัฐวิสาหกิจ, เอกชนไทย, เอกชนต่างชาติ และสตาร์ทอัพ แต่ละแห่งก็มีสวัสดิการที่ดึงดูดพนักงานแตกต่างกัน
หากพูดถึง “สวัสดิการในที่ทำงาน” ปฏิเสธไม่ได้ว่าถือเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่คนทำงานให้ความสำคัญและมีผลต่อการตัดสินใจเข้าทำงานกับองค์กรนั้น ๆ โดยเฉพาะในยุคที่เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทสำคัญ ทำให้รูปแบบการทำงานและการใช้ชีวิตของคนในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม และส่งผลให้เกิดอาชีพใหม่ ๆ ขึ้นไม่ว่าจะเป็นบล็อกเกอร์ ยูทูปเบอร์ แม่ค้าออนไลน์ ฯลฯ ซึ่งเป็นอาชีพที่คนรุ่นใหม่หลายคนให้ความสนใจมากกว่าการทำงานประจำ
ทำให้หลายองค์กรเริ่มหันมาให้ความสำคัญในเรื่องการจัดสรรสวัสดิการให้แก่คนทำงานเพื่อเป็นเครื่องมือในการดึงดูดใจให้คนอยากเข้ามาทำงานกับองค์กร และเพื่อรักษาบุคลากรที่มีศักยภาพ
JobThai ได้เปิดเผยข้อมูล “สวัสดิการเด่นของ 4 ประเภทองค์กรในไทยที่มอบให้พนักงาน” โดยได้ทำการสำรวจจากฝ่ายทรัพยากรบุคคลขององค์กรในประเทศไทย จำนวน 457 คน
-
รัฐวิสาหกิจ
5 สวัสดิการแรกที่องค์ประเภทนี้ได้จัดสรรให้กับพนักงาน ได้แก่ 1.โบนัส 2.ตรวจสุขภาพประจำปี 3.ค่ารักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัว 4.เงินกู้ยืม 5.ค่าล่วงเวลา
สำหรับสวัสดิการที่โดดเด่นขององค์กรประเภทรัฐวิสาหกิจ คือ สวัสดิการด้านสุขภาพ เนื่องจากเป็นองค์กรที่รัฐบาลถือหุ้นเป็นส่วนใหญ่จึงมีการจัดสรรสวัสดิการเกี่ยวกับการเสริมสร้างสุขภาพเช่นเดียวกับหน่วยงานราชการ ซึ่งสวัสดิการด้านสุขภาพนี้สามารถดึงดูดให้คนอยากเข้ามาทำงานในองค์กรประเภทนี้ได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ยังมีสวัสดิการที่น่าสนใจอย่างรางวัลพนักงานดีเด่นประจำปี ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้พนักงาน มีการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานอยู่เสมอ ขณะที่พนักงานในองค์กรประเภทนี้ได้ให้ความสำคัญกับวันหยุด–วันลา ตามกฎหมายกำหนด, โบนัส, ประกันสุขภาพ, ประกันสังคม และค่ารักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัว ตามลำดับ
2. เอกชนไทย
องค์กรประเภทนี้ถือเป็นองค์กรที่มีการแข่งขันในการสรรหาบุคลากรค่อนข้างสูง จึงได้ให้ความสำคัญกับเรื่องสวัสดิการของพนักงานเป็นอย่างมาก
โดย 5 สวัสดิการแรกที่องค์ประเภทนี้ได้จัดสรรให้กับพนักงาน ได้แก่ 1.โบนัส 2.ค่าล่วงเวลา 3.เงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาล 4.เบี้ยขยัน 5.เงินสนับสนุน เช่น งานแต่งงาน งานอุปสมบท
นอกจากนี้ยังมีการจัดสรรสวัสดิการที่โดดเด่นจากองค์กรประเภทอื่น ๆ เช่น จัดคอร์สอบรมและพัฒนาความรู้ให้แก่พนักงานภายในออฟฟิศ ซึ่งการสนับสนุนดังกล่าวจะช่วยให้พนักงานมีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น และยังสามารถมัดใจให้บุคลากรที่มีศักยภาพอยู่กับองค์กรไปนาน ๆ ด้วย
ในขณะที่พนักงานขององค์กรเอกชนไทยได้ให้ความสำคัญกับสวัสดิการด้านวันหยุด–วันลา ตามกฎหมายกำหนด, โบนัส, ประกันสังคม, ประกันสุขภาพ และค่าล่วงเวลา ตามลำดับ
3. เอกชนต่างชาติ
5 สรรสวัสดิการให้กับพนักงาน ได้แก่ 1.โบนัส 2.สถานที่ออกกำลังกายภายในออฟฟิศ 3.ห้องรักษาพยาบาลเบื้องต้นภายในออฟฟิศ 4.ส่งพนักงานไปอบรมหรือศึกษาดูงานต่างประเทศ 5. เงินกู้ยืม
ด้วยความที่องค์กรต้องมีการติดต่อสื่อสารกับต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นสวัสดิการเด่นขององค์กรประเภทนี้ก็คือการส่งพนักงานไปอบรมหรือศึกษาดูงานต่างประเทศ ซึ่งถือเป็นสวัสดิการที่ช่วยพัฒนาศักยภาพของพนักงานเพื่อนำมาปรับใช้กับการทำงานได้เป็นอย่างดี
ส่วนพนักงานในองค์กรประเภทนี้ได้ให้ความสำคัญกับโบนัส, วันหยุด–วันลา ตามกฎหมายกำหนด, ประกันสุขภาพ, ประกันสังคม และค่ารักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัว ตามลำดับ
4. สตาร์ทอัพ (Startup)
แน่นอนว่าเป็นองค์กรประเภทใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นได้ไม่นาน ส่วนใหญ่จะต้องทำงานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีหรือนวัตกรรม ดังนั้นกลุ่มคนทำงานในองค์กรประเภทนี้ส่วนใหญ่จะเป็นคนรุ่นใหม่ที่มีแนวคิดหรือวิธีการทำงานที่ไม่ยึดติดกับรูปแบบเดิม ๆ โดยองค์กรประเภทสตาร์ทอัพ (Startup)
5 สวัสดิการแรกให้กับพนักงาน ได้แก่ 1.โบนัส 2.วันหยุด–วันลา ตามกฎหมายกำหนด 3.เบี้ยขยัน 4.ประกันสังคม 5.กิจกรรมสันทนาการ ซึ่งอาจจะไม่ได้แตกต่างกับองค์กรประเภทอื่น
แต่ที่โดดเด่นคือมีการจัดสรรสวัสดิการในเรื่องเวลาทำงานที่ยืดหยุ่นได้ (Flexible Hour) รวมถึงมีสวัสดิการเกี่ยวกับพื้นที่สันทนาการในออฟฟิศให้พนักงานได้พักผ่อนหย่อนใจในระหว่างการทำงาน อาทิ พื้นที่เล่นเกม เล่นกีฬา และเล่นดนตรี เป็นต้น
ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจของฝั่งพนักงานที่ทำงานในองค์กรประเภทนี้ พบว่าพวกเขาให้ความสำคัญในเรื่องเวลาทำงานที่ยืดหยุ่นได้ (Flexible Hour) มาเป็นอันดับแรก เพราะกลุ่มคนรุ่นใหม่มองว่าโลกปัจจุบันที่ไร้พรมแดนทั้งด้านการสื่อสาร เวลา และสถานที่ ทำให้สามารถทำงานและมีชีวิตส่วนตัวที่สมดุลกันได้ โดยเน้นที่ประสิทธิภาพของตัวงานมากกว่าการกำหนดเวลาเข้า–ออกงาน
นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับสวัสดิการด้านโบนัส, วันหยุด–วันลา ตามกฎหมายกำหนด, ประกันสุขภาพ และการทำงานที่ไม่ต้องเข้าออฟฟิศ (Mobile Working) ตามลำดับ
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา