หลังจากปล่อยบทความเจาะลึกกองทุน Unit Linked ไป 3 ตอนเมื่อปลายปี 2559 ที่ผ่านมา วันนี้จะมาอัพเดทความเปลี่ยนแปลงของกองทุนภายใต้ Unit Linked ว่ามีอะไรเพิ่มเติม หรือเปลี่ยนแปลงไปบ้าง ในวันนี้ขอเริ่มด้วยพี่ใหญ่ในวงการประกันชีวิตกับ เอไอเอ Unit Linked
ใครอยากอ่านเรื่องกองทุน Unit Linked ย้อนหลัง เริ่มจากตอนที่ 1 คลิกได้เลย
เมื่อปลายปี 2016 เอไอเอ มีกองทุนรวมที่สามารถเลือกลงทุนภายใต้กรมธรรม์ Unit Linked ทั้งหมด 11 กองทุน ได้แก่
หากแยกตามประเภทสินทรัพย์ที่ลงทุน จะเห็นได้ว่า มีกองทุนที่ลงทุนในตลาดเงิน 2 กองทุนได้แก่ TMBTM, SCBTMFPLUS-I ลงทุนในตราสารหนี้ 2 กองทุน ได้แก่ KFMTFI, TMBGF ลงทุนผสม 1 กองทุน ได้แก่ KF-CINCOMEลงทุนในหุ้นทั้งไทยและต่างประเทศ 5 กองทุน ได้แก่ ABG, ABSL, ABSM, JB25 และ ABWOOF
กองทุนที่เพิ่มเข้ามาใหม่
ในปัจจุบัน เอไอเอ มีการเพิ่มเติมกองทุนที่ลงทุนในหุ้นเพิ่มขึ้นมาอีก 3 กองทุน โดยเป็นลงทุนในหุ้นไทย 1 กองทุน คือ SCBSE และหุ้นต่างประเทศ 2 กองทุน คือ TMBUS500, PHATRA GNP ทำให้ในปัจจุบันลูกค้าที่ทำประกันควบการลงทุนกับทาง เอไอเอ มีกองทุนให้เลือกลงทุนทั้งหมด 14 กองทุน
ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของทั้ง 14 กองทุนเป็นอย่างไรบ้าง (ข้อมูลในตารางด้านล่างรวบรวมมาจาก Fund Fact Sheet วันที่ 30 มิถุนายน 2560)
หมายเหตุ : ข้อมูล Fund Fact Sheet สำหรับกองทุน SCBTMFPLUS-I และ SCBSET เป็นข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2560 และ 30 ธันวาคม 2559 ตามลำดับ ไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบกับกองทุนอื่น ๆ ได้
ตรวจสอบผลการดำเนินงานกองทุนกับ AIMC Category Performance Report
เมื่อทำการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานกองทุนในแต่ละประเภทกับตำแหน่ง 50th Percentile ใน AIMC Category Performance Report วันที่ 30 มิถุนายน 2560 ได้ผลดังตารางด้านล่าง
หมายเหตุ : สามารถดูตาราง AIMC Category Performance Report ได้จาก link http://oldweb.aimc.or.th/21_infostats_mf_pfm_report.php
จากการเปรียบเทียบกับกองทุนรวมอื่น ๆ ในประเภทเดียวกันพบว่า ผลการดำเนินของกองทุนรวมทั้ง 14 กองทุน มีกองทุนที่สามารถเอาชนะค่ากลาง (50th Percentile) ของผลตอบแทนได้อย่างสม่ำเสมอมีเพียง 2 กองทุน คือ TMBTM และ ABSM เท่านั้น แต่เมื่อมองในมุมของความผันผวนต่ำกว่าค่ากลาง(ดี) พบว่ามีอยู่ 6 กองทุนที่ทำได้สม่ำเสมอ คือ TMBTM, KFMTFI, ABG, ABSL, ABSM, ABWOOF
หากพิจารณาในมุมของการลงทุนเพื่อการสร้างผลตอบแทน เราอาจเลือกกองทุนอื่นที่อยู่นอกรายการทั้ง 14 กองทุนเนื่องจากตลาดกองทุนรวมประเทศไทยในปัจจุบันมีกองทุนให้เลือกมากกว่า 1,000 กองทุน เราควรมีโอกาสเลือกกองทุนที่สามารถสร้างผลตอบแทนได้ดี โดยไม่ถูกจำกัดตัวเลือกในการลงทุน แต่หากพิจารณาในมุมของการประกันชีวิต (ซึ่งเป็นแง่มุมที่ควรให้ความสำคัญในการทำประกัน) เราควรพิจารณาว่า Unit Linked ของเอไอเอนั้น เหมาะสมกับความจำเป็น/ความต้องการหรือไม่ สามารถสร้างความคุ้มครองคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไป และค่าเสียโอกาสในการเลือกกองทุนอื่นหรือไม่ หากพิจารณาแล้วสามารถตอบโจทย์ความต้องการได้อย่างเหมาะสม เราก็สามารถปรับการจัดพอร์ตจากกองทุนทั้ง 14 กองทุนได้ ถึงแม้จะไม่สามารถสร้างผลตอบแทนสูงสุด แต่จะเป็นการสร้างผลตอบแทนอย่างเหมาะสมบนเงื่อนไขที่มีอยู่ได้อย่างลงตัว
สรุป
- ในปัจจุบัน เอไอเอ Unit Linked มีกองทุนให้เลือกลงทุนได้ทั้งหมด 14 กองทุน
- ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาทั้ง 14 กองทุนสร้างผลตอบแทนได้ไม่ดีนักเมื่อเทียบกับค่ากลางของกลุ่มกองทุนที่ลงทุนในสินทรัพย์ประเภทเดียวกัน
- ในการพิจารณาซื้อหรือไม่ซื้อประกันควบการลงทุน ควรให้ความสำคัญกับแง่มุมของการประกันชีวิตมากกว่า การสร้างผลตอบแทนจากการลงทุน (หากต้องการสร้างผลตอบแทนจากการลงทุน ให้ใช้การลงทุนผ่านกองทุนรวมจะดีกว่า)
- หากตัดสินใจซื้อประกันชีวิตควบการลงทุนด้วยความเหมาะสมในมุมมองด้านการประกันชีวิตแล้ว เราสามารถจัดพอร์ตภายใต้เงื่อนไข หรือข้อกำหนดผ่านทั้ง 14 กองทุนได้
- ในการจัดพอร์ตการลงทุน ผู้ลงทุน / ตัวแทนประกัน / ที่ปรึกษาการเงิน ควรศึกษารายละเอียดใน Fund Fact Sheet ของแต่ละกองทุนประกอบการตัดสินใจทุกครั้ง
สุดท้าย ขอจบการอัพเดทกองทุนรวมที่สามารถลงทุนผ่าน เอไอเอ Unit Linked หวังว่าผู้อ่านจะได้ทำความเข้าใจลักษณะของผลตอบแทนและความเสี่ยง และสามารถใช้ประกอบการพิจารณาในการทำประกันควบการลงทุนได้ ทำประกันทุกครั้งให้คำนึงถึงความคุ้มครองที่จะได้จากการทำประกันก่อนเสมอ และอย่าลืม ตรวจสอบข้อมูลใน Fund Fact Sheet ทุกครั้งก่อนการตัดสินใจลงทุน
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา