คนจีนชอบมาก Uniqlo มีหน้าร้านในจีนมากกว่าญี่ปุ่น รายได้อาจแซงญี่ปุ่นภายในปี 2024

หลังเหตุวินาศกรรม 9/11 ค้าปลีกเสื้อผ้าสัญชาติญี่ปุ่น Uniqlo ก็เริ่มขยายสาขาไปยังต่างประเทศมากขึ้น แห่งแรกที่ไปคือลอนดอน อังกฤษ หลังจากนั้นก็เริ่มเข้าสู่จีนในปีถัดมา แห่งแรกของจีนคือที่เซี่ยงไฮ้ 

Uniqlo Shanghai, China Photo: Fast Retailing

ปัจจุบันหน้าร้าน Uniqlo ในจีนมีจำนวนแซงหน้าญี่ปุ่นไปแล้วเรียบร้อย จากเดือนสิงหาคม 2015 อยู่ที่ 387 แห่ง ก็เพิ่มเป็น 767 แห่งในช่วงปลายเดือนสิงหาคม เมื่อเกิดความขัดแย้ง ต่อต้านจีนมากขึ้น ราว 764 แห่งเริ่มคิดอยากย้าย Uniqlo กลับญี่ปุ่น

การเติบโตของ Uniqlo ในจีนนั้น แค่เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา มีการขยายหน้าร้านไปถึง 7 แห่ง สะท้อนให้เห็นว่า จีนเป็นตลาดใหญ่ที่สุดของ Uniqlo ซึ่ง Fast Retailing ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ Uniqlo พยายามสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ในจีน ด้วยการรวบแพลตฟอร์ม e-commerce เข้ากับหน้าร้าน ทำให้สามารถส่งออกสินค้ากลับไปยังญี่ปุ่นได้ ซึ่งบ้างครั้งเมื่อญี่ปุ่นมีปัญหากับจีนก็สร้างความเสี่ยงต่อธุรกิจด้วยเช่นกัน 

ทั้งนี้ Tadashi Yanai CEO Fast Retailing ระบุว่า สำหรับประชากรราว 1.3 ล้านคน หน้าร้านนี้สามารถมีได้มากถึง 3,000 แห่ง Uniqlo มีหน้าร้านในจีนทะลุ 782 แห่งภายในเดือนกันยายน 

Uniqlo in China, Photo: Fast Retailing

Uniqlo สามารถสร้างรายได้ทั้งในจีน ฮ่องกง และไต้หวันได้มากถึง 5.02 แสนล้านเยน หรือ 4.75 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 1.47 แสนล้านบาทในปี 2019 ราว 20% ของรายได้ทั้งหมด แม้จะน้อยกว่าในญี่ปุ่นที่ทำได้มากถึง 8.72 แสนล้านเยน หรือประมาณ 2.55 แสนล้านบาท แต่อัตราการเติบโตของรายได้ราย 3 ปีจนถึงสิงหาคม 2019 อยู่ที่ 15% เติบโตเร็วกว่าญี่ปุ่นที่อยู่ที่ 3% ด้วยเหตุนี้ มีแนวโน้มที่รายได้ในจีนจะเติบโตแซงในญี่ปุ่นภายในปลายสิงหาคม 2024

Uniqlo in Shanghai, China Photo: Fast Retailing

บ่อยครั้งที่ยอดขายภาคการผลิต เช่น รถยนต์ หรือภาคส่วนอื่นๆ เติบโตกว่ารายได้ภายในประเทศ แต่อุตสาหกรรมเสื้อผ้าไม่เป็นเช่นนั้น และมีแนวโน้มว่าจะมุ่งเป้ามาที่ผู้บริโภคภายในประเทศมากขึ้น ซึ่งรายได้ Uniqlo จากต่างประเทศก็เคยแซงหน้ายอดขายในญี่ปุ่นตั้งแต่ปลายสิงหาคม 2018 ที่ผ่านมา 

กิจการในจีนทำกำไรได้มาก ภายในสิงหาคม 2019 ทำส่วนต่างได้มากถึง 17.7% ขณะที่ญี่ปุ่นอยู่ที่ 11.7% นักชอปชาวจีนยังต้อนรับสินค้าราคาสูงได้ค่อนข้างดี และยังตอบรับอีคอมเมิร์ซได้ดีด้วย ผู้ชอปออนไลน์มีมากราว 20% ในช่วงปลายสิงหาคม 2019 เพิ่มขึ้นเท่าตัวของญี่ปุ่น 

Tadashi Yanai ผู้ก่อตั้ง Uniqlo Photo: Fast Retailing

Yanai ระบุว่า ถ้าเราเชื่อมต่ออีคอมเมิร์ซกับหน้าร้านที่มีอยู่ได้หมด ยอดขายสามารถพุ่งสู่ 2 ล้านล้านเยนหรือประมาณ 5.86 แสนล้านบาทได้ภายในหนึ่งปี ทั้งนี้ บริษัทเคยประเมินว่ายอดขายจะมากถึง 1.99 ล้านล้านเยนภายในสิ้นสิงหาคม 2020 ซึ่ง Fast Retailing เรียกการผนึกรวมของรูปแบบการค้าออนไลน์และออฟไลน์เข้าด้วยกันว่าเป็น Information-driven manufacturer-retailer (ข้อมูลข่าวสารขับเคลื่อนการผลิตและการค้าปลีก) 

ข้อมูลข่าวสารว่าด้วยทิศทางการขายจะถูกรวบรวมจากทั่วโลกผ่าน smart tags (หน่วยความจำขนาดเล็ก) และข้อมูลการสั่งซื้อเหล่านี้จะถูกวิเคราะห์ด้วย AI ที่จะทำให้เห็นเทรนด์การตลาดในแต่ละภูมิภาคที่แตกต่างกันมากขึ้น ข้อมูลการขายจะถูกนำมาใช้มากขึ้นเพื่อวางแผนการผลิต การผลิตและการจำหน่ายจ่ายแจกจะมีความรวดเร็วและทรงประสิทธิภาพและทำให้ตอบโจทย์ความต้องการลูกค้ามากยิ่งขึ้น 

Uniqlo China e-commerce

หน้าร้านในจีนจะมีออเดอร์สั่งซื้อออนไลน์มากยิ่งขึ้น ขณะที่ในญี่ปุ่นนั้นแพลตฟอร์มออนไลน์และออฟไลน์ของ Uniqlo ยังไม่เชื่อมโยงกัน อย่างไรก็ดี การพึ่งพาลูกค้าจีนมากไปก็ทำให้เกิดความเสี่ยงได้ Uniqlo ปิดชั่วคราวเกือบครึ่งหนึ่งเมื่อเกิดเหตุพิพาทพรมแดนเมื่อปี 2012 ความสัมพันธ์อันเปราะบางดังกล่าว ทำให้ Uniqlo ไม่ใช้โลโก้ที่เป็นภาษาญี่ปุ่นที่นำไปใช้กันทั่วโลกแต่นำมาใช้ไม่ได้ในจีน Yanai เองก็รับรู้ว่าจะไม่พึ่งพาจีนมากเกินไป 

ที่มา – Nikkei Asia

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา