ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง รัฐบาลอังกฤษชดเชยค่าจ้างถึง 80% ให้แรงงาน เยียวยา COVID-19

รัฐบาลอังกฤษเตรียมชดเชยค่าจ้างถึง 80% ให้กับแรงงานไม่ว่าจะเป็นแรงงานอิสระ หรือพนักงานประจำ เพื่อเยียวยาผลกระทบจาก COVID-19

London Store Closing COVID-19
ภาพจาก Shutterstock

รัฐบาลอังกฤษเตรียมที่จะชดเชยค่าจ้างให้กับแรงงานโดยเฉลี่ยถึง 80% โดยพนักงานและแรงงานจะได้รับเงินชดเชยสูงสุดถึง 2,500 ปอนด์ต่อเดือน ขึ้นอยู่กับเงินเดือนของแต่ละราย โดยรัฐบาลได้ออกมาตรการช่วยเหลือแรงงานที่ได้รับผลก่อนคือแรงงานและลูกจ้างอิสระ ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19

Rishi Sunak รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของอังกฤษ ได้กล่าวว่า “เราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง รัฐบาลจะยืนเคียงข้างประชาชนไปด้วยกัน” โดยก่อนหน้านี้รัฐบาลอังกฤษถูกตำหนิว่าไม่มีมาตรการออกมารองรับเหล่าแรงงานอิสระเหล่านี้ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของอังกฤษมองว่าแรงงานอิสระกว่า 95% จะได้รับประโยชน์จากมาตรการนี้

มาตรการช่วยเหลือและเยียวยาแรงงานอิสระที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ของรัฐบาลอังกฤษ เช่น

  1. ถ้าหากแรงงานที่ลงทะเบียนในช่วงปี 2018-19 เพื่อขอเงินภาษีในเดือนมกราคมไม่ทัน สามารถยื่นขอเงินคืนได้
  2. เงินชดเชยสูงสุด 80% ขึ้นอยู่กับเงินเดือนแต่ละราย  สูงสุดที่ 2,500 ปอนด์ต่อคน เป็นเวลา 3 เดือน
  3. แรงงานอิสระยังสามารถทำงานต่อเนื่องไปได้เลย และสามารถรับเงินชดเชยอีกทางจากรัฐบาลได้
  4. ผู้ที่ผ่านคุณสมบัติที่จะได้รับเงิน ทางสรรพากรอังกฤษจะติดต่อไปเอง

อย่างไรก็ดีถ้าหากเป็นแรงงานอิสระที่จดทะเบียนบริษัทไว้ และจ่ายเงินเดือนตัวเองด้วยเงินปันผลจากบริษัท จะไม่เข้าข่ายที่ได้รับเงินก้อนนี้ คาดว่าแรงงานอิสระในอังกฤษตั้งแต่ 3.8 ล้านรายจะได้รับเงินชดเชยนี้ โดยเงินชดเชยก้อนนี้จะเริ่มมีผลตั้งแต่เดือนมีนาคม และจะจ่ายจริงๆ ในเดือนมิถุนายน

นอกจากนี้ สส. จากพรรคแรงงานมองว่าเม็ดเงินที่จะจ่ายจริงๆ ในเดือนมิถุนายนอาจช้าไปแล้ว และแรงงานรวมไปถึงผู้ประกอบการอาจได้รับผลกระทบไปแล้วด้วยซ้ำ สอดคล้องกับผู้ประกอบการร้านอาหารที่มองว่ารัฐบาลอังกฤษจะสามารถจ่ายค่าจ้างชดเชยได้เมื่อไหร่ หลังจากที่ผู้ประกอบการร้านอาหารเริ่มประสบปัญหาชักหน้าไม่ถึงหลัง

ขณะที่พนักงานเงินเดือนประจำนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคาดว่าจะประกาศมาตรการออกมาในสัปดาห์หน้า ซึ่งก็ได้รับเงินเดือนชดเชย 80% เท่ากัน

ที่มา – CNBC, BBC [1], [2]

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

mm
Content Writer ที่สนใจในเรื่องของตลาดทุนทั้งในและต่างประเทศ กลุ่ม TMT (Technology, Media, Telecom) การควบรวมกิจการ (M&A) นโยบายทางเศรษฐกิจของไทยและต่างประเทศ รวมถึงสิ่งละอันพันละน้อยทางธุรกิจที่น่าสนใจ