รัชกร ชยาภิรัต หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารนวัตกรรมทางดิจิทัลลูกค้าธุรกิจ ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี (ttb) กล่าวถึงที่มาของ ttb business one ว่าการออกผลิตภัณฑ์ หรือโซลูชันใหม่ ๆ สิ่งสำคัญคือการคำนึงถึงประสบการณ์และความต้องการของลูกค้า โดยเฉพาะ SME เราต้องการทำให้ลูกค้าบริหารเงินได้ดีขึ้น มีชีวิตทางการเงินที่ดีและธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน ดังนั้นเราจึงพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ทำได้มากกว่าแค่ทำธุรกรรมซื้อขายรับจ่ายโอนเงินซัพพลายเออร์ จ่ายภาษี และจ่ายเงินเดือนพนักงาน เพื่อตอบโจทย์ SME ให้ครอบคลุมการใช้งานอย่างแท้จริง
แนวทางการพัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับ SME เริ่มจากการแก้ปัญหาหลัก 3 เรื่องใหญ่ ดังนี้
หนึ่ง ปัญหาการเข้าหลายระบบ ลูกค้า SME จะโอนเงินในประเทศต้องเข้าระบบหนึ่ง บริหารอัตราแลกเปลี่ยนก็ต้องเข้าอีกระบบหนึ่ง
สอง การใช้ระบบ Internet banking กับ Mobile banking ที่เดิมยังแยกกัน ทำให้ลูกค้า SME เสียเวลา เราจึงหาทางพัฒนาให้ทั้งสองระบบรวมกันอยู่ในที่เดียวเพื่อลดระยะเวลาในการทำธุรกรรม
สาม เรื่อง Personalization ซึ่งโดยปกติลูกค้าธุรกิจจะมีการใช้งานฟังก์ชันมากกว่าลูกค้าที่เป็นบุคคลธรรมดาเพราะมีธุรกรรมที่ซับซ้อน เช่น การโอนเงิน การบริหารเงิน บริหารอัตราแลกเปลี่ยน แต่ก่อนหน้านี้ ไม่สามารถเลือกใช้ระบบที่เหมาะสมกับความต้องการของตัวเองได้
หลังจากได้เปิดตัว ttb business one ออกมาให้บริการปลายปีที่ผ่านมา ปรากฏว่ามีลูกค้า SME เข้ามาใช้งานเป็นจำนวนมาก มีจำนวนรายการผ่านช่องทางดิจิทัลมากขึ้นถึง 160% ภายในระยะเวลา 12 เดือน ถือว่าได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี อีกทั้งการทำธุรกรรมระหว่างช่องทางดิจิทัลกับช่องทางสาขา เปลี่ยนจาก 40% ต่อ 60% มาเป็น 80% ต่อ 20%
และเมื่อเร็ว ๆ นี้ ttb business one นี้ยังได้รับรางวัน Best Digital Transformation Implementation in Thailand จากเวที The Asian Banker Thailand Awards 2021 ตอกย้ำถึงแนวทางพัฒนาดิจิทัลแพลตฟอร์มที่มีเป้าหมายและฟีเจอร์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าธุรกิจได้อย่างแท้จริง
ต่อยอด พัฒนาสู่โมบายแอปพลิเคชัน
หลังจากที่ธนาคารวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าพบว่าลูกค้า SME นิยมใช้ Mobile banking มากกว่า Internet banking ถึง 2.3 เท่า และการใช้ผ่าน Mobile banking ที่มีแพลตฟอร์มตอบโจทย์ครบเป็นสิ่งที่ดีกว่าและสะดวกกว่า เราจึงนำประโยชน์และฟีเจอร์ที่เป็นจุดแข็งของ ttb business one มาไว้ใน Mobile banking และทำให้ Internet banking และ Mobile banking สามารถใช้ข้อมูลทุกอย่างเหมือนกันใน Profile เดียวกัน ข้อมูลทุกอย่างเชื่อมโยงกัน เพื่อให้ลูกค้า SME ใช้งานได้ง่ายกว่าเดิมในระยะเวลาที่เร็วขึ้น
การพัฒนาเป็น ttb business one โมบายแอปพลิเคชัน ใช้แนวคิดของ Agile ที่การทำให้ขั้นตอนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ง่ายขึ้น เร็วขึ้นกว่าขั้นตอนปกติ คือเมื่อรู้ถึงความต้องการของลูกค้าแล้ว ก็เริ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการออกมาเพื่อทดสอบและรับข้อคิดเห็นจากลูกค้าทันที เพื่อปรับแก้ให้ตอบโจทย์การใช้งานของลูกค้า SME มากที่สุด โดยไม่ต้องรอให้ผลิตภัณฑ์ หรือ บริการเสร็จสมบูรณ์ 100% ซึ่งปกติกว่าจะออกผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ ต้องใช้เวลาถึง 9 เดือน แต่เมื่อใช้แนวคิดของ Agile ทำให้ออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ได้เร็วขึ้น อาจใช้เวลาเพียง 3 เดือน เท่านั้น
ttb business one โมบายแอปพลิเคชัน มาพร้อมความพิเศษของ 7 ฟีเจอร์สุดล้ำที่ช่วยลดต้นทุนให้ธุรกิจ SME
หนึ่ง Smart Payment โอนเงินสะดวกเพราะมีระบบช่วยแนะนำวิธีการโอน จากการสำรวจพฤติกรรมของลูกค้า SME พบว่า เวลาเข้าทำธุรกรรมใน Internet banking ต้องคลิกประมาณ 7 คลิก ฟีเจอร์นี้ จึงออกแบบแนวทางการทำธุรกรรมให้ง่ายที่สุดด้วยระบบช่วยแนะนำวิธีการโอนที่ทำให้ SME โอนเงินสะดวกขึ้น
สอง Smart Statement แสดงรายการข้อมูลธุรกรรมครบถ้วนเมื่อลูกค้า SME เข้ามาเช็คยอดการโอนเงินจะเห็นได้ทันที เช่น รับเงินโอนจากใครเพราะมีการออกแบบให้เห็น statement หลังโอน ทำให้เคลียร์บัญชีได้เร็ว ลดระยะเวลาสำหรับการทำธุรกรรมทางการเงิน และทำให้ธุรกิจของลูกค้า สะดวกคล่องตัว มีประสิทธิภาพมากขึ้น
สาม Smart Dashboard เห็นภาพรวมการเงินได้ครบถ้วนและรวดเร็ว SME จะเห็นภาพรวมการเงินได้ครบถ้วนและรวดเร็ว เช่น ยอดขายเป็นอย่างไร มีกระแสเงินสดหมุนเวียนเท่าไร มีวงเงิน OD (สินเชื่อเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชี) เหลือในธนาคารเท่าไร
สี่ Smart Search ค้นหารายการสะดวก แค่พิมพ์ Keyword ผ่าน Live Search จากเดิมที่เวลาเข้าถึงข้อมูล ต้องเข้าหลายแพลตฟอร์มแต่เมื่อรวมทุกอย่างอยู่ที่เดียวกัน ลูกค้า SME จึงสามารถค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ได้ทันที เช่น จ่ายเงินภาษีเมื่อไร รับเงินจากใคร ไม่ต้องเข้าหลายระบบ เหมือนยก Google มาให้ใช้ได้เลย
ห้า Mobile Authorization จะอนุมัติกี่รายการก็ง่าย สามารถอนุมัติได้หลายรายการ ง่าย ๆ ในครั้งเดียว ช่วยเพิ่มความสะดวกให้กับผู้บริหาร SME เมื่อต้องเดินทางบ่อยหรืออยู่ในออฟฟิศ ไม่จำเป็นต้องหยิบแล็ปท็อปมาหาข้อมูล สามารถดูในมือถือได้เลยว่า ทำให้เห็นข้อมูลที่รออนุมัติเร่งด่วน และสามารถอนุมัติทีละรายการหรือหลายรายการในทีเดียวได้
หก Quick View เรียกดูรายการเดินบัญชีล่าสุด 3 รายการแรกทำให้ SME เข้าถึงข้อมูลได้เร็วและง่าย เมื่อเห็นยอดเงินบัญชีย้อนหลังสามารถรู้ได้ทันทีว่า รายการล่าสุดทำอะไร เช่น ใครโอนเงินเข้ามาหรือโอนเงินไปให้ใคร
เจ็ด Group Company View มองเห็นภาพรวมทั้งกลุ่มบริษัทได้ทุกบัญชี สำหรับ SME เมื่อมีหลายบริษัท ทำธุรกรรมครั้งหนึ่งก็ต้องเข้าหลายบัญชี มีห้าบัญชีก็ต้องเข้าห้าครั้ง ttb business one โมบายแอปพลิเคชัน จึงรวมทุกอย่างในหนึ่งระบบ จะทำให้เห็นว่าบริษัทแม่มีเงินคงเหลือเท่าไร บริษัทลูกมีเงินเท่าไร
ทิศทางกลยุทธ์สำหรับการแข่งขันด้านดิจิทัลของทีเอ็มบีธนชาตในปี 2565
รัชกร กล่าวว่า ยุคนี้คือการแข่งขันผ่านระบบดิจิทัล ต้องเน้นการออกผลิตภัณฑ์ให้เร็วบนแพลตฟอร์มใหม่ โดยเฉพาะลูกค้า SME จะมีความซับซ้อนมากกว่าลูกค้าที่เป็นบุคคลธรรมดา ถ้าเราสามารถเข้าไปช่วยแก้ปัญหาและออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ง่ายต่อการใช้งานได้ ก็จะตอบโจทย์ลูกค้าได้มากขึ้น ดังนั้น แนวทางการพัฒนาแพลตฟอร์มขั้นต่อไปก็จะพัฒนาจากความต้องการแก้ไขปัญหาให้ลูกค้าเป็นหลักและจะเริ่มต่อยอดผลิตภัณฑ์และบริการจาก ecosystem ของลูกค้าธุรกิจให้มากขึ้น เช่น ในกลุ่มของ supply chain ได้แก่ การสร้างแพลตฟอร์มสำหรับลูกค้าและคู่ค้าของ SME ต่อไป
อย่างไรก็ดี การพัฒนาแต่เทคโนโลยีอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอ เครื่องมือดิจิทัลที่ดีนั้นจะต้องตอบโจทย์เรื่อง Human Touch ด้วย ซึ่งทีเอ็มบีธนชาตมีการฝึกฝนทีมงานในการทำงานตลอดเวลา จนมีความเข้าใจจากการลงมือปฏิบัติจริง โดยแบ่งทีมออกไปพบลูกค้าเพื่อรับฟังข้อคิดเห็น และ feedback ทำให้การออกแบบผลิตภัณฑ์ของธนาคารสามารถตอบโจทย์ธุรกิจในยุคดิจิทัลที่ต้องการความเร็ว แปลกใหม่ ขณะเดียวกันก็ตอบสนองความต้องการของลูกค้าธุรกิจได้หลากหลายมากขึ้น นำไปสู่ชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นและช่วยให้ธุรกิจของลูกค้าเติบโตได้อย่างมั่นคง
สำหรับผู้ประกอบการ SME ที่สนใจใช้บริการ ttb business one โมบายแอปพลิเคชันสามารถเข้ามาดูรายละเอียดได้ที่ https://www.ttbbank.com/ttb/ttb-business-one/index.html หรือศูนย์บริการลูกค้าธุรกิจ ทีทีบี 02-643-7000 ในวันทำการธนาคาร วันจันทร์ – วันเสาร์ เวลา 08.00 – 20.00 น. (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์และวันหยุดธนาคาร)
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา