ทรู เร่งเครื่องดันผู้ใช้งาน True iService หวังสร้างประสบการณ์ ลดลูกค้าใช้บริการที่สาขา

ทรู อัปเดตฟีเจอร์ใหม่แอป True iService ให้ลูกค้าได้ใช้งานได้เหมือนใช้บริการที่สาขาหรือ Call center ให้มากที่สุด หวังลดความหนาแน่นของลูกค้าลงที่สาขา 80% พร้อมสร้างความชัดเจนของการใช้งานในแต่ละแอปที่อยู่ภายใต้ ทรู คอร์ปอเรชั่น ตั้งเป้าดันผู้ใช้งานสิ้นปีนี้ให้เกิน 15 ล้านราย

นิติธรรม โกวิทกูลไกร หัวหน้าสายงานด้านผลิตภัณฑ์และบริการ บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น เปิดเผยว่า บริการ True iService เริ่มให้บริการครั้งแรกในปี 2558 ในรูปแบบแอปพลิเคชัน ซึ่งมีไว้สำหรับชำระค่าบริการเท่านั้น แต่ในปีนี้ตั้งเป้าพัฒนาแอป True iService ให้สามารถทำธุรกรรมต่างๆ ได้เหมือนมาทำได้ที่สาขาให้ได้มากที่สุด ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่ที่มาใช้บริการที่สาขาหรือติดต่อ Call center จะใช้บริการ จ่ายบิล เช็คยอด เติมเงิน เติมเน็ต ช้อปปิ้ง เปิดโรมมิ่ง และ แจ้งปัญหาการใช้งาน การพัฒนาฟีเจอร์ของ True iService ในครั้งนี้คาดว่าจะทำให้ลูกค้ามาใช้บริการที่สาขาและ Call center ลดลงได้ถึง 80% และจะทำให้พนักงานให้บริการกับลูกค้าอย่างเต็มประสิทธิภาพ

“กลุ่มคนที่อายุเกิน 50 ปีขึ้นไปยังคงใช้บริการจ่ายค่าบริการต่างๆ ผ่านสาขาต่อไป เราคงจะไปเปลี่ยนพฤติกรรมคนกลุ่มดังกล่าวไม่ได้ แต่กลุ่มที่จะมาดันผู้ใช้งาน True iService ให้เพิ่มขึ้นต่อจากนี้ ก็จะเป็นคนกลุ่มมัธยมตอนปลาย ถึงกลุ่มคนเริ่มต้นทำงาน และกลุ่มวัยทำงาน ที่จะเน้นความสะดวกสบายในการทำธุรกรรมต่างๆ โดยไม่ต้องเดินทางไปที่สาขา ในปัจจุบัน มีผู้ใช้งาน True iService ประมาณ 30 ล้านหมายเลข จากลูกค้าทั้งหมดของทรูและดีแทคกว่า 50 ล้านหมายเลข หากนับเป็นจำนวนผู้ใช้งานจะมีประมาณ 12 ล้านราย เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 30% เป้าหมายในปีนี้เราอยากได้ผู้ใช้งานได้มากกว่า 15 ล้านราย”

ปัจจุบัน True iService มีการใช้งานเฉลี่ยต่อครั้งประมาณ 1 นาที ลูกค้าส่วนใหญ่จะเข้ามาชำระค่าบริการเพียงรายการเดียว ซึ่ง นิติธรรม ตั้งใจว่าอยากให้ผู้ใช้งานได้ใช้งานในแอปนานมากกว่านี้ จึงได้เพิ่มในส่วนของสิทธิพิเศษต่างๆ ที่พิเศษเฉพาะการใช้งานผ่าน True iService เท่านั้น รวมไปถึงการแจกคูปอง ส่วนลดต่างๆ ซึ่งจะทำให้ลูกค้าได้มีประสบการณ์การใช้งานแอป และจะไปต่อยอดการใช้บริการอื่นๆ เช่นบริการเสริมต่างๆ ได้อีกด้วย และเร็วๆ นี้ลูกค้าดีแทคจะสามารถชำระค่าบริการผ่าน True iService รวมไปถึงได้สิทธิพิเศษต่างๆ ไม่ต่างจากลูกค้าทรู

นอกจากนี้ยังนำ Generative AI เสริมทัพใน True iService โดยสามารถวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้ใช้งานตลอดจนช่วยเหลือ และแนะนำบริการได้อย่างแม่นยำตรงความต้องการ ผ่านการยกระดับ Mari AI ด้วย Mari Chat (คุยกับมะลิ) ร่วมกับ Chat GPT มาใช้ให้เกิดการเรียนรู้เพิ่มเติม เพื่อให้บริการกับลูกค้าอย่างเข้าใจมากขึ้นและตรงความต้องการ ให้บริการลูกค้าครอบคลุม ครบครันและให้คำแนะนำ แก้ปัญหาเบื้องต้น หากเป็นปัญหาที่ซับซ้อนไปกว่าทางระบบจะแก้ไขได้ ก็จะส่งเคสไปยังพนักงานดูแลต่อไป

สร้างความชัดเจน True iService, TrueID และ TrueMoney

ประเด็นเรื่องที่ทรูออกแอปพลิเคชันภายใต้ชื่อ True ไม่ว่าจะเป็น True iService, TrueID และ TrueMoney ซึ่งเป็นสามแอปพลิเคชันหลักที่ทางทรู คอร์ปอเรชั่น วางไว้เป็นหลัก อาจจะสร้างความสับสนให้กับผู้ใช้งานถึงความซ้ำซ้อนในแต่ละฟีเจอร์การใช้งาน นิติธรรม ชี้แจงว่า ในปีนี้ จะทำให้แต่ละแอปมีความชัดเจนมากขึ้น ลดความทับซ้อนของฟีเจอร์ในแต่ละแอปพลิเคชัน อย่าง True iService จะเป็นแอปที่รวบรวมบริการต่างๆ ภายใต้ ทรู คอร์ปอเรชั่น ไม่ว่าจะเป็น TrueMove H, TrueOnline และ TrueVisions รวมบริการทุกอย่างไว้ที่แอปนี้ที่เดียว ส่วน TrueID จะเป็นแอปพลิเคชันที่เป็นศูนย์รวมความบันเทิงต่างๆ และสุดท้าย TrueMoney เป็นแอปพลิเคชันที่ให้บริการธุรกรรมทางการเงิน ในอนาคตอันใกล้ยังไม่มีแผนที่จะรวมทั้ง 3 แอปพลิเคชัน ไว้เป็นแอปเดียวกัน ซึ่งก็จะเร่งดำเนินการที่จะทำให้

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา