จากผลสำรวจล่าสุดของเทเลนอร์ เอเชีย พบว่า 93% ของผู้ตอบแบบสำรวจในประเทศไทยใช้โทรศัพท์มือถือทำธุรกรรมกับธนาคาร หรือไม่ก็จัดการด้านการเงินเป็นประจำทุกสัปดาห์ และ 55% กำลังลงทุนออนไลน์เพื่อสร้างรายได้ใหม่
สิ่งนี้ตอกย้ำให้เห็นว่าเทคโนโลยีโมบายล์เริ่มมีความละเอียดอ่อนและก่อให้เกิดผลกระทบ ทรู คอร์ปอเรชั่น ในฐานะบริษัทเทเลคอม เทคคอมปานีชั้นนำของไทย มีพันธกิจที่จะสร้างโอกาสทางดิจิทัลอย่างยั่งยืน ดังนั้น การต่อต้านการทุจริตจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญของกลยุทธ์บริษัทเพื่อให้มั่นใจว่าบริการต่างๆ ครอบคลุมและทั่วถึง ปลอดภัย ในราคาที่เป็นธรรม
บริษัทมีการจัดตั้งหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลธรรมาภิบาลโดยเฉพาะเพื่อให้มั่นใจว่าพนักงานทุกคนปฏิบัติตามมาตรฐานสูงสุดทางกฎหมายและจริยธรรม ในการให้สัมภาษณ์ครั้งนี้ หน่วยงานด้านการกำกับดูแลจริยธรรมองค์กรหรือด้านธรรมาภิบาลของบริษัท จะมาร่วมแบ่งปันมุมมอง สิ่งที่ขับเคลื่อนการทำงานของพวกเขาและความท้าทายใหม่ๆ ที่กำลังเผชิญอยู่
อรนุช สุขอนันต์ชัย ได้ขึ้นดำรงตำแหน่ง หัวหน้าสายงานกำกับดูแลและตรวจสอบเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เธอกล่าวว่า “งานนี้สอดคล้องกับประสบการณ์โดยตรงที่ผ่านมาของดิฉัน ด้วยเคยบริหารทีมใหญ่อีกทั้งมีหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพการขาย ทั้งในด้านเทเลเซลล์และการทำงานของคอลล์เซ็นเตอร์ สำหรับดิฉัน การต่อต้านการทุจริตคือการสร้างความเชื่อมั่น เราต้องการเป็นผู้เติมเต็มและเป็นที่ปรึกษาที่น่าเชื่อถือให้กับบริษัท ไม่ใช่เป็นผู้ใช้อำนาจบังคับหรือเป็นฝ่ายสนับสนุนที่อยู่เพียงเบื้องหลัง”
ตั้งแต่ปี 2562 ทรู คอร์ปอเรชั่น ได้รับการจัดอันดับดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ และตอนนี้ ยังคงครองแชมป์ที่หนึ่งในการประเมินด้านความยั่งยืนของ S&P Global ในกลุ่มอุตสาหกรรมโทรคมนาคมทั่วโลก โดยได้ 100 คะแนนเต็มในด้านการบริหารจัดการความเสี่ยงและภาวะวิกฤติ ซึ่งทีมเล่าว่าพวกเขาบรรลุเป้าหมายนี้ได้ ด้วยการให้ ข้อมูลที่ทันท่วงทีเกี่ยวกับการปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาล รวมถึง Best Practice และเกณฑ์มาตรฐานเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการปฏิบัติตามกฎระเบียบของบริษัท
ภัคณัฎฐ์ศิริ อนันต์เสวก ผู้เชี่ยวชาญในทีม กล่าวว่า “ในฐานะเทเลคอม เทคคอมปานีระดับโลก ทรู คอร์ปอเรชั่นต้องรักษาความไว้วางใจของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ตั้งแต่ลูกค้า นักลงทุน และพนักงาน การต่อต้านทุจริตเป็นข้อกำหนดที่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ต้องยึดถือปฏิบัติ แต่ที่สำคัญอย่างยิ่ง ด้วยเพราะเราเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีและการสื่อสาร”
ทีมกำกับดูแลธรรมาภิบาล ต้องการเป็นที่หนึ่งในการปลูกฝังค่านิยมและวัฒนธรรมทางจริยธรรมขององค์กร ซึ่งเป็นการกำหนดแนวทางจากผู้บริหารระดับสูงลงมา สร้างตัวอย่างที่ดี สร้างแรงบันดาลใจและเสริมสร้างพลังให้พนักงานทำในสิ่งที่ถูกต้อง ซึ่งทีมจะใช้วิธีการต่างๆ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและให้ความรู้แก่พนักงาน เช่น การฝึกอบรมทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ จดหมายข่าว Newsletter ตลอดจนโปรแกรมยกย่องชมเชยต่างๆ อีกทั้งยังสนับสนุนให้พนักงานกล้าพูดและรายงานสิ่งที่เป็นข้อกังวลใดๆ หรือการละเมิดต่างๆ
หัวหน้าฝ่ายจริยธรรมและกำกับดูแลธรรมาภิบาล อิ๊ ตันดา วิน กล่าวว่า “ดิฉันมาจากเมียนมาร์ ประเทศที่มีดัชนีการทุจริตสูงมาก ส่งผลให้การพัฒนาประเทศล่าช้าในทุกระดับ นั่นเป็นเหตุผลทำไมดิฉันจึงมุ่งมั่นที่จะต่อสู้กับการทุจริต เพราะเมื่อใดที่การทุจริตเริ่มต้น ก็จะสามารถแพร่กระจาย และทำลายชื่อเสียงของทั้งองค์กร”
ด้วยธรรมชาติของเทคโนโลยี หน่วยงานกำกับดูแลธรรมาภิบาล ต้องจัดการกับสภาพแวดล้อมด้านกฎระเบียบที่ซับซ้อนและมีการปรับปรุงพัฒนาอยู่ตลอดเวลา รวมถึงภูมิทัศน์ของธุรกิจที่หลากหลายและเปลี่ยนแปลงอย่างไม่หยุดนิ่ง จึงต้องสร้างสมดุลระหว่างการปฏิบัติตามกฎระเบียบและความต้องการด้านนวัตกรรมและให้เกิดความคล่องตัว
“ในฐานะเทคคอมปานี เราต้องระมัดระวังและปกป้องผู้บริโภคของเราในทุกมิติ เช่น การป้องกันการฉ้อโกงและความเป็นส่วนตัวของข้อมูล เราเตรียมความพร้อมตลอดเวลาเพื่อรับมือกับความเสี่ยงใหม่ๆ กระตุ้นเพื่อนร่วมงานให้ตื่นตัวอยู่เสมอ ดังนั้น การปฏิบัติตามกฎระเบียบองค์กรและธรรมาภิบาลมีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนผ่านประเทศสู่การเป็น Thailand 4.0” อรนุช กล่าว
หน่วยงานกำกับดูแลธรรมาภิบาล กล่าวว่า การมีวัฒนธรรมปฏิบัติตามกฎระเบียบองค์กรที่แข็งแกร่งจะสร้างสถานที่ทำงานที่มีจรรยาบรรณและความซื่อสัตย์มากขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อบริษัทในระยะยาว โดยมุ่งมั่นที่จะเป็นที่หนึ่งในการปลูกฝังค่านิยมและวัฒนธรรมทางจริยธรรมให้เกิดขึ้นในองค์กร โดยกำหนดแนวทางจากผู้บริหารระดับสูงลงมา สร้างแรงบันดาลใจและเสริมสร้างพลังให้พนักงานทำในสิ่งที่ถูกต้อง
ตันดา วิน ยังกล่าวอีกว่าคอร์รัปชัน สามารถส่งผลกระทบโดยตรงต่อลูกค้าได้ “หากผู้รับเหมาจ่ายสินบนเพื่อเรียกเก็บเงินจากบริษัทในราคาที่สูงเกินจริง ต้นทุนนั้นก็จะถูกส่งต่อไปยังผู้บริโภค ความเสี่ยงอีกประการหนึ่ง คือการมีคนพยายามซื้อการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมการต่อต้านการทุจริตจึงสำคัญมากต่อการปกป้องลูกค้าของเรา”
ทั้งนี้ ทีมงาน จะมีการติดตามผลการปฏิบัติงานของพนักงานว่าเป็นไปตามข้อกำหนดและความคาดหวังหรือไม่ผ่านทางแดชบอร์ดของหน่วยงาน ขณะเดียวกันจะมีการตรวจสอบ ทบทวน รวมถึงทำการสำรวจความคิดเห็นและจะรายงานตัวเลขไปยังคณะกรรมการ รวมถึงภายนอกองค์กรเพื่อหาสิ่งที่ต้องปรับปรุง
อรนุช กล่าวว่า “เรามีเป้าหมายที่จะสร้างวัฒนธรรม ‘Speak Up’ ที่ทุกคนสามารถแสดงความคิดเห็น พร้อมมีกระบวนการที่มีประสิทธิภาพในการปกป้องพวกเขา ซึ่งจะทำให้เรารู้สิ่งที่ต้องปรับปรุงและสิ่งที่ต้องแก้ไข อย่างไรก็ตาม การมีเพียงช่องทางการรายงานยังไม่เพียงพอ ผู้บริหารระดับสูงจะต้องสื่อสารถึงความมุ่งมั่นและส่งเสริมให้พนักงานใช้สายด่วนฮอตไลน์ด้วย”
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา