พาไปดูกรณีศึกษาธุรกิจชมชุนข้าวแตนขอนแก่นที่โตโยต้าช่วยเสริมกำลังให้เติบโตอย่างยั่งยืน 

โตโยต้าถือเป็นอีกแบรนด์ที่ทำกิจกรรมร่วมพัฒนาสังคมมาตลอด โดยโตโยต้ามีโครงการหนึ่งคือ โตโยต้าธุรกิจชุมชนพัฒน์ เป็นโครงการที่นำแนวคิดและผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในโตโยต้า ไปช่วยธุรกิจชุมชน SME ให้โตได้อย่างยั่งยืน แชร์องค์ความรู้ วิธีการเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และการจัดการภายในให้มีประสิทธิภาพเพื่อให้ธุรกิจอยู่ได้

หนึ่งในธุรกิจที่โตโยต้าเข้าไปช่วยจนประสบความสำเร็จคือ กลุ่มข้าวแตนสมุนไพรสายทิพย์ บ้านโคกสว่าง จังหวัดขอนแก่น ที่ปัจจุบันผลิตข้าวแตนได้วันละเป็นร้อย มีรายได้มั่นคง เลี้ยงตนเองและคนทำงานคนอื่นๆ ได้อย่างยั่งยืน

ด้วยเหตุนี้ โตโยต้าจึงร่วมกับนิตยสาร SME Thailand จัดกิจกรม ONE DAY TRIP พาผู้ประกอบการธุรกิจเอสเอ็มอีในจังหวัดขอนแก่นและพื้นที่ใกล้เคียง ตลอดจน Influencer บนสื่อโซเซียล และสื่อมวลชน เยี่ยมชมกิจการ “กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านโคกสว่าง ผู้ผลิตข้าวแตนสมุนไพรสายทิพย์ เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม ที่ผ่านมา พาไปเรียนรู้ว่าแนวคิดที่โตโยต้าใช้ในการดำเนินกิจการ สามารถปรับใช้กับธุรกิจเล็กได้ และได้ผลดีด้วย

ทำความรู้จักแนวคิด “ไคเซ็น”

แนวคิดสำคัญที่โตโยต้าถ่ายทอดสู่ชุมชนคือ ไคเซ็น มาจากภาษาญี่ปุ่น 改善 ซึ่งแปลว่า “การปรับปรุง โดยคำนี้มาจากคำว่า 改 – Kai ที่แปลว่า “การเปลี่ยนแปลง” และ 善 – Zen ที่แปลว่า “ดี” แนวคิด Kaizen จึงหมายถึงหลักในการปรับปรุงและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น เมื่อผสานกับหัวใจการผลิตของโตโยต้าคือ ส่งมอบของที่ใช่ ด้วยปริมาณที่ใช่ ในเวลาที่ต้องการ ควบคุมต้นทุนคุณภาพให้เหมาะสม ซึ่งจะนำไปสู่ความพึงพอใจของลูกค้า รายได้มั่นคงของพนักงาน และผลประหอบหารที่ยั่งยืนของบริษัท

จะเห็นได้ว่าแนวคิดนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของการทำธุรกิจไม่ว่าจะใหญ่หรือเล็ก ดังนั้น ไคเซ็นจึงเป็นเรื่องของทุกคน ไม่ใช่แค่ธุรกิจใหญ่เพียงอย่างเดียว

กรณีศึกษาไคเซ็น ประยุกต์ใช้โดยกลุ่มข้าวแตนสมุนไพรสายทิพย์

ในทริปที่โตโยต้าจัดขึ้นนี้ผู้เข้าร่วมได้เห็นกระบวนการผลิตอย่างละเอียด ซึ่งกลุ่มข้าวแตนสมุนไพรสายทิพย์ยังถือเป็นศูนย์การเรียนรู้ โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์ทางกลุ่มข้าวแตนระบุว่า โตโยต้า ส่งพนักงาน มาร่วมกับเรา สอนให้เรารู้วิธีการทำธุรกิจแบบมืออาชีพ ลดต้นทุน ลดความสูญเสีย เพิ่มกำไร นำระบบ TPS และไคเซ็น มาสอน มาร่วมกันทำ ตั้งแต่หาปัญหา หาวิธีแก้ ให้เราเข้าใจถึงวิธีการ เพื่อจะทำไคเซ็นต่อได้ด้วยตนเอง

สิ่งที่กลุ่มข่าวแตนได้เรียนรู้และนำไปต่อยอดคือ แม้ว่าโตโยต้าจะเข้ามาปรับกระบวนการ ให้เราผลิตได้เร็วขึ้น แต่สิ่งสำคัญ คือ การสอนให้รู้จักระบบ Just in time / เริ่มจาก เปลี่ยน mindset ว่าเราไม่ใช่ผู้ผลิตข้าวแตน แต่เราคือธุรกิจอาหาร

ทางกลุ่มข้าวแตนบอกว่า แม้เราจะผลิตได้เร็ว แต่เราจะไม่ผลิตสินค้ามากองไว้มาก ๆ เพราะหากผลิตมาเกินความต้องการ จะเกิดเป็นต้นทุนจม และเนื่องจากสินค้าเราไม่ใช้สารเคมี ทำให้มีอายุผลิตภัณฑ์สั้น / การผลิตด้วยระบบ Just in time ช่วยให้สินค้าเราสดใหม่อยู่เสมอ

เราทำงานโดย ใช้คำสั่งซื้อของลูกค้า เป็นตัวกำหนดการผลิต จะผลิตสิ่งที่ลูกค้าต้องการ ในจำนวนและเวลาที่ต้องการ ทำแผนภาพให้ทุกคนเห็นชัดว่าแต่ละวันเราต้องผลิตกี่แผ่น จะส่งมอบงานวันไหน งานแต่ละออเดอร์อยู่ในกระบวนการใด ง่ายต่อการตรวจสอบและแก้ปัญหา

กระบวนการปกติ อย่างเช่นการหุงและปั้นข้าว ทางกลุ่มข้าวแตนก็ได้นำเอาหลักไคเซ็นมาใช้ เปลี่ยนแม่พิมพ์ข้าวใหม่ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งหมด นอกจากจะทำให้การผลิตมีมาตรฐานแล้ว ยังทำให้ง่ายต่อการวางแผนการใช้วัตถุดิบให้สอดคล้องกับการผลิต เพิ่มจุดทอดข้าว จัดวางตำแหน่งข้าวเวลาโรยน้ำตาลใหม่ ให้สิ้นเปลืองน้อยที่สุด

ปัจจุบัน โครงการโตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์ ดำเนินการปรับปรุงธุรกิจชุมชนแล้วเสร็จ 4 แห่ง มีทั้งธุรกิจเสื้อผ้าที่ จ.กาญจนบุรี, ธุรกิจอาหารที่ จ.ขอนแก่น, ธุรกิจหัตถกรรมเกษตรที่ จ.กระบี่ และธุรกิจผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ และจะขยายโครงการให้ครบ 77 จังหวัดทั่วประเทศในปี 2022

ถือเป็นกรณีศึกษาที่ดี และแสดงให้เห็นว่าแนวคิดบริษัทใหญ่กับธุรกิจรายย่อย สามารถไปด้วยกันได้ และการทำงานร่วมกันก็ช่วยให้โตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา