ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเผยข้อมูลการเปิดใช้สะพานมิตรภาพไทย-เมียนมาแห่งที่ 2 และการเริ่มใช้ความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขงในการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารระหว่างไทย-เมียนมา (IICBTA)
ปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ช่วยให้ขนส่งสินค้าประหยัดเวลาและต้นทุน แถมยังทำให้ไทยเป็นตัวกลางเชื่อมโยงฐานการผลิตทั้ง 3 ประเทศ คือเมียนมา ไทย สปป.ลาว
ความสะดวกดังกล่าว ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่าน่าจะขยายการค้าระหว่างไทย-เมียนมา เพิ่มขึ้นในปี 2563 ทำให้ขยับเป็น 1.05 ถึง 1.1 แสนล้านบาท ขยายตัวที่ 3.0 – 8.0%
พัฒนาการระหว่างพรมแดนไทย-เมียนมาแห่งที่ 2 สร้างผลกระทบเชิงบวกยังไงบ้าง?
- ช่วยบรรเทาความคับคั่งของการขนส่งที่สะพานมิตรภาพไทย-เมียนมาแห่งที่ 1
- แผนขยายเวลาเปิด-ปิดด่าน เอื้อประโยชน์ต่อการขนส่งมากขึ้น
เมียนมาเริ่มใช้ ความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงในการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารระหว่างไทย-เมียนมา และบทเพิ่มเติม กับไทยเป็นประเทศแรกเมื่อ 22 ตุลาคมที่ผ่านมา ส่งผลให้
- รถขนส่งที่ได้รับอนุญาตสามารถข้ามประเทศได้ลึกขึ้น
- มีเวลาอยู่ในแต่ละประเทศนานถึง 30 วัน
- รถบรรทุกเมียนมาสามารถขนสินค้าข้ามมายังด่านแม่สอดไปยังปลายทางได้ 2 ที่ คือท่าเรือแหลมฉบัง จ.กรุงเทพฯ และชายแดน จ.มุกดาหาร
- รถบรรทุกไทยสามารถขนสินค้าจากด่านแม่สอดไปถึงเขตเศรษฐกิจพิเศษติลาวา (Thilawa Speial Economic Zone: SEZ) กรุงย่างกุ้ง (เดิมไปได้แค่เมืองเมียวดี)
- ช่วยย่นระยะเวลา
- ลดต้นทุนค่าขนส่งให้ธุรกิจไทย
- ส่งออกผ่านชายแดนไทยคล่องตัวขึ้นกว่าเดิม
ไทยเป็นแหล่งนำเข้าสินค้าเมียนมาลำดับที่ 3 รองจากจีนและสิงคโปร์ คิดเป็น 13% ของการนำเข้าทั้งหมดของเมียนมา ความได้เปรียบของไทยที่มีพรมแดนติดเมียนมา ทำให้การส่งออกของไทยกว่า 70% ใช้ช่องทางชายแดนระหว่างกันเป็นหลัก
ส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุปโภค บริโภค ที่ส่งผ่านทุกช่องทาง ทั้งด่านระนอง จ.ระนอง ด่านแม่สาย จ.เชียงราย ขณะที่ด่านแม่สอด จ.ตาก เป็นด่านการค้าที่สำคัญที่สุด
สินค้าอาหารและเครื่องดื่มไทยที่ครองส่วนแบ่ง 1 ใน 3 ของนำเข้าสินค้าอาหารเมียนมา และเป็นสินค้าศักยภาพสูง คือ น้ำผลไม้ เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ขนมขบเคี้ยว และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ขณะที่สินค้าที่มีความต้องการสูงและไทยควรเร่งทำตลาด คือ เต้าหู้/ นมถั่วเหลือง/ ครีมเทียม อาหารเด็ก ขนมปัง/ พาสต้า ชา/กาแฟปรุงสำเร็จ อาหารปรุงแต่งทำจากธัญพืช
สินค้าอุปโภคบริโภคและสินค้าสำเร็จรูปที่ใช้ในชีวิตประจำวันของไทยมีคุณภาพ สามารถดึงดูดใจชาวเมียนมาได้มากขึ้น เมียนมานำเข้าสินค้ากลุ่มนี้จากไทยเพิ่ม 2 เท่าตัว คิดเป็น 17.7% ของการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคทั้งหมดของเมียนมา ปี 2561
สินค้าไทยที่มีส่วนแบ่งตลาดสูงและมาแรง
- มอเตอร์ไซค์ ผลิตภัณฑ์พลาสติก สบู่ ยาสระผม เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์โกนหนวด/ ระงับกลิ่นกาย ผ้าอนามัย/ ผ้าอ้อม
สินค้าที่ไทยมีโอกาสแข่งขันตได้ตามความต้กงการนำเข้าเมียนมาที่อยู่ในระดับสูง
- ยารักษาโรคที่ไทยมีส่วนแบ่งการนำเข้า 10.2% (อินเดียมีสัดส่วน 42%) รถยนต์นั่ง สำหรับสินค้าอื่นๆ จีนครองตลาดอยู่
ที่ผ่านมา ความต้องการสินค้าไทยของเมียนมาหดตัวลงต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2560 ตลอดเวลา 9 เดือนแรกมีมูลค่าส่งออกราว 6.8 หมื่นล้านบาท หดตัว 3.9% (YoY)
คาดว่าทั้งปีจะมีมูลค่าใกล้เคียง 1.02 แสนล้านบาท หดตัวที่ราวร้อยละ 3.0 ในปี 2562
การอำนวยความสะดวกระหว่างชายแดนไทยกับเมียนมาบริเวณด่านแม่สอด จ.ตาก น่าจะส่งผลให้ขยับมูลค่าการค้าใกล้เคียง 8 หมื่นล้านบาท ในปี 2563 ขยายตัวเร่งขึ้นราว 14%
ในภาพรวมการส่งออกชายแดนเมียนมา-ไทยปี 2563 จะขยับเป็น 1.05-1.1 แสนล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 3.0-8.0 หลังจากนั้นในปี 2564 การส่งออกผ่านด่านแม่สอน จ.ตาก น่าจะแตะ 1 แสนล้านบาท
การขนส่งเชื่อมโยงเส้นทางเมียนมา-ไทย ทำให้ไทยกลายเป็นประเทศเชื่อมต่อการผลิตของอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงหรือ GMS (Greater Mekong Sub-region) ทำให้รถขนส่งของไทยเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างเขตเศรษฐกิจพิเศษได้ 8 แห่ง ดังนี้
- เขตเศรษฐกิจพิเศษติลาวา เมียนมา
- แนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก คือ เขตเศรษฐกิจพิเศษเมียวดี
- เขตเศรษฐกิจพิเศษพะอัน
- เขตเศรษฐกิจพิเศษเมาะละแหม่งในเมียนมา
- เขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด
- เขตเศรษฐกิจพิเศษมุกดาหารในไทย
- เขตเศรษฐกิจพิเศษสะหวัน-เซโน
- เขตเศรษฐกิจพิเศษแดนสะหวัน ใน สปป.ลาว
ถ้ารถขนส่งไทยสามารถผ่านไปถึงเขตเศรษฐกิจดานัง เขตเศรษฐกิจพิเศษกวางจิ (กวางตรี) เขตเศรษฐกิจพิเศษลาวบาวในเวียดนามสำเร็จ จะทำให้ห่วงโซ่การผลิตของภูมิภาคนี้ครบถ้วนสมบูรณ์มากขึ้น ไทยมีโอกาสดึงดูดการลงทุนต่างชาติมากขึ้นจากการเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าจากฝั่งทะเลอันดามันไปถึงมหาสมุทรแปซิฟิกได้รวดเร็ซเพียง 3 วัน
ที่มา – ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, ASEAN Learning Center
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา