สาเหตุไทยไม่มีสถานทูต “ไต้หวัน” ตามนโยบาย “จีนเดียว”

สาเหตุไทยไม่มีสถานทูต “ไต้หวัน” ตามนโยบาย “จีนเดียว”

เมื่อไม่มีนาทีที่ผ่านมา(เมื่อวันที่ 3 สิงหหาคม 2565)  “Nancy Pelosi” ประธานรัฐสภาแห่งสหรัฐอเมริกา” ได้โดยสารเครื่องบินออกจาก “ไทเป” เเล้ว เมื่อตัวบุคคลไปเเล้ว หลังจากนี้จะต้องลุ้นเเละติดตามกันต่อว่าคนไต้หวันคิดอย่างไร  รวมถึงสถานการณ์ทั่วดลกจะเป็นอย่างไร ขณะที่ “ประเทศจีน” ก็มีการซ้อมรบ แบบใช้ “กระสุน” จริง 

รวมถึงยังคงต้องติดตามท่าทีผู้นำของประเทศไทย ว่าหลังจากนี้จะมีท่าทีอย่างไรกับทั้งประเทศสหรัฐฯและประเทศจีน 

เเต่เมื่อย้อนดูข้อมูลเส้นทางประวัติศาสตร์ทางการเมืองของไทย จีน สหรัฐอเมริกา เเละ ไต้หวัน นั้น 

เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) อดีตนายกรัฐมนตรี ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้เดินทางไปเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนและได้สถาปนาความสัมพันธ์ระหว่างกัน 

เป็นการสิ้นสุดการรับรองสถานะของ “ไต้หวัน” ตามนโยบาย “จีนเดียว” ของรัฐบาลจีนแผ่นดินใหญ่

ตั้งเเต่นั้นเป็นต้นมาประเทศไทยจัดตั้งได้เพียง “สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป” หรือบางทีก็เรียกกันว่า สำนักงานตัวแทนไทเป โดยจริงเเล้วก็ คือ สถานทูตและสถานกงสุลของสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ในประเทศที่ไม่ได้รับรองสถานะของไต้หวันอันเนื่องจากมาความสัมพันธ์กับทางสาธารณรัฐประชาชนจีน 

จึงได้สานความสัมพันธ์กันในเชิงการค้าและวัฒนธรรมแทน การก่อตั้งสำนักงานนี้ใช้คำว่า “ไทเป” แทน “ไต้หวัน” หรือ “สาธารณรัฐจีน” เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการตีความว่าเป็นอีกประเทศหนึ่ง หรือมี “ประเทศจีนสองประเทศ”

โดยการเรียกว่า “สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรม” นี้ ทำให้ไต้หวันสามารถหลีกเลี่ยงปัญหาทางการทูตกับประเทศต่าง ๆ ที่ว่าสาธารณรัฐประชาชนจีนนั้นเป็น “จีนเดียว” โดยการระบุเป้าหมายว่า “เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือระหว่างกันในเรื่อง การค้า, การลงทุน, วัฒนธรรม, วิทยาการ และเทคโนโลยี รวมถึงการสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน” แทนการเป็นตัวแทนทางการทูตของไต้หวันในต่างประเทศ

แต่นอกจากชื่อของสำนักงานแล้ว สำนักงานนี้ก็ปฏิบัติงานทุกอย่างเฉกเช่นเดียวกับสถานทูตหรือสถานกงสุลทั่วไป อย่างเช่น การออกวีซ่า และก็มีสำนักงานของประเทศต่าง ๆ ที่มาจัดตั้งอยู่ในไต้หวันในลักษณะเดียวกัน

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา