นักวิทย์ฯ พบสารอาหารของทุเรียนที่ปลูกในจีน ไม่เหมือนของไทยและอาเซียน

อันนี้ไม่เรียกของก็อปเกรด A เพราะแม้จะปลูกทุเรียนเหมือนกัน แต่สารอาหารที่ได้ไม่เหมือนกัน

นักวิทยาศาสตร์จีนเทียบผลทุเรียนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และของจีนก็พบว่ามีความแตกต่าง ตัวอย่างจากพันธุ์หมอนทอง พบว่าสาร quercetin (เควอซิทิน) ซึ่งเป็นสารที่ให้สีในผักและผลไม้ เป็นสารในกลุ่มไบโอฟลาโวนอยด์ ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ เมื่อเทียบผลทุเรียนกับของไทยแล้ว ในไทยมีสารนี้จำนวนมากกว่าทุเรียนที่ปลูกในจีน

durian

นักวิจัยจาก Hainan Academy of Agricultural Sciences พบว่า สารอาหารที่พบในจีนแตกต่างจากที่อื่น เช่น สารเควอซิทินที่มักพบในทุเรียนสายพันธุ์ “ก้านยาว” แต่ในจีนก็มีระดับที่น้อยกว่าพันธุ์เดียวกันที่ปลูกในต่างประเทศ 520 เท่า และยังต่ำกว่าพันธุ์หมอนทองในไทยมากถึง 5.4 แสนเท่า

นอกจากนี้ นักวิจัยยังไม่พบสาร Gallic ในทุเรียนก้านยาวที่ปลูกในจีนอีกด้วย ซึ่งสาร Gallic มักพบในพืช ซึ่งมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบ ต้านมะเร็ง

เมื่อย้อนกลับไปที่งานศึกษาตั้งแต่ปี 2008 ก็พบว่า ทุเรียนไทยนั้นมีสาร gallic ประมาณ 2,072 ไมโครกรัมต่อทุเรียนหมอนทอง 100 กรัม ซึ่งก็สูงกว่าที่พบในจีนถึง 906 เท่า ในจีนพบ 22.85 นาโนกรัมต่อทุเรียน 1 กรัม นักวิจัยมองว่าอากาศที่แตกต่างส่งผลต่อสารอาหารในทุเรียน ซึ่งสารต้านอนุมูลอิสระมักพบในทุเรียนที่นำมาศึกษาทั้ง 3 สายพันธุ์ คือหมอนทอง ก้านยาว และมูซานคิง

ที่มา – SCMP

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา