สมาคมผู้ค้าปลีกไทย เผย ค้าปลีกไทยเข้าขั้นวิกฤต สถานการณ์โควิด-19 ทำดัชนีความเชื่อมั่นต่ำที่สุดในรอบ 16 เดือน คิดเป็นมูลค่าความเสียหายกว่า 2.7 แสนล้านบาท
สมาคมผู้ค้าปลีกไทย เปิดเผยข้อมูลสถานการณ์ค้าปลีกไทยวิกฤตหนัก ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ค้าปลีกเดือนกรกฎาคม 2564 ต่ำที่สุดในรอบ 16 เดือน ติดลบ 70% คิดเป็นมูลค่าความเสียหาย 2.7 แสนล้านบาท กระทบกับร้านค้า 1 แสนแห่ง เตรียมปิดกิจการ ส่งผลต่อการจ้างงานกว่าล้านคน
โควิด-19 ระลอกนี้ รุนแรงกว่าเมื่อปีที่แล้ว
สาเหตุที่ทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ค้าปลีกในช่วงเดือนกรกฎาคมติดลบถึง 70% ฉัตรชัย ตวงรัตนพันธ์ รองประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย ให้ความเห็นว่าเป็นเพราะ การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้ารุนแรงกว่าการระบาดระลอกแรกเมื่อปีที่แล้ว รวมถึงนอกจากนี้มาตรการล็อคดาวน์และเคอร์ฟิวในเดือนสิงหาคมที่ปัจจุบันได้ขยายจังหวัดคุมเข้มสูงสุด เป็น 29 จังหวัด ส่งผลให้ภาคค้าปลีกต้องใช้เวลานานกว่าจะฟื้นตัวสู่ระดับปกติซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นช่วงกลางปี 2566
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ค้าปลีก อยู่ในระดับที่ 16.4 คิดเป็นสัดส่วนที่ติดลบกว่า 70% ถือว่าตำ่ที่สุดในรอบ 16 เดือน โดยยอดขายที่ลดลงเกิดจากการใช้จ่ายต่อบิล และความถี่ในการใช้จ่ายลดลงพร้อมกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่สมาคมผู้ค้าปลีกไทยมองว่าจะต้องใช้เวลาในการฟื้นตัว
ในช่วงครึ่งปีหลัง ปี 2564 สมาคมผู้ค้าปลีกไทย คาดการณ์ว่าภาคการค้าปลีก และบริการจะ “ทรุดหนัก” การเติบโตโดยรวมในปีนี้มีแนวโน้มติดลบทั้งปี
ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นผู้ค้าปลีกในช่วง 3 เดือนข้างหน้า จะอยู่ที่ระดับ 27.6 ตำ่กว่าเดือนเมษายน 2563 ที่ระดับ 32.1 สะท้อนถึงความวิตกกังวลในความไม่ชัดเจนต่อแนวทางการกระจายการฉีดวัคซีนที่ภาครัฐ ยังมีความล่าช้า และมาตรการเยียวยาที่ไม่เข้มข้นมากพอ รวมทั้งการกระตุ้นกำลังซื้อที่ภาครัฐประกาศที่จะอัดฉีดเพิ่มเติมไม่ตรงกับเป้าหมายที่ตั้งไว้
ผู้ประกอบการประเมิน โควิด-19 รอบนี้ไม่จบง่ายๆ
เมื่อดูจากดัชนีความเชื่อมั่นค้าปลีกแยกตามภูมิภาค พบว่า ในทุกภูมิภาคดัชนีความเชื่อมั่นผู้ค้าปลีกลดต่ำลงกว่าระดับค่าเฉลี่ยกลางที่ 50 อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคกลางที่ลดลงอย่างชัดเจนมากกว่าภาคอื่นๆ จากคลัสเตอร์ในกลุ่มผู้ใช้แรงงานจำนวนมาก
ส่วนในอีก 3 เดือนข้างหน้า ดัชนีความเชื่อมั่นก็ยังคงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยกลางที่ 50 ค่อนข้างมาก ซึ่งสะท้อนว่าการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในครั้งนี้ ผู้ประกอบการประเมินว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดจะยืดเยื้อไม่จบง่ายๆ รวมถึงผู้บริโภคมีกำลังซื้ออ่อนแอ การฟื้นตัวจึงต้องใช้เวลานาน
ห้างสรรพสินค้า และร้านอาหารได้รับผลกระทบหนักที่สุด
เมื่อแยกประเภทของค้าปลีก จะพบว่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้ค้าปลีกปรับตัวต่ำลงในทุกประเภท แต่ร้านค้าปลีกประเภทห้างสรรพสินค้า และร้านอาหารได้รับผลกระทบโดยตรง และหนักที่สุดจากมาตรการล็อคดาวน์ ยอดขายหายไป 80-90% เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน
ส่วนร้านสะดวกซื้อ มียอดขายลดลงราว 20-25% จากมาตรการกำหนดเวลาปิดให้บริการ 21.00-04.00 น. เพราะเวลาช่วงดึกที่เปิดให้บริการไม่ได้เป็น Peak Hour ที่หายไป และจำนวนของร้านสะดวกซื้อ 40% ตั้งอยู่ในพื้นที่สีแดงเข้ม จำนวน 29 จังหวัด
ความเห็นผู้ประกอบการค้าปลีก ต่อสถานการณ์โควิด-19 รอบ 4
นอกจากนี้สมาคมผู้ค้าปลีกไทย ยังได้สำรวจมุมมองของผู้ประกอบการ โดยพบว่า
- ผู้ประกอบการ 90% เห็นว่า กำลังซื้อของผู้บริโภคมีสัญญาณปรับตัวแย่กว่าเดือนมิถุนายนค่อนข้างมาก
เพราะมีความกังวลต่อความไม่แน่นอนของแผนการฉีดและกระจายวัคซีนของภาครัฐ - ผู้ประกอบการ 63% ประเมินว่า ยอดการจับจ่ายและการใช้บริการ (Traffic) ลดลงมากกว่า 25% เมื่อเทียบกับ
เดือนมิถุนายน และไม่มีพฤติกรรมในการกักตุน Stock Up เพราะก าลังซื้อของประชาชนที่อ่อนตัวลง - ผู้ประกอบการ 61% ยอมรับว่าการจับจ่ายและการใช้บริการ (Traffic) ลดลงมากกว่า 25% เป็นผลจากมาตรการเคอร์ฟิว
- ผู้ประกอบการ 41% มีการปรับลดการจ้างงาน หรือปรับลดชั่วโมงการทำงาน เพราะธุรกิจมียอดขายและ
ค่าธรรมเนียนการขายที่ลดลง - ผู้ประกอบการ 53% มีสภาพคล่องทางการเงินไม่ถึง 6 เดือน สะท้อนถึงภาวะธุรกิจที่ฝืดเคืองและการเข้าถึง
สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำยังคงเป็นปัญหาที่ต้องการได้รับการแก้ไข - ผู้ประกอบการ 42% คาดว่าการบริโภคภาคเอกชนในไตรมาส 3 ปี 2564 จะหดตัว 10% เมื่อเทียบกับไตรมาส
3 ของปี 2563 - ผู้ประกอบการ 90% ประเมินการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจะเข้าสู่ระดับปกติ ในช่วงกลางปี 2566 หรืออาจจะนาน
กว่านั้น
ที่มา – ข่าวประชาสัมพันธ์
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา